ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงผ่านหลอดอาหาร (TEE) วินิจฉัยโรคหัวใจ

ศูนย์ : ศูนย์หัวใจ

บทความโดย : นพ. ธิปกร ผังเมืองดี

ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงผ่านหลอดอาหาร (TEE) วินิจฉัยโรคหัวใจ

ความผิดปกติหัวใจมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น การตรวจสุขภาพประจำปีหรือการตรวจสุขภาพหัวใจจะช่วยให้พบปัญหาและแนวโน้มที่อาจเป็นอันตรายในอนาคตได้ โดยหนึ่งในวิธีการตรวจที่มีประสิทธิภาพ คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echo) ผ่านทางผนังหน้าอก แต่ในกรณีที่ไม่สามารถให้ภาพที่ดีพอได้ หรือไม่สามารถได้ข้อมูลมากพอในการวินิจฉัยโรค การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหาร (Transesophageal Echocardiography: TEE) สามารถทำให้เห็นการเคลื่อนไหวของหัวใจด้านหลังได้ชัดกว่า



ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงผ่านหลอดอาหารเป็นอย่างไร

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหาร (Transesophageal Echocardiography: TEE) เป็นการตรวจหัวใจจากด้านในของทางเดินอาหาร การทำ Echocardiogram โดยการสอดกล้องทางปากสู่หลอดอาหาร ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อบันทึกภาพของหัวใจจากด้านในของทางเดินอาหาร เนื่องจากทางเดินอาหารอยู่ด้านหลังของหัวใจ ทำให้การตรวจวิธีนี้สามารถเห็นการเคลื่อนไหวของหัวใจด้านหลังได้ชัดกว่าการตรวจด้วยวิธี Echo ผ่านทางผนังหน้าอกด้านนอก เนื่องจากเครื่องมืออยู่ใกล้หัวใจ และไม่มีปอด และส่วนของกระดูกมาบัง

> กลับสารบัญ


ข้อบ่งชี้ในการตรวจ TEE

ตรวจในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยมีโรคที่ส่วนด้านหลังหัวใจหรือส่วนที่อยู่ติดกับหลอดอาหาร ซึ่งการตรวจด้วยวิธี Echo ผ่านทางผนังหน้าอก แล้วให้ผลไม่ชัดเจน เช่น ในผู้ที่อ้วนหรือผนังหน้าอกหนามาก เป็นต้น

> กลับสารบัญ


ประโยชน์ของการตรวจ TEE

  • สามารถประเมินโครงสร้างภายในของหัวใจและเส้นทางเดินของเลือดในโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • สามารถตรวจหัวใจในระหว่างผ่าตัดเพื่อประเมินผลของวิธีการรักษา เช่น การแก้ไขภาวะความพิการทางหัวใจแต่กำเนิด
  • สามารถตรวจสภาวะบางอย่างของหัวใจได้ เช่น โรคลิ้นหัวใจระหว่างห้องซ้ายบนและล่าง ตรวจหาลิ่มเลือดหรือก้อนเลือดภายในหัวใจที่มีการฉีกขาดของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่
  • สามารถตรวจลิ้นหัวใจเทียมฝังอยู่ในหัวใจ
  • สามารถตรวจหาเนื้องอกที่หัวใจห้องบน
  • สามารถตรวจหาลิ่มเลือดในหัวใจห้องบน
  • สามารถตรวจประเมินหาลิ่มเลือดก่อนการรักษาด้วยวิธีช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้า หรือวิธีจี้หัวใจ

> กลับสารบัญ


เตรียมตัวก่อนตรวจได้อย่างไร

  • งดอาหาร และน้ำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  • อาจมีความจำเป็นต้องหยุดยาละลายลิ่มเลือด โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
  • ท่านที่มีฟันปลอม ต้องเอาออกก่อน

> กลับสารบัญ


ขั้นตอนตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหาร์

  1. ผู้ป่วยเปลี่ยนเสื้อผ้าให้พร้อมสำหรับการตรวจ หากสวมใส่ฟันปลอมต้องถอดออกก่อน
  2. พยาบาลจะให้อมยาชาประมาณ 20 นาที แล้วจึงให้กลืนยา หลังจากนั้นอาจพ่นยาชาที่คอ หรือให้ยาคลายวิตกกังวล และให้ออกซิเจนร่วมด้วย
  3. ผู้ป่วยจะนอนอยู่ในท่าตะแคง
  4. จากนั้นแพทย์จะค่อยๆ สอดท่อที่มีหัวตรวจเข้าทางปากจนถึงระดับที่ต้องการ
  5. ระหว่างการตรวจ จะมีการวัดชีพจร ความดันโลหิต และการหายใจ อยู่ตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัยสูงสุด
  6. การตรวจใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที

> กลับสารบัญ


หลังการตรวจ

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำร้อน-เย็นจัด จนกว่ายาชาจะหมดฤทธิ์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง
  • หากมีอาการผิดปกติหลังการตรวจ เช่น เจ็บคอ เลือดออก หายใจลำบาก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

> กลับสารบัญ


ข้อจำกัดในการตรวจ

  • ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า
  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านหลอดอาหาร เช่น มีภาวะเส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร มีภาวะอุดกั้นหลอดอาหาร หรือเคยฉายรังสีรักษาบริเวณหลอดอาหาร จะได้รับการประเมินโดยแพทย์ก่อนเข้ารับการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหาร

> กลับสารบัญ


อย่างไรก็ตามการเข้ารับการตรวจสุขภาพหัวใจนั้นเมื่อพบความเสี่ยงตั้งแต่ในระยะแรก แพทย์จะได้วางแนวทางการป้องกันได้อย่างทันที หรือหากตรวจพบความผิดปกติที่จะต้องได้รับการรักษา โอกาสหายและดีขึ้นได้ก็จะมีมากกว่าการตรวจพบเมื่ออาการลุกลามไปมากแล้ว

นพ.ธิปกร ผังเมืองดี นพ.ธิปกร ผังเมืองดีิ์

นพ.ธิปกร ผังเมืองดี์

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ/หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
ศูนย์หัวใจ






ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย