การส่องกล้องตรวจทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic Retrograde Cholangio Pancreatography : ERCP)

ศูนย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

บทความโดย : นพ. สมบุญ รุ่งจิรธนานนท์

ส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อน

การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP; Endoscopic Retrograde cholangiopancreatography) เป็นการส่องกล้องตรวจ และรักษาโรคระบบทางเดินน้ำดีและตับอ่อน โดยการฉีดสี เพื่อแสดงภาพการถ่ายรังสี ซึ่งช่วยในการวินิจฉัย และการรักษาภาวะที่เรียกว่า “ดีซ่าน” (ตัวเหลืองตาเหลือง) อันเกิดจากท่อน้ำดีอุดตัน หรืออาการปวดท้อง เนื่องจากความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน


ข้อบ่งชี้

  1. เพื่อรักษาในโรคทางเดินน้ำดี ได้แก่
    • เพื่อดึงนิ่วออกจากทางเดินน้ำดี (stone removal)
    • เพื่อวางท่อระบายน้ำดีลงสู่ลำไส้เล็ก(Endoprosthesis) หรือระบายออกภายนอก (Endoscopic Nasolbiliary drainage)
    • เพื่อวางท่อระบายเหนือรอยต่อส่วนที่รั่ว (bile leakage)
    • เพื่อตัด/เปิด หรือขยายหูรูดกรณีตีบตัน (Papillary Stenosis)
  2. เพื่อการรักษาในโรคตับอ่อน (Pancreatic Disease) ได้แก่
    • เพื่อดึงนิ่วออกจากท่อตับอ่อน
    • เพื่อวางท่อระบายเหนือรอยต่อส่วนที่รั่ว (Pancreatic Fistula)
    • เพื่อวางท่อระบาย Pancreatic Fistula ในกรณีที่มีการอุดตัน

> กลับสารบัญ


ประโยชน์ที่ได้รับ

ERCP มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัย และรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบท่อน้ำดีและตับอ่อน เช่น ถ้ามีการอุดตันในท่อน้ำดีจากก้อนนิ่ว เนื้องอก พังผืด หรือเกิดการตีบแคบของท่อน้ำดีเนื่องจากสาเหตุอื่นๆ หรือมีการอุดตันของท่อตับอ่อนเนื่องจากนิ่ว เนื่องอก โดยเฉพาะในกรณีที่มีตับอ่อนอักเสบเนื่องจากนิ่วในท่อน้ำดีอุดตันที่บริเวณรูเปิดร่วมของท่อน้ำดีและท่อตับอ่อน

> กลับสารบัญ


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

ความเสี่ยง และผลข้างเคียง

  1. ความเสี่ยงทั่วไป
    • เจ็บคอ สาเหตุจากการเสียดสีของกล้อง
    • คอชา เกิดจากยาชาเฉพาะที่
    • ท้องอืด อาการนี้เกิดขึ้นได้บ่อยเนื่องจากแพทย์ต้องเป่าลมเข้ากระเพาะอาหารและลำไส้ขณะทำการส่องกล้อง แต่ อาการนี้เกิดขึ้นชั่วคราวอาการจะดีขึ้น เมื่อร่างการขับลมออกมา
  2. ความเสี่ยงเฉพาะ
    • ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน หลังส่องกล้อง 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และมีเอ็นไซน์ของตับอ่อนสูง โอกาสเกิดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันประมาณ 3-5 % ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือผู้ป่วยหญิง และผู้ป่วยที่มีอายุน้อย
    • ลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุ โอกาสเกิดความเสียง 1% ภาวะเลือดออกในลำไส้เล็กส่วนต้น เนื่องจากมีการตัดทางเปิดของท่อน้ำดี
    • ภาวะเลือดออกอาจเกิดขึ้นทันที หรือเกิดขึ้นหลัง 24 ชั่วโมงหลังส่องกล้อง ผู้ป่วยที่รับประทานยาในกลุ่มละลายลิ้มเลือดจะเพิ่มภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกในลำไส้เล็กส่วนต้น โอกาสเกิดภาวะเลือดออกในลำไส้เล็กส่วนต้นประมาณ 2.5 -5%
    • ติดเชื้อหลังส่องกล้อง ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้อง มีไข้ ส่วนใหญ่จะเกิดในผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อุดตันของท่อน้ำดี และความระบายน้ำดีเท่าที่ควร และสามารถเกิดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ 5 -10% โดยปกติจะมีการให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อก่อนทำการส่องกล้อง ซึ่งสามารถลดภาวการณ์ติดเชื้อได้อย่างมาก

> กลับสารบัญ


การปฏิบัติตัวก่อนการรักษา

  1. ผู้ป่วยต้องได้ปรึกษากับแพทย์เรื่องโรคประจำตัว เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคหอบหืดเป็นต้น เพื่อแพทย์จะได้วางแผนการรักษาผู้ป่วย
  2. ต้องแจ้งให้แพทย์เรื่องประวัติการแพ้ยา อาหารทะเล หรือสารทึบแสงรังสี ซึ่งผู้ป่วยแพ้อาหาร หรือสารทึบสี ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้สารทึบสีชนิดพิเศษ
  3. กรณีผู้ป่วยที่มียาที่ใช้โรคประตัวเฉพาะกลุ่มยาละลายลิ่มเลือดต้องปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ผู้สั่งยาเพื่อพิจารณาใช้หรือหยุดยาก่อนทำการตรวจรักษา เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกง่าย
  4. งดน้ำ และอาหารก่อนเวลาตรวจ อย่างน้อย 6 -8ชั่วโมง (กรณีต้องทำตอนบ่ายให้รับประทานอาหารเหลว เวลา6.00น และจึงงดอาหารและน้ำ)
  5. ในกรณีที่ผู้ป่วยสวมฟันปลอมชนิดทั้งชุดหรือชนิดแน่นบางส่วนให้ถอนออกทุกครั้ง ก่อนทำการส่องกล้อง หรือในกรณีผู้ป่วยมีฟันโยก กรุณาแจ้งแพทย์เจ้าของไข้เพื่อพิจารณาถอนฟันก่อนการส่องกล้องเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นจากการหลุดของฟัน
  6. ควรมีญาติสายตรงมาด้วยทุกครั้ง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถเซ็นใบยินยอม ไม่สามารถรับคำแนะนำจากแพทย์ หรือแพทย์ต้องการสอบถามอาการของผู้ป่วยจากญาติผู้ป่วยโดยตรง

> กลับสารบัญ


กระบวนการส่องกล้องตรวจทางเดินน้ำดีและตับอ่อน

วิธีการตรวจนี้เป็นวิธีที่ใช้การส่องกล้องและเอกซเรย์ประกอบกัน โดยมีกระบวนการดังนี้

  1. แพทย์ทำการใส่กล้องส่องตรวจเข้าทางปาก ผ่านกระเพาะอาหารจนถึงท่อเปิดของน้ำดีในลำไส้เล็ก
  2. ฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในท่อน้ำดี พร้อมกับเอกซเรย์ดูความผิดปกติของท่อน้ำดีและท่อตับอ่อน
  3. หากตรวจพบว่ามีนิ่วในท่อน้ำดี แพทย์อาจต้องตัดรูเปิดท่อน้ำดีให้กว้าง เพื่อให้สามารถดึงนิ่วที่ค้างอยู่ให้หลุดออกมาโดยใช้ลวดผ่านกระแสไฟฟ้า
  4. โดยทั่วไปแผลที่เกิดจากการตัดจะหายเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์ หรือหากพบมีการตีบตันก็จะสอดท่อเพื่อระบายน้ำดีให้ไหลลงสู่ลำไส้

> กลับสารบัญ



การปฏิบัติตัวหลังการรักษา

  1. ผู้ป่วยทุกรายจำเป็นต้องเข้าพักในโรงพยาบาลต่อหลังจากทำหัตถการอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เพื่อสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปวดแน่นท้องมาก คลื่นไส้อาเจียนหรือมีไข้สูงหลังจากทำหัตถการ
  2. ให้ผู้ป่วยนอนพักบนเตียงประมาณ60นาที หรือจนกว่าจะตื่นดี จึงสามารถกลับห้องพักได้
  3. โดยทั่วไปจะมีการงดน้ำ และอาหารหลังทำการส่องกล้องตรวจท่อน้ำดีและท่อตับอ่อนอย่างน้อย 6-8ชั่วโมง หรือจนกว่าแพทย์จะแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน หรือภาวะติดเชื้อในท่อน้ำดี โดยจะเริ่มจากให้จิบน้ำ ถ้าไม่มีอาการปวดท้องจะเริ่มให้ทานอาหารต่อไปตามลำดับ
  4. ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์ ตามนัดโดยเฉพาะในรายที่มีการส่งชิ้นเนื้อตรวจ เพื่อฟังผลชิ้นเนื้อ
  5. หากทานมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการส่องกล้องตรวจหรือต้องการเลื่อนนัด

> กลับสารบัญ


การป้องกันโรคทางเดินน้ำดีและตับอ่อนสามารถทำได้โดยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ผู้ป่วยควรลดอาหารประเภทของทอด ของมัน เน้นการรับประทานผักและปลามากขึ้น ทั้งนี้การส่องกล้องตรวจทางเดินน้ำดีและตับอ่อน ควรเข้ารับการดูแลโดยแพทย์ที่มีความชำนาญที่มีประสบการณ์เพื่อให้ผลการรักษาเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ที่สำคัญหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีและสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากมีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยควรรีบพบแพทย์ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจรุนแรงหรือเกิดโรคร้ายแทรกซ้อนขึ้นได้ในอนาคต



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย