โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เส้นเลือดในสมองตีบ แตก ตัน อันตราย
ศูนย์ : ศูนย์สมองและระบบประสาท
บทความโดย : นพ. ชาญวิทย์ อนุเคราะห์วิทยา
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ ภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ เพราะมีการตีบ แตก หรืออุดตันของเส้นเลือด ส่งผลให้สมองขาดเลือดและออกซิเจน ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เซลล์สมองค่อย ๆ ตายลง หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการ แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด (FAST) ให้สงสัยว่าเป็นอาการโรคหลอดเลือดสมอง อย่าวางใจ รีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพราะสมองรอไม่ได้!!! ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.นครธน ยกระดับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครบวงจร เพื่อชีวิตของผู้ป่วย
สารบัญ
- โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตก หรืออุดตัน มีอาการอย่างไร?
- ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.นครธน ยกระดับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครบวงจร
- การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
- การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
- การดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Post Stroke Care)
- การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
- ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ไม่เสียค่าใช้จ่าย
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
- หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน (ischemic stroke)
- หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) หรือเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage)
โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตก หรืออุดตัน มีอาการอย่างไร?
สามารถสังเกตได้ตามหลัก F.A.S.T ดังนี้
- F = Face ใบหน้ามีอาการหน้าชา ปากเบี้ยว มุมปากตก กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก
- A = Arm แขน ขา อ่อนแรง เดินเซ ทรงตัวลำบาก อย่างเฉียบพลัน มักจะเป็นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
- S = Speech การพูด มีลักษณะพูดไม่ออก ลิ้นแข็ง หรือ พูดไม่ชัดอย่างทันทีทันใด
- T = Time เวลาที่เริ่มมีอาการ คือ รู้ว่าเริ่มมีอาการผิดปกติ หรือนับจากเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการปกติเป็นครั้งสุดท้าย และรีบไปโรงพยาบาลทันที เพื่อการตรวจวินิจฉัย และรักษา ให้ทันภายใน 4.5 ชม.
ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.นครธน ยกระดับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครบวงจร
ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.นครธน ยกระดับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครบวงจร เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย ตั้งแต่การตรวจคัดกรองค้นหาความสาเหตุโรคหลอดเลือดสมอง การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน หลังจากได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลที่หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit) โดยมีแพทย์เฉพาะทางโรคหลอดเลือดสมอง และทีมสหสาขาวิชาชีพดูแลตลอด 24 ชม. ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตั้งแต่การฝึกกลืน การทำกายภาพบำบัด ร่วมกับการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) และการฝึกกล้ามเนื้อมือด้วยหุ่นยนต์ฝึกมือ Hand Robotic ควบคู่กับการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน TDCS เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
ความชำนาญของทีมแพทย์
เรามีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านสมองและระบบประสาท แพทย์เฉพาะทางรังสีร่วมรักษา และศัลยแพทย์ ที่มีความชำนาญการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง พร้อมดูแลและรักษาผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง
การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
- การซักประวัติอาการของผู้ป่วย การตรวจร่างกายเบื้องต้น
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI brain)
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
- หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) สามารถรักษาได้ 2 วิธี ได้แก่
- การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA)จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงนับจากมีอาการ และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายผู้ป่วยแล้ว โดยแพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือดอยู่ออกเพื่อช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง
- การใส่สายสวนลากลิ่มเลือด (Clot Retrieval) กรณีเส้นเลือดที่ตีบหรืออุดตันเป็นเส้นเลือดใหญ่ โดยการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดแดงใหญ่พร้อมขดลวดที่ขาหนีบไปจนถึงจุดที่เกิดการอุดตัน แล้วดึงเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากหลอดเลือดสมองเพื่อเปิดรูของหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ด้วยเครื่องไบเพลน ดีเอสเอ Biplane DSA ซึ่งเป็นนวัตกรรมการที่ช่วยให้แพทย์สามารถทำหัตถการได้อย่างแม่นยำ และปลอดภัยต่อผู้ป่วย โดยไม่ต้องผ่าตัด ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้ทันท่วงที และฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
- หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) จะต้องการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต โดยใหยาลดความดันโลหิตเพื่อป้องกันการแตกซ้ำ พร้อมทั้งหาสาเหตุของเส้นเลือดในสมองแตก ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง โดยการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเลือดที่ออกภายในสมองและขนาดของก้อนเลือด
การดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Post Stroke Care)
หลังจากผ่านพ้นระยะวิกฤต ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke Unit โดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์เฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อเฝ้าติดตามอาการทางระบบประสาท ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือการกลับเป็นซ้ำ
- เครื่องมือที่ช่วยในการดูแลผู้ป่วย
เราใช้เครื่องเฝ้าสัญญาณชีพ, เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและชีพจร, EKG Monitor เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงจังหวะการเต้นของหัวใจ, และ Pneumatic Pump เพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน ลดความเสี่ยงของลิ่มเลือดที่อาจไปอุดตันที่สมอง นอกจากนี้ยังมีที่นอนลมเพื่อลดแรงกดและป้องกันการเกิดแผลกดทับ
- การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย
เมื่อผู้ป่วยมีอาการคงที่ จะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และการตรวจสอบภาวะกลืนลำบาก ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เรามีการฝึกกลืนด้วยเครื่อง Vital Stim เป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืนด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ช่วยลดความเสี่ยงในการสำลักและช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
- การทำกายภาพบำบัด
การทำกายภาพบำบัด ร่วมกับการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) และการฝึกกล้ามเนื้อมือด้วยหุ่นยนต์ฝึกมือ (Hand Robotic) ควบคู่กับการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน (TDCS) ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดในช่วงเวลา 6 เดือน หลังผู้ป่วยพ้นระยะวิกฤต หรือที่เรียกว่า "Golden Period" ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองของการฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพที่สุด
- ทีมดูแลเฉพาะทาง
เราให้การดูแลจากทีมแพทย์และพยาบาลเฉพาะทางตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงแพทย์ระบบประสาท, แพทย์ผ่าตัดสมอง, นักกายภาพบำบัด, นักกิจกรรมบำบัด, เภสัชกร และนักกำหนดอาหาร โดยมีเป้าหมายในการป้องกันและแก้ไขโรคแทรกซ้อนอย่างทันท่วงที การดูแลผู้ป่วยอย่างเอาใจใส่และการรักษาตามมาตรฐานสากลจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากอัมพฤกษ์อัมพาต ลดความพิการ และลดการเสียชีวิต
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำแล้ว การดูแลสุขอนามัยของตนเองก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตันได้ เช่น
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีเส้นใยมาก
- ลดอาหารรสเค็ม อาหารคอเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง
- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
- กรณีมีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะและรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
- หยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำเสมอ
ที่โรงพยาบาลนครธน เรามุ่งมั่นที่จะอยู่เคียงข้างผู้ป่วยในทุกช่วงเวลาของการรักษาและฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพอีกครั้ง
นพ. ชาญวิทย์ อนุเคราะห์วิทยา
โรคหลอดเลือดสมองและการตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นความถี่สูง
ศูนย์สมองและระบบประสาท
ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
บทความทางการแพทย์ศูนย์สมองและระบบประสาท