คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุบาดเจ็บที่ศีรษะ

ศูนย์ : ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

บทความโดย :

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุบาดเจ็บที่ศีรษะ

อุบัติเหตุถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งการบาดเจ็บรุนแรงที่พบบ่อย คือ การบาดเจ็บที่ศีรษะ โดยการบาดเจ็บที่เกิดจากแรงที่เข้ามากระทบต่อศีรษะและร่างกายแล้วก่อให้เกิดความบาดเจ็บต่อหนังศีรษะ กะโหลกศีรษะ และ สมอง กับเส้นประสาทสมอง ดังนั้นการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง เหมาะสมและทันเวลาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ทั้งนี้เมื่อได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้วผู้ป่วยจำเป็นต้องดูแลตัวเอง และหมั่นสังเกตอาการหลังจากการทำการรักษา ดังนี้


วิธีดูแลและสังเกตอาการทางสมอง

สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว ว่าไม่มีข้อบ่งชี้ที่รุนแรงในระดับที่จะต้องพักสังเกตอาการที่โรงพยาบาล

  1. ห้ามขับขี่ยานพาหนะทุกประเภท อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  2. งดออกกำลังกายทุกประเภท
  3. รับประทานอาหารอ่อน
  4. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม
  5. ไม่ควรสั่งน้ำมูก ไอ จาม แบบรุนแรง
  6. หากมีอาการปวดศีรษะเล็กน้อย สามารถรับประทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่งได้
  7. ควรมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  8. ผู้ดูแลควรมีความรู้ ความเข้าใจถึงวิธีการสังเกตอาการและวิธีปฏิบัติ

ควรรีบมาพบแพทย์ทันที หากเกิดอาการดังนี้

  1. ซึมลงกว่าเดิม หรือหมดสติ
  2. กระสับกระส่าย มีการพูดที่ผิดปกติจากเดิม
  3. ชักกระตุก
  4. แขน ขา อ่อนแรง
  5. มีไข้
  6. อาเจียนบ่อย
  7. การปวดศีรษะ ที่รับประทานยาแก้ปวดแล้วอาการยังไม่ทุเลา
  8. มีน้ำใส หรือน้ำใสปนเลือด ไหลออกจากหูจมูก หรือลงลำคอ
  9. ปวดต้นคอ ก้มคอลำบาก
  10. เวียนศีรษะ ตาพร่า เห็นภาพซ้อน
  11. อาการผิดปกติอื่นๆ ที่น่าสงสัย

Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย