13 ข้อควรรู้ของการใช้ยาวาร์ฟาริน
ศูนย์ : ศูนย์สมองและระบบประสาท
ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด ที่ใช้ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันตามเส้นเลือดต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้นแพทย์จึงสั่งจ่ายยาวาร์ฟาริน เมื่อร่างกายเสี่ยงต่อการสร้างลิ่มเลือด ซึ่งลิ่มเลือดดังกล่าวอาจหลุดลอยไปอุดตันตามเส้นเลือดที่อวัยวะสำคัญต่างๆ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น การเกิด Stroke หรือภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
ข้อควรรู้และข้อปฏิบัติในการใช้ยาวาร์ฟาริน
- ผู้ป่วยต้องทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและมาตรวจตามนัดตรวจสอบวิธีรับประทานทุกครั้งเนื่องจากแพทย์อาจปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ให้เหมาะสมกับสภาวะผู้ป่วย
- กรณีเกิดอาการเลือดออกผิดปกติให้รีบกลับมาพบและปรึกษาแพทย์ เช่น เลือดออกตามไรฟัน, ปัสสาวะ อุจจาระ ไอหรืออาเจียนเป็นเลือด, รอยจ้ำตามตัว ผิดปกติ, เลือดกำเดาไหล (ระดับยาในเลือดสูงเกินไป) อาการหายใจลำบาก, เจ็บหน้าอก, เพลีย, แขนขาบวม ชา ลิ้นแข็ง (ระดับยาในเลือดสูงเกินไป) ต้องรีบกลับมาพบแพทย์เช่นกัน
- กรณีลืมทานยา โดยยังไม่ถึง 12 ชม. ให้รีบรับประทานยาวาร์ฟารินทันทีที่นึกได้ หากเลย 12 ชม. ไปแล้ว ให้ข้ามมื้อนั้นไปเลย และทานยามื้อต่อไปโดยห้ามเพิ่มสขนาดยาเป็น 2 เท่า
- หากมีการใช้ยาอื่น และอาหารเสริมร่วม เช่น กระเทียม, ขิง, น้ำมันปลา, แปะก๊วย, วิตามินอี, วิตามินซี, ชะเอมเทศ, ตังกุย, น้ำมันระกำ, พริก, มะม่วง, มะละกอ, โสม, โอเมก้า-3, แครนเบอร์รี่, ไคโตซาน, ขึ้นช่าย, ขมิ้นชัน อาจส่งผลต่อการเพิ่มฤทธิ์วาร์ฟาริน ควรแจ้งและปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง
- อาหารบางชนิด เช่นน้ำเต้าหู้, ผักใบเขียว, ซูชิหน้าสาหร่ายทะเล, ตำลึง, นมถั่วเหลือง, บรอคโคลี่, ผักกาดหอม, ผักบุ้ง, ผักสกัดอัดเม็ด, มะระขี้นก, สะตอ, โสม, อะโวคาโด, ชาเขียว, ชะอม, ชะพลู, คะน้า, คลอโรฟิลล์สกัด, กะหล่ำปลี, กะหล่ำดอก, กวางตุ้ง, กระถิน และกระเฉด เป็นต้น อาจมีผลต่อการลดฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน การรับประทานควรทานในปริมาณที่ควบคุมเหมาะสมและสม่ำเสมอ
- ภาวะโรคที่ส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน
- ภาวะโรคที่ลดฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน ได้แก่ Hypothyroid, การสูบบุหรี่
- ภาวะโรคที่เพิ่มฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน ได้แก่ อาการไข้, Hyperthyroid, Cirrhosis, HF, Malnutrition, Infection
- งดสูบบุหรี่ และ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือกีฬาที่มีความเสี่ยงอาจทำให้ภาวะเลือดออก
- ยาวาร์ฟารินมีผลต่อทารกในครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงการตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หากวางแผนมีบุตร
- ยาที่ต้องระวังเมื่อใช้ร่วมกับยาวาร์ฟาริน
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดอื่นๆ เช่น แอสไพริน, น้ำมันตับปลา
- ยากล่อมประสาท ได้แก่ Fluoxetine
- ยารักษาโรคลมชัก ได้แก่ Carbamazepine Phenobarbital Phenytoin
- ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้แก่ Coenzyme Q10 แครนเบอร์รี่ เอ็กไคนาเซีย กระเทียม แปะก๊วย โสม
- ยาลดอาการปวด ยาลดไข้ ได้แก่ NSAIDS (Ibuprofen Diclofenac)
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาวาร์ฟาริน
- ปวดหัวเฉียบพลัน เวียนศีรษะหรืออ่อนเพลีย
- เกิดรอยช้ำหรือมีเลือดออกได้ง่าย (เลือดกำเดาไหล หรือเลือดออกทางเหงือก) หรือเกิดจุดสีแดงม่วงใต้ผิวหนัง อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด
- มีเลือดออกไม่หยุดทั้งจากบาดแผล หรือจากการฉีดยา
- ผิวซีด รู้สึกหวิวหรือหายใจติดขัด
- ปัสสาวะสีเข้ม หรือดีซ่าน
- ปัสสาวะเล็กน้อย หรือปัสสาวะไม่ออก
- มีอาการชา หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มีอาการปวดท้อง ปวดหลังหรือสีข้าง
- เมื่อไปพบแพทย์ ทันตแพทย์ หรือเภสัชกร ต้องแจ้งทุกครั้งว่ากำลังใช้ยาวาร์ฟารินอยู่
- กรณีฉุกเฉิน กรุณาติดต่อกลับมาที่โรงพยาบาลนครธน โทร 02 450 9999
ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.นครธน
ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
บทความทางการแพทย์ศูนย์สมองและระบบประสาท