เทคโนโลยีการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscopic และ Microscopic Surgery

ศูนย์ : ศูนย์กระดูกสันหลัง

บทความโดย : นพ. พัลลภ ถิระวานิช

ผ่าตัด Endoscope, ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง

อาการปวดหลังร้าวลงขาที่เกิดจากภาวะที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังในผู้ใหญ่ มักเกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือภาวะช่องไขสันหลังตีบแคบทับจนทำให้เกิดการกดเบียดเส้นประสาท หากรักษาด้วยวิธีประคับประคองในระยะเวลาที่เหมาะสม (เฉลี่ยประมาณ 6 สัปดาห์) แล้วยังคงมีอาการปวด ชา หรืออ่อนแรง จนทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง หรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น จนทำให้มีอาการแขนขาชา หรือมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้น พบว่าการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscopic (ผ่าตัด Endoscope) และ Microscopic Surgery ได้มีบทบาทที่สำคัญในการรักษากลุ่มผู้ป่วยที่ได้กล่าวมาข้างต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อผ่าตัดเปิดช่องโพรงกระดูกสันหลัง (Laminectomy) และนำหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออก (discectomy)


เทคโนโลยีการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย

ในอดีตการผ่าตัดเปิดช่องโพรงกระดูกสันหลัง (Laminectomy) และนำหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออก (discectomy) นั้น เป็นการผ่าตัดแบบเปิด (open discectomy) โดยมีความจำเป็นที่ต้องเปิดแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ เพื่อช่วยในการเข้าถึง และเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นของศัลยแพทย์ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก นอกจากนี้ยังต้องทำการผ่าตัดเลาะกล้ามเนื้อมาก มีการเสียเลือดหลังผ่าตัดมากส่งผลให้ผู้ป่วยมีการฟื้นตัวหลังผ่าตัดช้า และต้องการยาแก้ปวดปริมาณมาก ซึ่งทำให้ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนาน มีโอกาสเกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อในโรงพยาบาลมากขึ้น

ในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีในการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยวิธีผ่าตัดด้วยชนิดรุกล้ำน้อย (minimally invasive spine surgery; MISS) โดยสามารถทำได้โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ช่วยผ่าตัด (microscopic spine surgery) หรือการใช้เทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องท่อขนาดเล็กผ่านผิวหนัง เรียกว่า percutaneous endoscopic spine surgery หรือ full-endoscopic spine surgery (ผ่าตัด Endoscope) โดยมีรายงานพบว่า มีประโยชน์ในเรื่องของการลดภาวะบาดเจ็บของเนื้อเยื่อข้างเคียง ลดการเสียเลือดขณะผ่าตัด และนำไปสู่การฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดที่ดี ซึ่งการผ่าตัด Endoscope และ Microscope ถือเป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการรักษา มีขนาดแผลที่เล็กกว่า ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดน้อยกว่า และมีระยะเวลาพักฟื้นที่สั้นทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิด (open discectomy) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน อย่างไรก็ดี การผ่าตัดที่กล่าวไปข้างต้นทั้ง 2 ประเภทนี้ มีรายละเอียดในเรื่องของการเลือกผู้ป่วย การใช้เครื่องมือการผ่าตัด เทคนิคการผ่าตัด และผลของการรักษาที่แตกต่างกัน ดังนี้

  1. การผ่าตัดโดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ช่วยผ่าตัด (Microscopic spine surgery)
    เป็นการผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบเปิด ที่มีการใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงช่วยในการผ่าตัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นายละเอียดที่ชัดเจน และเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัดเนื้อเยื่อบริเวณไขสันหลัง เส้นประสาท และพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในช่องโพรงกระดูกสัหลังที่ต้องการแก้ไข จึงทำให้ไม่มีความจำเป็นในการเปิดแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ที่เดินความจำเป็น โดยแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กลงเหลือเพียง 2-3 เซนติเมตร และสามารถลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บของเส้นประสาทและเยื่อหุ้มไขสันหลังได้มากขึ้น แต่อย่างก็ตามการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ยังมีข้อจำกัดเนื่องจากยังต้องมีการเลาะกล้ามเนื้อเพื่อใช้อุปกรณ์ถ่างขยายกล้ามเนื้ออยู่ จึงทำให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลโดยประมาณ 2-3 วัน นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมากซึ่งยังต้องเปิดเลาะกล้ามเนื้อเพิ่มรวมถึงอาจพบว่าในบางรายขนาดความลึกของอุปกรณ์ถ่างขยายมีความยาวไม่เพียงพอทำให้เกิดความยากลำบากในการผ่าตัด
  2. การผ่าตัดผ่านกล้องท่อขนาดเล็กผ่านผิวหนัง PELD (ผ่าตัด Endoscope)
    การผ่าตัดผ่านกล้องท่อขนาดเล็กผ่านผิวหนัง (Percutaneous endoscopic spine surgery; PELD) หรือ การผ่าตัด Endoscope เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscope ที่มีลักษณะเป็นท่อเดี่ยวที่มีเลนส์อยู่ที่ปลายกล้อง โดยมีใยแก้วนำแสงเพื่อช่วยในการมองเห็นรวมทั้งท่อส่งน้ำขนาดเล็กอยู่ภายใน ผ่านทางแผลผ่าตัดขนาด 8 มิลลิเมตร ซึ่งมีช่องใส่อุปกรณ์เพื่อกรอกระดูกและเอาหมอนรองกระดูกออกผ่านช่องขนาดเล็ก ซึ่งเลนส์ของกล้องเอ็นโดสโคปที่ปลายกล้องนี้เปรียบเสมือนดวงตาของศัลยแพทย์อยู่ในตัวผู้ป่วย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน แม่นยำ เลือกตัดออกเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก นอกจากนี้ปลายของเลนส์จะมีลักษณะเป็นมุมเอียงเล็กน้อยเพื่อช่วยในการมองเห็นอวัยวะต่างๆ รอบข้างได้อีกด้วยส่งผลให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กทำให้เกิดการบาดเจ็บเนื้อเยื่อน้อยกว่า และสามารถมองเห็นพื้นที่ในการผ่าตัดได้ชัดเจนมากกว่า เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดน้อยลง และผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

> กลับสารบัญ


ข้อข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (ผ่าตัด Endoscope)

  • แผลผ่าตัด Endoscope มีขนาดเล็ก
  • ผู้ป่วยปวดแผลหลังผ่าตัดน้อย
  • มีรายงานพบความเสี่ยงในการติดเชื้อแผลผ่าตัดต่ำ
  • ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีที่อยู่รอบบริเวณผ่าตัด
  • ผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็ว สามารถกลับบ้านได้ภายใน 24 ชั่วโมง

> กลับสารบัญ


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

การผ่าตัดผ่านกล้อง (ผ่าตัด Endoscope และ Microscope) เหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้ที่มีภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท
  • ผู้ที่มีภาวะโพรงประสาทกระดูกสันหลังตีบแคบทับเส้นประสาท ที่ไม่มีความผิดรูปของกระดูกสันหลัง เช่น กระดูกคด หรือ เคลื่อน ฯลฯ
  • ผู้มีภาวะถุงน้ำจากข้อต่อกระดูกทับเส้นประสาท

การผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscopic spine surgery และ Microscopic spine surgery

ความแตกต่าง Microscopic spine surgery Endoscopic spine surgery
ขนาดแผล 2-3 เซนติเมตร 8 มิลลิเมตร
ลักษณะการผ่าตัด แบบเปิดแผล เลาะกล้ามเนื้อบางส่วน แบบส่องกล้อง ไม่จำเป็นต้องเลาะกล้ามเนื้อ
ระยะเวลาผ่าตัด ประมาณ 120 นาที ประมาณ 45-90 นาที
ระยะนอนโรงพยาบาล 2-3 วัน 1-2 วัน
ระยะพักฟื้น 4 สัปดาห์ 2 สัปดาห์

> กลับสารบัญ



เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดี และไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดผ่านกล้อง หรือผ่าตัด Endoscope และ Microscope นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีในการรักษาที่มีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับความชำนาญของทีมแพทย์เฉพาะทาง และทีมพยาบาลที่รวมดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตามการดูแลและการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยทั้งก่อนละหลังการผ่าตัด ก็มีส่วนสำคัญอย่างมากด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ในการเลือกวิธีการรักษานั้นจะอยู่ที่ความรุนแรงของโรค ร่างกายของผู้ป่วย และดุลยพินิจของแพทย์



นพ.พัลลภ ถิระวานิช นพ.พัลลภ ถิระวานิช

นพ.พัลลภ ถิระวานิช
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์/กระดูกสันหลัง
ศูนย์กระดูกสันหลัง

นัดหมายแพทย์

ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย