13 ข้อควรรู้ของการใช้ยาวาร์ฟาริน

ศูนย์ : ศูนย์สมองและระบบประสาท

บทความโดย :

13 ข้อควรรู้ของการใช้ยาวาร์ฟาริน

ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด ที่ใช้ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันตามเส้นเลือดต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้นแพทย์จึงสั่งจ่ายยาวาร์ฟาริน เมื่อร่างกายเสี่ยงต่อการสร้างลิ่มเลือด ซึ่งลิ่มเลือดดังกล่าวอาจหลุดลอยไปอุดตันตามเส้นเลือดที่อวัยวะสำคัญต่างๆ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น การเกิด Stroke หรือภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น


ข้อควรรู้และข้อปฏิบัติในการใช้ยาวาร์ฟาริน

  1. ผู้ป่วยต้องทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและมาตรวจตามนัดตรวจสอบวิธีรับประทานทุกครั้งเนื่องจากแพทย์อาจปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ให้เหมาะสมกับสภาวะผู้ป่วย
  2. กรณีเกิดอาการเลือดออกผิดปกติให้รีบกลับมาพบและปรึกษาแพทย์ เช่น เลือดออกตามไรฟัน, ปัสสาวะ อุจจาระ ไอหรืออาเจียนเป็นเลือด, รอยจ้ำตามตัว ผิดปกติ, เลือดกำเดาไหล (ระดับยาในเลือดสูงเกินไป) อาการหายใจลำบาก, เจ็บหน้าอก, เพลีย, แขนขาบวม ชา ลิ้นแข็ง (ระดับยาในเลือดสูงเกินไป) ต้องรีบกลับมาพบแพทย์เช่นกัน
  3. กรณีลืมทานยา โดยยังไม่ถึง 12 ชม. ให้รีบรับประทานยาวาร์ฟารินทันทีที่นึกได้ หากเลย 12 ชม. ไปแล้ว ให้ข้ามมื้อนั้นไปเลย และทานยามื้อต่อไปโดยห้ามเพิ่มสขนาดยาเป็น 2 เท่า
  4. หากมีการใช้ยาอื่น และอาหารเสริมร่วม เช่น กระเทียม, ขิง, น้ำมันปลา, แปะก๊วย, วิตามินอี, วิตามินซี, ชะเอมเทศ, ตังกุย, น้ำมันระกำ, พริก, มะม่วง, มะละกอ, โสม, โอเมก้า-3, แครนเบอร์รี่, ไคโตซาน, ขึ้นช่าย, ขมิ้นชัน อาจส่งผลต่อการเพิ่มฤทธิ์วาร์ฟาริน ควรแจ้งและปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง
  5. อาหารบางชนิด เช่นน้ำเต้าหู้, ผักใบเขียว, ซูชิหน้าสาหร่ายทะเล, ตำลึง, นมถั่วเหลือง, บรอคโคลี่, ผักกาดหอม, ผักบุ้ง, ผักสกัดอัดเม็ด, มะระขี้นก, สะตอ, โสม, อะโวคาโด, ชาเขียว, ชะอม, ชะพลู, คะน้า, คลอโรฟิลล์สกัด, กะหล่ำปลี, กะหล่ำดอก, กวางตุ้ง, กระถิน และกระเฉด เป็นต้น อาจมีผลต่อการลดฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน การรับประทานควรทานในปริมาณที่ควบคุมเหมาะสมและสม่ำเสมอ
  6. ภาวะโรคที่ส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน
    • ภาวะโรคที่ลดฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน ได้แก่ Hypothyroid, การสูบบุหรี่
    • ภาวะโรคที่เพิ่มฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน ได้แก่ อาการไข้, Hyperthyroid, Cirrhosis, HF, Malnutrition, Infection
  7. งดสูบบุหรี่ และ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  8. หลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือกีฬาที่มีความเสี่ยงอาจทำให้ภาวะเลือดออก
  9. ยาวาร์ฟารินมีผลต่อทารกในครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงการตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หากวางแผนมีบุตร
  10. ยาที่ต้องระวังเมื่อใช้ร่วมกับยาวาร์ฟาริน
    • ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดอื่นๆ เช่น แอสไพริน, น้ำมันตับปลา
    • ยากล่อมประสาท ได้แก่ Fluoxetine
    • ยารักษาโรคลมชัก ได้แก่ Carbamazepine Phenobarbital Phenytoin
    • ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้แก่ Coenzyme Q10 แครนเบอร์รี่ เอ็กไคนาเซีย กระเทียม แปะก๊วย โสม
    • ยาลดอาการปวด ยาลดไข้ ได้แก่ NSAIDS (Ibuprofen Diclofenac)
  11. ผลข้างเคียงจากการใช้ยาวาร์ฟาริน
    • ปวดหัวเฉียบพลัน เวียนศีรษะหรืออ่อนเพลีย
    • เกิดรอยช้ำหรือมีเลือดออกได้ง่าย (เลือดกำเดาไหล หรือเลือดออกทางเหงือก) หรือเกิดจุดสีแดงม่วงใต้ผิวหนัง อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด
    • มีเลือดออกไม่หยุดทั้งจากบาดแผล หรือจากการฉีดยา
    • ผิวซีด รู้สึกหวิวหรือหายใจติดขัด
    • ปัสสาวะสีเข้ม หรือดีซ่าน
    • ปัสสาวะเล็กน้อย หรือปัสสาวะไม่ออก
    • มีอาการชา หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • มีอาการปวดท้อง ปวดหลังหรือสีข้าง
  12. เมื่อไปพบแพทย์ ทันตแพทย์ หรือเภสัชกร ต้องแจ้งทุกครั้งว่ากำลังใช้ยาวาร์ฟารินอยู่
  13. กรณีฉุกเฉิน กรุณาติดต่อกลับมาที่โรงพยาบาลนครธน โทร 02 450 9999


ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.นครธน



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย