การเกิดประสาทฟันอักเสบ คือ การที่ผู้ป่วยปล่อยฟันที่ผุทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน สาเหตุส่วนใหญ่อาจเป็นเพราะไม่ได้รับการตรวจฟันเป็นประจำ หรืออาจละเลยอาการเสียวฟัน หรืออาการปวดฟันที่เกิดขึ้น จนฟันผุนั้นลุกลามจนถึงชั้นประสาทฟัน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดฟัน เมื่อโดนอาหารร้อน หรือเย็น มีอาการปวดเวลานอนราบ หรือตอนกลางคืน อาการปวดสามารถปวดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องมีสิ่งกระตุ้น และไม่สามารถหายได้เอง จนทำให้ผู้ป่วยต้องกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวด การรักษารากฟันสามารถทำการรักษาคลองรากฟัน หรือการถอนฟันขึ้นอยู่กับสภาวะของเนื้อฟันที่เหลืออยู่ และความสำคัญในการใช้บดเคี้ยวในช่องปากของฟันซี่นั้นๆ
ซึ่งผู้ป่วยหลายท่านปล่อยให้ฟันผุเรื้อรังโดยไม่รักษา จนฟันผุนั้นลุกลามทำลายฟันมากขึ้นจนเกิดการอักเสบที่ชั้นโพรงประสาทฟัน ทำให้มีอาการปวดทรมาน ซึ่งการรักษานั้นอาจจำเป็นต้องถอนฟันที่มีปัญหาออก แต่ในปัจจุบันการรักษารากฟันจะช่วยรักษาฟันไว้ได้ โดยที่ไม่ต้องถอนฟันแท้ออกไป
สารบัญ
ทำไมต้องรักษารากฟัน
การรักษาคลองรากฟัน หรือ รักษารากฟัน คือ การกำจัดประสาทฟันที่มีการติดเชื้อออกจากคลองรากฟัน เพื่อป้องกันหรือรักษาไม่ให้เกิดการอักเสบบริเวณเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน การรักษารากฟัน เป็นการนำเส้นประสาทฟันที่ติดเชื้อในตัวฟันออกไป จะทำเมื่อมีสาเหตุจากฟันผุที่ลึกไปจนถึงโพรงประสาทฟัน จนโพรงประสาทฟันถูกทำลายเกิดการอักเสบ และมีฝีหรือถุงหนองที่ปลายรากฟัน เมื่อทันตแพทย์เอาเส้นประสาทฟันที่มีปัญหาออก เพื่อหยุดยั้งการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน และรักษาอาการปวดฟัน ก็จะทำความสะอาด ใส่ยาฆ่าเชื้อ และอุดรากฟันเป็นการปิดคลุมรากฟัน อาการปวดฟันก็จะไม่มีอีกต่อไป ซึ่งการรักษารากฟันจะช่วยรักษาฟันแท้เอาไว้ให้ใช้งานต่อได้ โดยไม่ต้องถอนออก
ฟันแบบไหนที่ต้องรักษารากฟัน
- ฟันที่ผุลึกจนถึงประสาทฟัน หรือใกล้ประสาทฟัน
- ฟันร้าวหรือฟันที่มีการแตกหักจนถึงประสาทฟัน
- ฟันที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาคลองรากฟันก่อนการบูรณะด้วยการทำครอบฟัน
- ฟันที่เป็นโรคปริทันต์รุนแรงจนทำให้ฟันตาย
- ฟันสึกบริเวณด้านบดเคี้ยวจากการนอนกัดฟัน การเคี้ยวอาหารที่รุนแรง จนทำให้มีการสึกถึงประสาทฟัน
- ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ จนเป็นสาเหตุให้ฟันตาย
ขั้นตอนการรักษารากฟัน
- ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเพื่อลดอาการปวดและเสียวฟันที่อาจเกิดขึ้นขณะให้การรักษาคลองรากฟัน
- ทันตแพทย์จะใส่แผ่นยางกั้นนำลาย เพื่อแยกตัวฟันที่ต้องการรักษาคลองรากฟันออกจากเนื้อเยื่อช่องปากโดยรอบ
- ทันตแพทย์จะกำจัดรอยผุ หรือรอยร้าว และกรอเปิดเข้าสู่ประสาทฟันเพื่อกำจัดเส้นประสาทฟันที่อักเสบออก
- ทันตแพทย์จะวัดควายาวคลองรากฟันโดยเครื่องวัดความยาวรากฟัน จากนั้นจะทำความสะอาดผนังคลองรากฟัน ตกแต่งรูปร่างผนังคลองรากฟัน ร่วมกับการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อช่วยกำจัดเชื้อโรคที่อยู่ในคลองรากฟัน
- ทันตแพทย์ใส่ย่าฆ่าเชื้อในคลองรากฟัน และอุดด้วยวัสดุอุดฟันชั่วคราว
- เมื่อผู้ป่วยไม่มีอาการของประสาทฟันอักเสบ ไม่มีหนอง สามารถใช้ฟันเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ ทันตแพทย์จะทำการอุดคลองรากฟัน จากนั้นจะส่งผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการบูรณะตัวฟันด้านบน เป็นการเสร็จสิ้นสำหรับการรักษาคลองรากฟัน
- ในกรณีที่ฟันมีอาการอักเสบที่รุนแรง ทันตแพทย์อาจจำเป็นต้องให้การรักษาโดยการใส่ยา หรือทำความสะอาดเพิ่มเติมจนกว่าอาการของรากฟันอักเสบจะหายเป็นปกติและจึงจะทำการอุดคลองรากฟัน
- ในกรณีที่การอักเสบไม่ได้ลงสู่เนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน ทันตแพทย์อาจพิจารณารักษาคลองรากฟันได้เสร็จสิ้นภายในครั้งเดี
การปฏิบัติตัวหลังการรักษารากฟัน
- หลังการรักษาอาจพบอาการปวดได้บ้าง ประมาณ 1-3 วันแรก สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการไ
- รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ไม่ต้องใช้ฟันในการบดเคี้ยวเยอะ ในระยะ 1-2 วันหลังการรักษา
- กรณีที่ผู้ป่วยได้รับการจ่ายยาควรรับประทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์แนะนำ
- หลังการรักษาคลองรากฟันสามารถแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันได้ตามปกติ
- หากวัสดุอุดฟันหลุดก่อนถึงวันที่มีการนัดหมาย ให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคซึมเข้าสู่คลองรากฟัน
- ควรพบทันตอแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง เพื่อความต่อเนื่องในการรักษาและติดตามอาการ
- เมื่อการรักษาคลองรากฟันเสร็จสิ้น ควรรีบบูรณะฟันด้านบน เช่นการทำครอบฟัน เพื่อป้องกันการแตก หักของตัวฟัน
การรักษารากฟันจะช่วยเก็บรักษาฟันให้คงอยู่ในช่องปากต่อไปได้ โดยไม่ต้องสูญเสียฟันและไม่ต้องใส่ฟันเทียม ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันและบูรณะตัวฟันเสร็จแล้ว จะสามารถอยู่ได้นานเท่ากับฟันที่ปกติ ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพฟันและช่องปากของแต่ละบุคคล ทั้งนี้สามารถปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 2 หรือส่งข้อมูลปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้เลย
ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
บทความทางการแพทย์ศูนย์ทันตกรรม