ไขข้อข้องใจ ใครบ้างควรไปตรวจไวรัสตับอักเสบบี และซี

ศูนย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

บทความโดย : พญ. เพ็ญประไพ หงษ์ศรีสุวรรณ์

ไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดตับอักเสบ หากการอักเสบของตับไม่หายและกลายเป็นตับอักเสบระยะเรื้อรัง จะเกิดพังผืดหรือแผลเป็นในเนื้อตับ จนกลายเป็นภาวะตับแข็งและเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับ ฉะนั้นการเข้ารับการตรวจหาไวรัสตับอักเสบ บี และซี จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าว แล้วใครควรตรวจบ้างไปดูกันเลย


ใครบ้างควรไปตรวจไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบ บี หากท่านหรือบุคคลที่รักมีปัจจัยต่อไปนี้ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งแพทย์จะตรวจ HBSAg จากการเจาะเลือด ดังนี้

  1. มีประวัติไวรัสตับอักเสบ บี หรือ มะเร็งตับในครอบครัว เช่นมีพ่อ แม่ พี่น้องทางแม่ หรือพี่น้องท้องเดียวกันเป็นโรคดังกล่าว
  2. มีการทำงานของตับผิดปติหรือแพทย์สงสัยว่าเป็นตับแข็งทั้งนี้เพราะไวรัสตับอักเสบ บี เป็นสาเหตุโรคตับที่พบบ่อยและในปัจจุบันรักษาได้
  3. มีประวัติเสี่ยงเช่นเคยใช้ยาเสพติดชนิดฉีด สักตามร่างกาย มีคู่นอนหลายคน
  4. หากท่านเกิดก่อนปี พ.ศ. 2535 หรือมีความกังวลเรื่องไวรัสตับอักเสบ ปี ก็ควรตรวจ ในกรณีนี้ควรตรวจร่วมกับภูมิต้านทานด้วยเพราะหากไม่ติดเชื้อและยังไม่มีภูมิจะได้ฉีดวัคซีนไปด้วยเลย

> กลับสารบัญ


ใครบ้างควรไปตรวจไวรัสตับอักเสบซี

ไวรัสตับอักเสบ ซี เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบ บี หากมีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ควรได้รับการตรวจ Anti-HCV จากการเจาะเลือดไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการตรวจเบื้องต้นหากให้ผลบวกแพทย์จะตรวจยืนยันเพิ่มเติม

  1. มีประวัติได้รับเลือด เกร็ดเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดก่อนปีพ.ศ. 2533
  2. มีประวัติเสี่ยงเช่นเคยใช้ยาเสพติดชนิดฉีดสักตามร่างกาย สำส่อนทางเพศ
  3. มีการทำงานของตับผิดปกติหรือแพทย์สงสัยว่าเป็นตับแข็ง

> กลับสารบัญ


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

ไวรัสตับอักเสบ บีและซี ป้องกันได้

เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีได้หลายวิธี ประกอบด้วย

  1. หลีกเลี่ยงการมีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่
    • การเจาะ สักผิวหนัง
    • การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
    • การใช้ของมีคมร่วมกับบุคลอื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ
    • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
    • บุคลากรทางการแพทย์ ควรสวมถุงมือ แว่นตา หรือชุดคลุมเมื่อต้องสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยทุกครั้ง
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรพบแพทย์เพื่อประเมินว่ามีความจำเป็นต้องกินยาต้านไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่หากเชื้อไวรัสมีปริมาณมากควรได้รับยาต้านไวรัสช่วง 3 เดือนก่อนคลอด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก และทารกควรได้รับการฉีดวัคซีนและอิมมูโนกลอบบูลิน (Hepatitis B immunoglobulin, HBIG) เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกคลอด
  3. การฉีดวัคซีน เรายังสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้โดยการฉีดวัคซีนซึ่งมีประสิทธิภาพดี โดยฉีดเพียง 3 เข็มสามารถสร้างภูมิต้านทานซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิตส่วนวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซีในปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย

    ใครควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

    • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่
    • ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นไวรัสตับอักเสบปี
    • ทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี
    • บุคลากรทางการแพทย์
    • สามีหรือภรรยาของผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี
    • ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกไต
    • ผู้ที่ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
    • ผู้ป่วยที่ต้องได้รับยากดภูมิต้านทาน

> กลับสารบัญ



เนื่องจากในปัจจุบันวัคซีนมีความปลอดภัยสูง จึงควรฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่ยังไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและยังไม่มีภูมิต้านทานทุกคน สามารถปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลจากแพทย์ออนไลน์ได้เลย ที่นี่



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย