เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกแบบไหน จากโรคหัวใจ หรือ กรดไหลย้อน

ศูนย์ : ศูนย์หัวใจ

บทความโดย : นพ. ธิปกร ผังเมืองดี

เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกแบบไหน จากโรคหัวใจ หรือ กรดไหลย้อน

อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เป็นอาการเริ่มต้นของหลายๆ โรค ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากโรคหัวใจ หรือโรคกรดไหลย้อน โดยอาการของทั้ง 2 โรคนี้มักเริ่มมากจากเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกอาจทำให้สับสนได้ ซึ่งบางรายคิดว่าอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกมาจากโรคกรดไหลย้อน จึงซื้อยามารับประทานเองไม่ได้ไปพบแพทย์ หรือรับการตรวจรักษา สุดท้ายอาการกลับเป็นมากขึ้นกลายเป็นโรคหัวใจขาดเลือดในที่สุด


เจ็บหน้าอกโรคหัวใจ หรือ เจ็บหน้าอกโรคกรดไหลย้อน กันแน่

บางครั้งผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก แต่อาการแบบไหนที่เข้าข่ายเสี่ยงเป็น โรคหัวใจ หรือ โรคกรดไหลย้อน ซึ่งทั้ง 2 โรคนั้น จะมีลักษณะของการเจ็บหน้าอกที่มีรายละเอียดแตกต่างกัน ดังนี้

อาการของโรคหัวใจ หรือภาวะหัวใจขาดเลือด อาการของโรคกรดไหลย้อน
  • เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเหมือนถูกบีบรัด หรือกดทับ
  • เจ็บหน้าอกปวดร้าวไปกราม สะบักหลัง แขนซ้าย หัวไหล่
  • เจ็บหน้าอกมากขึ้น เมื่อมีการออกแรง หรือ ออกกำลังกาย
  • เหงื่อออก จะเป็นลม หน้าซีด
  • ใจสั่น หอบเหนื่อย คลื่นไส้
  • อาจมีอาการจุกบริเวณคอหอย ซึ่งบางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่
  • เจ็บหน้าอกเวลาหายใจลึกๆ หรือไอ แต่ไม่ร้าวไปบริเวณขากรรไกร ไหล่ หรือแขน
  • มีอาการมากขึ้นหลังมื้ออาหาร แล้วโน้มตัวลงนอน
  • แสบร้อนบริเวณทรวงอก คอ มีอาการปวด จุกเสียด แน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่
  • เรอเปรี้ยว เรอบ่อย คลื่นไส้ คล้ายมีอาหารไหลย้อยขึ้นมา มีรสขมขึ้นคอและปาก
  • ไอเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ เจ็บคอเรื้อรัง มีกลิ่นปาก
  • กลืนอาหารลำบาก จุกที่คอ คล้ายมีอะไรติดขวางลำคอ

> กลับสารบัญ


จุดสังเกตความแตกต่างอาการระหว่าง โรคหัวใจ กับ โรคกรดไหลย้อน

เมื่อเกิดอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก รู้สึกเจ็บร้าวไปที่ลำคอ ขากรรไกร ไหล่และแขนซ้าย เจ็บเมื่อออกแรง สำหรับโรคกรดไหลย้อน เจ็บหน้าอกเวลาหายใจลึกๆ หรือไอ แต่ไม่ร้าวไปบริเวณขากรรไกร ไหล่ หรือแขน มีอาการมากขึ้นหลังมื้ออาหาร

ทั้งนี้ทั้งนั้นการหาสาเหตุที่แท้จริงขณะที่มีอาการเจ็บหน้าอกนั้นเป็นเรื่องยาก แต่หากสามารถระบุอาการอื่นๆ ร่วมด้วยได้ ก็จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ง่ายขึ้น

> กลับสารบัญ


หากมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นๆ หายๆ หรือ เป็นพร้อมมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย อย่านิ่งนอนใจ ให้เข้ามาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง เพราะหากเป็นอาการของโรคหัวใจ แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้ สามารถปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมออนไลน์ได้ข้างล่าง

นพ.ธิปกร ผังเมืองดี นพ.ธิปกร ผังเมืองดี

นพ.ธิปกร ผังเมืองดี
หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
ศูนย์หัวใจ






ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย