ปวดกระเบนเหน็บ ปวดเอว ปวดสะโพก อาการปวดหลังที่ซ้อนเร้น

ศูนย์ : ศูนย์กระดูกสันหลัง

บทความโดย : นพ. บดินทร์ วโรดมวนิชกุล

ปวดกระเบนเหน็บ ปวดเอว ปวดสะโพก อาการปวดหลังที่ซ้อนเร้น

ใครที่มีอาการปวดสะโพก ปวดหลังส่วนล่าง ปวดตรงก้นกบแล้วหาสาเหตุไม่ได้ และมีอาการมากหลังจากขับรถนานๆ เจ็บมาก เจ็บลึกๆ มักจะมีอาการปวดเมื่อมีการเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน ต้นเหตุของอาการปวดหลังของคุณอาจจะมาจากปวดกระเบนเหน็บอักเสบที่ส่งผลต่อการปวดหลังช่วงล่างได้ เมื่อปวดแล้วทำให้มีอาการปวดกระจายลามไปหลายจุด หากไม่รีบมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษา อาจส่งผลให้ปวดเรื้อรัง ปวดจนรบกวนชีวิตประจำวันได้


กระเบนเหน็บอยู่ตรงไหน

กระเบนเหน็บ (sacrum) เป็น กระดูกส่วนหนึ่งที่อยู่ระหว่างจะเชื่อมต่อของกระดูกสันหลัง และกระดูกบริเวณสะโพก โดยจะมีการยึดติดโดยเส้นเอ็น ข้อต่อต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งข้อต่อหลักคือ กระดูกข้อต่อก้นกบ เป็นจุดรองรับน้ำหนักตัวและส่งผ่านน้ำหนักลงมาที่ขา เป็นข้อที่มีการเสื่อมและเคลื่อนมากที่สุด ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังช่วงล่างเกิดขึ้น

> กลับสารบัญ


ทำไมถึงปวดกระเบนเหน็บได้

อาการปวดกระเบนเหน็บ เกิดจากการที่ภาวะกระดูกข้อต่อก้นกบมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เพราะกระเบนเหน็บเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังกับกระดูกเชิงกราน ซึ่งล้อมไปด้วยเอ็น และข้อต่อต่างๆ หากมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ หรือมีการเสื่อม ยึด ติดรั้ง การเคลื่อนหรือหลวม มีการอักเสบของเส้นเอ็นที่ยึดข้อเชิงกราน ก็จะเกิดอาการเจ็บปวดได้

> กลับสารบัญ


สาเหตุการปวดกระเบนเหน็บ

  • การนั่งท่าเดิมๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ การนั่งขับรถทางไกลติดต่อกันนานหลายชั่วโมง
  • ผู้ที่ชอบนั่งไขว้ห้างเป็นประจำ
  • ผู้ที่ชอบทำท่าบิดตัวให้มีเสียงดังกรอบเป็นประจำ
  • การประสบอุบัติเหตุบริเวณสะโพกโดยตรง
  • การเล่นกีฬาที่มีแรงเหวี่ยงตัวเยอะๆ
  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือ หลังคลอดลูกแล้ว จะมีภาวะปวดกระเบนเหน็บได้ง่าย
  • ผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังผิดรูป หรือ ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน

> กลับสารบัญ


อาการปวดกระเบนเหน็บเป็นอย่างไร

  • มีอาการปวดลึกๆ ปวดตื้อๆ แหลมๆ บริเวณข้อต่อกระเบนเหน็บ สะโพก ก้น
  • มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ขาชา แบบหาสาเหตุไม่เจอ
  • ปวดตามแนวขอบกางเกงใน
  • มักจะปวดมากเวลาเปลี่ยนท่านั่งเป็นท่ายืน เมื่อยืนขาข้างเดียว หรือเอียงตัวไปด้างข้าง แต่จะปวดน้อยลงเมื่อเดินไปสักระยะ
  • ก้มลำบาก ก้มแล้วปวดหลังเพิ่ม

> กลับสารบัญ


การตรวจวินิจฉัยอาการปวดกระเบนเหน็บ

การตรวจวินิจฉัยอาการปวดกระเบนเหน็บจะไม่สามารถตรวจได้ด้วยการ X-ray จะแยกได้จากการซักประวัติอาการที่เกิดขึ้น โดยวิธีการตรวจ สามารถทำได้ดังนี้

  • ท่าที่ 1 ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียง ให้เอาก้นและขาข้างหนึ่งออกมาจากเตียง แล้วปล่อยขาลงไปด้านล่าง ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บจี๊ดเข้าไปตรงสะโพก กระเบนเหน็บ
  • ท่าที่ 2 ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียง แล้วเอาขาข้างหนึ่งขึ้นมาทับอีกข้าง ลักษณะไขว้ห้างแล้วกดลง หากเจ็บข้างในแสดงว่าเป็นกระเบนเหน็บอักเสบ

> กลับสารบัญ


การรักษาอาการปวดกระเบนเหน็บ

  1. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด สามารถรักษาได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ อาทิ
    • การรับประทานยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ
    • การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการขยับข้อต่อ
    • การจี้ข้อต่อเชิงกรานด้วยคลื่นความถี่วิทยุ หรือที่เรียกว่า Radiofrequency Ablation (RFA) เพื่อลดอาการปวดหรือเส้นประสาทที่เป็นสาเหตุของความปวด
    • การฉีดยาข้อต่อเชิงกรานในจุดที่ปวด จะเป็นการฉีดยาผสมระหว่างคอร์ติโคสเตียรอยด์และยาชา
  2. การรักษาแบบผ่าตัด จะใช้รักษาในกรณีเมื่อมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยเป็นเทคนิคการผ่าตัดแผลเล็ก เจ็บน้อย

> กลับสารบัญ


หากคุณสังเกตตัวเองแล้วมีอาการปวดหลังส่วนเอว นั่งนานๆ แล้วปวด เปลี่ยนท่าแล้วปวดหลัง กินยาแก้ปวด ลดอักเสบไม่หาย อย่านิ่งนอนใจ ให้เข้ามาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เพื่อหาสาเหตุ เพื่อวางแผนการรักษาที่ตรงจุด หรือ สามารถส่งข้อมูลปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้เลย




ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย