MRI คืออะไร ตรวจวินิจฉัยโรคอะไรได้บ้าง

ศูนย์ : ศูนย์รังสีวินิจฉัย

บทความโดย : พญ. ชมสิริ เสกสรรค์วิริยะ

MRI

เอ็มอาร์ไอ หรือ MRI (Magnetic Resonance Imaging) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจทางรังสีวิทยา มีหลักการทำงานคือ ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับคลื่นความถี่วิทยุ โดยการนำคนไข้เข้าในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแล้วปล่อยสัญญาณ จากนั้นจะประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์และภาพที่ได้มีความละเอียดสูง โดยเฉพาะสมอง หัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็ง ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ


โรคที่สามารถตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง MRI

เครื่อง MRI สามารถตรวจวินิจฉัยหาโรคต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ดังนี้

  1. กลุ่มโรคระบบสมองและเส้นประสาท ได้แก่ ตรวจเนื้อเยื่อสมอง เส้นเลือดในสมอง และอวัยวะอื่น ๆ บริเวณสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท
  2. กลุ่มโรคหัวใจ
  3. กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับกระดูก ได้แก่ ตรวจกระดูกสันหลัง ระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่าง ๆ เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รวมถึงอาการบาดเจ็บต่าง ๆ จากการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุ
  4. กลุ่มโรคอวัยวะในช่องท้อง รวมถึงทางเดินน้ำดี ถุงน้ำดี
  5. กลุ่มโรคทางเต้านม เช่น ก้อนเนื้อที่เต้านม
  6. กลุ่มโรคหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำทั่วร่างกาย

> กลับสารบัญ


การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ MRI Scan

โดยส่วนใหญ่ การเข้ารับการตรวจ MRI ที่ไม่ฉีดยา ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ มีเพียงในบางกรณีที่แพทย์อาจมีคำแนะนำพิเศษให้งดน้ำและอาหารก่อนตรวจ ประมาณ 4-6 ชั่วโมง เช่น การตรวจช่องท้อง เพื่อลดการรบกวนสัญญาณภาพจากการบีบตัวของลำไส้

ทั้งนี้หากคนไข้มีการใส่อุปกรณ์หรือโลหะอื่น ๆ ทางการแพทย์ที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบในร่างกาย ดวงตา เส้นเลือด หรืออยู่ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจให้ทราบ นอกจากนี้ไม่ควรสวมใส่อุปกรณ์หรือเสื้อผ้าที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ เช่น ต่างหู กิ๊บ หรือเสื้อที่มีซิป เข้าไปในห้องตรวจ

> กลับสารบัญ


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

ขั้นตอนในการตรวจ MRI Scan

การตรวจ MRI เป็นขั้นตอนที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด เวลาในการตรวจประมาณ 30-90 นาที ขึ้นอยู่กับส่วนที่ต้องการตรวจ ซึ่งทางโรงพยาบาลจะแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจในเบื้องต้นและให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว

โดยในขั้นแรก ผู้เข้ารับการตรวจต้องถอดอุปกรณ์ทุกชิ้นที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบออก เนื่องจากภายในห้องตรวจมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อาจส่งผลต่ออุปกรณ์เหล่านี้ และเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้

ในระหว่างการตรวจจะเกิดเสียงดังขึ้นเป็นระยะ โดยเจ้าหน้าที่จะใช้ฟองน้ำอุดหู เพื่อช่วยลดเสียงที่เกิดขึ้น เมื่อเข้าไปอยู่ในห้องตรวจ คนไข้จะนอนลงบนเตียงของเครื่อง MRI โดยเจ้าหน้าที่จะช่วยจัดท่าทางของศีรษะ ลำตัว และแขนให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จากนั้นจะมีการนำอุปกรณ์จับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กมาวางในส่วนของร่างกายที่จะตรวจ แล้วเตียงจะเลื่อนเข้าไปในตัวเครื่องที่มีลักษณะเป็นอุโมงค์ ซึ่งในขั้นตอนนี้คนไข้ควรนอนนิ่ง ๆ ไม่ขยับไปมา ในการตรวจบางส่วนจะต้องกลั้นหายใจขณะทำการตรวจ

> กลับสารบัญ


หลังการตรวจและการติดตามผลของ MRI Scan

หลังการตรวจเสร็จสิ้นลง คนไข้สามารถกลับบ้าน ทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ตามปกติ ในบางกรณีหากคนไข้ได้รับการฉีดยา เพื่อคลายความกังวลระหว่างการตรวจ จะได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมเป็นรายๆ ไป

โดยผลการตรวจ MRI จะถูกวิเคราะห์และแปลผลโดยรังสีแพทย์ คนไข้จะได้ฟังผลการตรวจจากแพทย์ผู้ส่งตรวจ ซึ่งระยะเวลาในการรอผลขึ้นกับภาวะหรือโรคของคนไข้

> กลับสารบัญ


ข้อดีของการทำ MRI

  1. การตรวจด้วย MRI จะไม่มีการใช้รังสี
  2. สามารถตรวจได้ทุกเพศ ทุกวัย ไม่มีข้อจำกัดเรื่องความหนาของร่างกายให้ภาพละเอียดมากกว่าการเอกซเรย์ (X-ray) อัลตราซาวด์ (Ultrasound) หรือทำซีที สแกน (CT Scan)
  3. ตรวจวัดความผิดปกติของสมอง กระดูกสันหลัง และข้อต่างๆ ได้ชัดมากขึ้น
  4. สามารถตรวจหาความผิดปกติของร่างกายได้ และสามารถค้นพบโรคได้อย่างรวดเร็วและให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที

> กลับสารบัญ



การตรวจด้วยเครื่อง MRI ใช้ได้ดีกับการตรวจสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง เส้นประสาทในร่างกาย กล้ามเนื้อ กระดูก ตรวจเส้นเลือดได้ โดยไม่ต้องฉีดสารเปรียบเที่ยวความชัด และสามารถตรวจพบความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว มีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค สามารถบอกขอบเขตของโรคได้ ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาโรคต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย