วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ (2567) กับเรื่องที่ควรรู้

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพเด็ก

บทความโดย : พญ. ธิดารัตน์ แก้วเงิน

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ (2567) กับเรื่องที่ควรรู้

หลายๆ คน โดยเฉพาะพ่อแม่มือใหม่มักคิดว่าโรคไข้หวัดใหญ่จะแพร่ระบาดเฉพาะฤดูฝนและฤดูหนาวเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วโรคไข้หวัดใหญ่มีการแพร่ระบาดได้ตลอดทั้งปี เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยไม่จำกัดแค่ในเด็กเล็กหรือคนที่มีสุขภาพอ่อนแอเท่านั้น แม้แต่ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงก็สามารถติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และเป็นพาหะแพร่กระจายเชื้อให้แก่ผู้คนรอบข้างได้


รู้จักเชื้อไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่สาเหตุคือ ไวรัสที่มีชื่อว่า “อินฟลูเอนซ่าไวรัส (Influenza virus)” ที่อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย และติดต่อผ่านการไอ จาม หรือหายใจรดกัน เมื่อติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนแล้ว จะทำให้มีไข้สูง ไอ น้ำมูก คัดจมูก จาม มีอาการปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลียคล้ายกับไข้หวัด แต่อาการจะมากกว่าในเด็กเล็กน้อยกว่า 2 ขวบ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังอาจเกิดอาการที่รุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ปอดอักเสบและสมองอักเสบ นอกจากนั้นยังทำให้โรคประจำตัวมีอาการกำเริบจากการติดเชื้อ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับตับและไต

> กลับสารบัญ


วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ มีอะไรบ้าง

วัคซีนไข้หวัดใหญ่จะมีส่วนประของไวรัส Influenza Virus 4 สายพันธุ์ คือ

  • สายพันธุ์ A แบ่งย่อย 2 สายพันธุ์ คือ H1N1, H3N2
  • สายพันธุ์ B แบ่งย่อย 2 สายพันธุ์ คือ Yamagata, Victoria

ซึ่งสายพันธุ์ที่บรรจุในวัคซีนจะเปลี่ยนแปลงไปทุกปี

> กลับสารบัญ


ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้

ไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วย การฉีดวัคซีนซึ่งเป็นวัคซีนที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการสร้างภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์เดียวกันหรือสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับที่บรรจุในวัคซีน ภูมิคุ้มกันอยู่ได้ประมาณ 1 ปี จึงควรฉีดเป็นประจำทุกปี

> กลับสารบัญ


วัคซีนไข้หวัดใหญ่ใครบ้างที่ควรฉีด

  1. บุคคลทั่วไป สามารถฉีดได้ทุกช่วงอายุ
  2. กลุ่มเสี่ยงที่ควรต้องฉีด
    • เด็กเล็กอายุ 6-23 เดือน
    • เด็ก หรือผู้ใหญ่ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด หัวใจ ตับ เบาหวาน ปอดเรื้อรัง โรคไต โรคเลือด ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือต้องรักษาด้วยยาแอสไพริน เป็นประจำนานๆ
    • หญิงตั้งครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป หรือหลังคลอดไม่เกิน 4 สัปดาห์
    • นักท่องเที่ยว ที่จะเดินทางไปต่างถิ่นที่อาจมีการระบาด
    • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
    • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กก./ตรม.

> กลับสารบัญ


ใครไม่ควรฉีดวัคซีนหรือควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  1. เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน
  2. ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วมีอาการแพ้อย่างรุนแรง
  3. หากมีไข้ เจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือโรคประจำตัวมีอาการกำเริบควบคุมไม่ได้ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน กรณีเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถรับการฉีดวัคซีนได้

> กลับสารบัญ


ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการฉีดวัคซีน

  • อาการเฉพาะที่บริเวณที่ฉีด เช่น ปวด บวม แดง เกิดภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังฉีด แต่อาการจะหายไปเองภายใน 2-7 วัน
  • หลังฉีดบางรายจะมีไข้ต่ำๆ รู้สึกไม่สบายตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อาจเริ่มมีอาการภายใน 6-12 ชั่วโมง และอาจเป็นนาน 1-2 วัน โดยไม่ต้องรับการรักษา

> กลับสารบัญ


ข้อควรปฏิบัติภายหลังการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  1. ไม่ควร นวด คลึง บริเวณที่ฉีด
  2. หากมีอาการไข้ รู้สึกไม่สบายตัว ปวดกล้ามเนื้อและข้อ ปวดศีรษะ สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้
  3. หากมีอาการผิดปกติรุนแรงหรือสงสัยในการปฏิบัติตัวเพิ่มเติม แนะนำให้มาพบแพทย์

> กลับสารบัญ


Update สายพันธุ์ปี 2024

โดยสายพันธุ์ปี ค.ศ. 2024 (พ.ศ. 2567) Southern strain หรือ ซีกโลกไต้ ได้แก่

  • ไวรัสชนิด A สายพันธุ์ Victoria (H1N1) (an A/Victoria/4897/2022 (H1N1) pdm09-like virus)
  • ไวรัสชนิด A สายพันธุ์ Thailand (H3N2) (an A/Thailand/8/2022 (H3N2)-like virus)
  • ไวรัสชนิด B สายพันธุ์ Austria (a B/Austria/1359417/2021 (B/Victoria lineage)-like virus)
  • ไวรัสชนิด B สายพันธุ์ Phuket (a B/Phuket/3073/2013 (B/Yamagata lineage)-like virus)

> กลับสารบัญ


ทั้งนี้เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งสายพันธุ์ A และ B จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจึงเป็นเหตุให้มีการแพร่ระบาดทุกปี การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ ลดความรุนแรงในการเกิดโรค ลดโอกาสการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย