ผ่าตัดหมอนรองกระดูก การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป

ศูนย์ : ศูนย์กระดูกสันหลัง

บทความโดย : นพ. สิทธิพงษ์ สุทธิอุดม

ผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscope) จะผ่าตัดก็ต่อเมื่อรักษาด้วยวิธีประคับประคอง เช่น การนอนพัก การรับประทานยาแก้อักเสบ การทำกายภาพบำบัด หรือการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทไม่เป็นผลสำเร็จ หรือผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาข้างต้น ยังคงทรมานกับอาการปวดหลัง ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ หรือมีอาการปวดเรื้อรังรุนแรงมากขึ้น ร่วมกับมีอาการอ่อนแรงของขาอย่างชัดเจน หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่าย ปัสสาวะ หรืออุจจาระได้ โดยเทคนิคการผ่าตัดนี้สามารถลดขนาดของแผลผ่าตัดเหลือเพียง 8 มิลลิเมตร เข้าถึงจุดที่เป็นปัญหาอย่างแท้จริง และลด การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงได้มาก


การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทผ่านกล้องเอ็นโดสโคปเป็นอย่างไร

ด้วยการผ่าตัดแบบมาตรฐานโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ ศัลยแพทย์ต้องตัดเลาะเนื้อเยื่อ ส่วนที่ดีเพื่อเปิดทางให้เข้าไปตัดหมอนรองกระดูกส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก บางครั้ง อาจต้องขยายแผลผ่าตัดเพื่อให้ได้ทัศนวิสัยที่ดีที่สุดในการผ่าตัด

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทผ่านกล้องเอ็นโดสโคป ต่างจากการผ่าตัดด้วยกล้องจุลทรรศน์ ศัลยแพทย์จะสอดกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscope) ผ่านทางแผลผ่าตัดขนาด 8 มิลลิเมตร โดยเลนส์ของเอ็นโดสโคป จะอยู่ที่ปลายกล้อง เปรียบเสมือนดวงตาของศัลยแพทย์อยู่ในตัวผู้ป่วย ทำให้ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน แม่นยำ เลือกตัดออกเฉพาะส่วนที่ทำให้ เกิดปัญหาได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก

นอกจากนี้ปลายของเลนส์จะมีลักษณะเป็นมุมเอียงเล็กน้อยเพื่อช่วยในการมองเห็นอวัยวะต่างๆ รอบข้าง และสามารถมองเห็นพื้นที่ในการผ่าตัดได้ชัดเจนมากกว่า ส่งผลให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กทำให้เกิดการบาดเจ็บเนื้อเยื่อน้อยกว่า เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดน้อยลง และผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

> กลับสารบัญ


ผลดีที่ได้รับจากการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทผ่านกล้องเอ็นโดสโคป

  • แผลผ่าตัดเล็ก
  • อาการปวดแผลผ่าตัดน้อย
  • ความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ
  • ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีที่อยู่รอบบริเวณผ่าตัด
  • ผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็ว สามารถกลับบ้านได้ภายใน 24 ชั่วโมง
  • ค่าใช้จ่ายน้อยลง

การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป

> กลับสารบัญ


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

โรคกระดูกสันหลังที่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกซึ่งมีหน้าที่ รองรับแรงกระแทกของกระดูกสันหลังเกิดการเสื่อมสภาพสูญเสียความยืดหยุ่น เมื่อมีแรงกระแทกจะทำให้เกิดการนูน หรือฉีกปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลัง

โรคโพรงประสาทตีบแคบเกิดขึ้นจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง เมื่อกระดูกเสื่อมจะทำให้เกิดการหนาตัวขึ้น ร่วมกับเส้นเอ็นยึดกระดูกที่หนาขึ้น ส่งผลให้เส้นประสาทที่วิ่งอยู่ในโพรงประสาทถูกบีบรัด โดยการตีบแคบอาจเกิดเพียงระดับเดียว หรือหลายระดับของโพรงกระดูกสันหลังก็ได้


โรคทั้งสองสามารถนำไปสู่อาการต่างๆ เหล่านี้

  • ปวดหลังบริเวณเอว
  • ปวดหลังร้าวลงขา
  • ปวดร้าวลงมาถึงบริเวณก้นกบ ต้นขา น่อง หลังเท้า ฝ่าเท้า หรือนิ้วเท้า
  • การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ เหน็บชาบริเวณขา
  • มีอาการควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ หรือปัสสาวะไม่ออก

> กลับสารบัญ


ขั้นตอนการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทผ่านกล้องเอ็นโดสโคป

หลังจากที่ผู้ป่วยดมยาสลบแล้ว แพทย์จะสอดกล้องเอ็นโดสโคปผ่านทางแผลผ่าตัด ขนาด 8 มม. เข้าไปยังเส้นประสาทส่วนที่ถูกกดทับอยู่โดยตรงโดยไม่ต้องตัดเลาะ กล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก กล้องเอ็นโดสโคปจะช่วยให้แพทย์มองเห็นเส้นประสาท อย่างชัดเจน สามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่มีการกดทับเส้นประสาทออกได้ไม่ว่า จะเป็นการกดทับจากหมอนรองกระดูกปลิ้น หรือการบีบรัดจากกระดูกข้อต่อ และเส้นเอ็นก็ตาม ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที จากนั้นผู้ป่วย สามารถเดินได้ทันทีหลังการผ่าตัด



> กลับสารบัญ



ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป

โดยทั่วไปการผ่าตัดจะทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้ คือ รักษาด้วยวิธีประคับประคอง ไม่เป็นผลสำเร็จ หรือมีอาการปวดเรื้อรัง หรือมีอาการอ่อนแรงของขาอย่างชัดเจน หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่าย ปัสสาวะ หรืออุจจาระได้

> กลับสารบัญ


อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป จะนำเฉพาะส่วนที่มีการกดทับเส้นประสาทออกไม่ว่าจะเป็นการกดทับจากหมอนรองกระดูกปลิ้น การบีบรัดจากกระดูกข้อต่อและเส้นเอ็น หรือการกดทับจากถุงน้ำข้อต่อกระดูกสันหลัง ทำให้อาการปวดหลังร้าวลงขาหรือปวดน่องเวลาเดิน หรืออาการชาและอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงปัญหาทางระบบประสาทอื่นๆ ที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับเป็นเวลานานทุเลาหรือหายไป โดยเฉพาะการมีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแผลผ่าตัดน้อยและสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติดังเดิม



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย