Q&A โรคกระดูกสันหลังเสื่อม ทุกคนสามารถเป็นได้

ศูนย์ : ศูนย์กระดูกสันหลัง

บทความโดย : นพ. บดินทร์ วโรดมวนิชกุล

Q&A โรคกระดูกสันหลังเสื่อม ทุกคนสามารถเป็นได้

โรคกระดูกสันหลังเสื่อมไม่ได้เกิดกับผู้สุงอายุเท่านั้น วัยรุ่น วัยทำงานก็สามารถเป็นได้ เนื่องจากปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน จากการใช้งานกระดูกสันหลังที่เกินความสามารถ ทำให้เกิดการเสื่อมเร็วขึ้น โดยทั่วไปโรคนี้พบได้ในผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มพบในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปีมากขึ้น หากพบว่าตัวเองมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ มีอาการปวดหลังร้าวลงขา ปวดคอร้าวลงแขน หรือมีอาการมือ แขน เท้า อ่อนแรง ให้รีบเข้ามาพบแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้นานอาการรุนแรงถึงขั้นกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือทรุดได้



Q: โรคกระดูกสันหลังเสื่อมคืออะไร

A: โรคกระดูกสันหลังเสื่อม คือ การที่กระดูกสันหลังมีความเปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น หมอนรองกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็นกระดูก และกล้ามเนื้อหลัง จะมีการขาดความยืดหยุ่น แข็งตัวมากขึ้น ข้อต่อต่าง ๆ เคลื่อนไหวได้น้อยลง

> กลับสารบัญ


Q: ใครเสี่ยงเป็นโรคกระดูกสันหลังเสื่อมบ้าง

A: กระดูกสันหลังเสื่อม สามารถเกิดได้กับทุกคนโดยจะเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 20 กว่า ๆ และเสื่อมไปเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานอายุ 30 – 40 ปีขึ้นไป มักพบในตำแหน่งที่มีการเคลื่อนไหวเป็นประจำ เช่น กระดูกสันหลังส่วนคอ และกระดูกสันหลังส่วนเอว เป็นต้น

> กลับสารบัญ


Q: สาเหตุใดบ้างที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังเสื่อม

Q: สาเหตุใดบ้างที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังเสื่อม

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของข้อต่อกระดูกสันหลัง หรือ หมอนรองกระดูกสันหลัง ผู้ที่อายุมากขึ้นกระดูกสันหลังที่เสื่อมลง จะมีการงอกเนื่องจากมีแคลเซียมมาเกาะ จนบางครั้งหมอนรองกระดูกที่ยุบตัวลง หรือกระดูกที่งอกเกิดการทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดหลังขึ้นมา
  • การใช้งานมากเกินไป เช่น การยกของหนัก
  • การทำงานที่ต้องนั่งหรือยืนนาน ๆ ในท่าเดิม
  • น้ำหนักตัวมากเกินไป

> กลับสารบัญ


Q: อาการที่บ่งบอกว่ากระดูกสันหลังเสื่อม

A: อาการจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

  • อาการปวด ไม่ว่าจะเป็น ปวดหลัง ปวดคอ มักจะเป็น ๆ หาย ๆ อาจปวดเวลานั่งนาน ๆ หรือปวดเวลาขยับตัว
  • อาการเกี่ยวกับระบบประสาท หากกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลังอาจทำให้เกิดอาการปวดคอร้าวลงแขน ปวดหลังร้าวลงขา อ่อนแรง ชาขา เดินได้ไม่ไกล นั่งนาน ๆ ไม่ได้ หรือขับรถนาน ๆ ไม่ได้ และถ้าไขสันหลังถูกกดทับรุนแรง อาจมีอาการเดินลำบาก การใช้มือหยับจับของได้ไม่ถนัด หรือทำให้ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระได้

> กลับสารบัญ


Q: จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังเสื่อม

A: แพทย์วินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังเสื่อมจากอาการแสดง การตรวจร่างกาย การเอกซเรย์หรือทำ CT scan หรือ MRI กระดูกสันหลัง

> กลับสารบัญ


Q: กระดูกสันหลังเสื่อมต้องผ่าตัดไหม

A: การรักษาโรคกระดูกสันหลังเสื่อมจะแตกต่างกันตามความรุนแรงของโรค เบื้องต้นแพทย์จะรักษาด้วยวิธีประคับประคอง ได้แก่ การปรับเปลี่ยนอิริยาบถประจำวัน การใช้ยากลุ่มแก้อาการปวดและยากลุ่มต้านการอักเสบ การทำกายภาพบำบัด การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง เป็นต้น การผ่าตัด คือวิธีสุดท้ายที่แพทย์จะแนะนำให้ใช้ในการรักษา

> กลับสารบัญ


Q: กระดูกสันหลังเสื่อมแค่ไหนต้องผ่าตัด

A: การผ่าตัดรักษากระดูกสันหลังเสื่อมเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง และมีข้อบ่งชี้ของการผ่าตัด ได้แก่ อาการไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบประคับประคอง มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนหรือขา มีความผิดปกติต่อระบบขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ซึ่งการผ่าตัดมีหลายประเภท เช่น การผ่าตัดเชื่อมข้อต่อกระดูกสันหลังหรือการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังเทียม แพทย์มักแนะนำวิธีรักษาด้วยการผ่าตัดให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทที่รุนแรง เช่น ผู้ป่วยมีอาการแสดงออกของเส้นประสาทถูกกดทับได้แก่ กล้ามเนื้อขาลีบ ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือระบบควบคุมการขับถ่ายสูญเสียไป การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทผ่านกล้องเอ็นโดสโคป เป็นต้น

> กลับสารบัญ


โรคกระดูกสันหลังเสื่อม อาจจะไม่ทำให้เกิดอาการก็ได้ หรืออาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลังขึ้นมาได้ ฉะนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับหลัง ให้เข้ามาพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เพื่อตรวจวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มแรก ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น สอบถามปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์ไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ด้านล่าง




ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย