ปวดหลังร้าวลงขา ปวดแบบนี้อันตรายแค่ไหน

ศูนย์ : ศูนย์กระดูกสันหลัง

บทความโดย : นพ. สิทธิพงษ์ สุทธิอุดม

ปวดหลังร้าวลงขา ปวดแบบนี้อันตรายแค่ไหน

ปวดหลังมักเป็นอาการที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยในกลุ่มคนวัยทำงานไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยสาเหตุเกิดจากหลายๆ ปัจจัย เช่น การใช้งานในท่าทางซ้ำๆ การเสื่อมของข้อต่อกระดูกหลังตามวัย จาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เป็นต้น โดยอาการปวดหลังในบุคคลทั่วไปสามารถทุเลาได้เองภายใน 2-4 สัปดาห์ แต่ถ้าอาการปวดหลังนั้นกลับเป็นๆ หายๆ และบางวันก็ตามมาด้วยอาการปวดหลังร้าวลงขาร่วมด้วย ซึ่งปวดแบบนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคทางกระดูกสันหลัง หากปล่อยทิ้งไว้นานอาการอาจรุนแรงมากขึ้น


ปวดหลังร้าวลงขา

จะเป็นอาการปวดหลังบริเวณเอวร้าวลงมาบริเวณสะโพก และร้าวลงมาปวดขาข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ โดยลักษณะจะเป็นการปวดอยู่ข้างใน ไม่มีจุดที่กดเจ็บชัดเจน อาจมีอาการปวดจนขาชา และปวดจนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ในระยะแรก อาการมักจะสัมพันธ์กับท่าทาง การใช้งาน เช่น ปวดเฉพาะเมื่อนั่งนาน ยืนนาน ขับรถนาน พอได้นอนพักอาการก็จะดีขึ้น เมื่อมีการกดทับมากขึ้น อาการปวดอาจเพิ่มมากขึ้นจนปวดตลอดเวลา ปวดหลัง ปวดขามากและไม่สามารถเหยียดขาให้ตรงได้

> กลับสารบัญ


สาเหตุของอาการปวดหลังร้าวลงขา

สาเหตุการปวดหลังร้าวลงขา ที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • กล้ามเนื้ออักเสบ เมื่อกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างได้รับการบาดเจ็บจากการใช้งานในท่าทางซ้ำๆ หลายครั้ง หรือ อุบัติเหตุ จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งอย่างรุนแรง บางครั้งอาจทำให้มีอาการปวดตึงร้าวลงไปที่สะโพก และปวดขาได้ แต่มักไม่มีอาการปวดขาจนขาชา หรือปวดขาจนขาอ่อนแรงร่วมด้วย
  • หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท เกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกปลิ้น ทำให้เกิดปัญหาการกดของเส้นประสาทที่ออกมาบริเวณรูกระดูกสันหลัง เมื่อกระดูกส่วนนี้ไปกดทับเส้นประสาทก็จะมีอาการปวดแปล๊บร้าวลงไปที่ปลายขา โดยอาจร้าวจากหลังหรือเอวลงมาปวดขาร่วมด้วย มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้าซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด โรคนี้พบมากในวัยทำงาน
  • กระดูกสันหลังเสื่อม เกิดจากความเสื่อมตามวัย ของข้อต่อกระดูกสันหลัง ทำให้มีกระดูกงอกหรือเคลื่อนมาทับเส้นประสาทส่งผลให้มีปวดร้าวจนเกิดอาการปวดขาตามมา ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ

> กลับสารบัญ


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

ปวดแบบนี้อันตรายควรมาพบแพทย์โดยด่วน

เมื่อเกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา มีอาการปวดหลังเป็นๆ หายๆ ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ ให้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าอาการปวดของคุณอาจอันตรายมากกว่าที่คิด และหากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยให้ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยด่วน เช่น ปวดรุนแรงมากตอนกลางคืน กระดกข้อเท้าไม่ได้ มีปวดขา ขาชาและขาอ่อนแรงชัดเจน ขาลีบเล็กลง เบื่ออาหารและน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้หรือปัสสาวะไม่ออก เป็นต้น

> กลับสารบัญ



การตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังร้าวลงขา

สำหรับการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังร้าวลงขา แพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก อาจมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย เช่น ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

> กลับสารบัญ


ด้านการรักษามีตั้งแต่ การรับประทานยา ฉีดยาและกายภาพบำบัด ไปจนถึงการผ่าตัด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ปัจจุบันอาการปวดหลังร้าวลงขาสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ด้วยเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำและปลอดภัย จากกล้องเอ็นโดสโคปที่ทำให้แผลผ่าตัดเล็กลงกว่าเดิม ผู้ป่วยจึงเสียเลือดน้อย และการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อลดลงและฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเดิม


ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย