รู้ทันอาการ “ผู้หญิงวัยทอง” (Menopause)

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพสตรี, ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้

บทความโดย : นพ. องอาจ บวรสกุลวงศ์

รู้ทันอาการ “ผู้หญิงวัยทอง” (Menopause)

ผู้หญิงวัยทอง (Menopause) หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน คือ ผู้หญิงที่ถึงวัยหมดประจำเดือน เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เนื่องจากรังไข่หยุดการทำงาน เป็นการหยุดความสามารถในการเจริญพันธ์ โดยปกติ จะนับเมื่อขาดประจำเดือนมาเป็นเวลาต่อเนื่องนาน 12 เดือนหรือ 1 ปี สำหรับหญิงไทยอายุเฉลี่ยที่จะเข้าสู่วัยทองคืออายุประมาณ 48-51 ปี ผู้หญิงบางคนอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือเพียงระยะเวลาสั้นๆ ในขณะที่บางคนอาจมีอาการรุนแรง กระทั่งรบกวนวิถีชีวิตประจำ


การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน วัยทอง ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

  1. ร้อนวูบวาบ เป็นอาการทางร่างกายที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิงวัยทอง เป็นอาการร้อนตามตัวและใบหน้าซึ่งอาจมีเหงื่อออกที่ใบหน้าร่วมด้วยได้ อาการนี้เกิดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน อาการร้อนวูบวาบจะเกิดบ่อยในช่วงปีแรกที่หมดประจำเดือนและบางรายอาจมีอาการต่อเนื่องยาวนานไปจนถึง 8-10 ปีหลังจากหมดประจำเดือน
  2. ช่องคลอดแห้ง จึงมีอาการคัน แสบ ระคายเคืองบริเวณช่องคลอด ผนังช่องคลอดบาง มีการเปลี่ยนแปลงของความเป็นกรดด่างภายในช่องคลอด ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  3. กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะบ่อย เวลาไอจามมีปัสสาวะเล็ด
  4. นอนไม่หลับ มีปัญหาเรื่องการตื่นนอนเร็ว บางครั้งตื่นขึ้นมากลางคืนบ่อย
  5. ความรู้สึกทางเพศลดลง เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ การผลิตน้ำหล่อลื่นจากต่อมต่างๆ ภายในระบบสืบพันธุ์ลดลง อาจกระทบต่อความสัมพันธ์ภายในครอบครัวตามมา
  6. อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ควบคุมอารมณ์ได้ยาก บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะไมเกรน
  7. ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกและข้อ บางรายอาจเจอภาวะกระดูกพรุน เวลาหกล้มกระดูกจะหักได้ง่ายขึ้น
  8. ผิวหนังแห้ง อาจทำให้เกิดแผลได้ง่าย เส้นผมเปราะบาง ทำให้หลุดร่วงเร็วขึ้น

> กลับสารบัญ


วิธีการรักษา

  1. อาการร้อนวูบวาบ : ต้องสังเกตและจดจำสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบและหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น เช่น สถานที่อยู่ การสัมผัสกับอากาศที่ร้อนมาก อาหารรสจัด อาหารร้อน เครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นให้เส้นเลือดขยายตัว เช่น คาเฟอีน และแอลกอฮอล์ ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินอี และบี คอมเพล็กซ์ รวมถึงอาหารเสริมของสารเหล่านี้ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด เพราะความเครียดจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการรักษาด้วยยาในกลุ่มฮอร์โมนทดแทน
  2. ช่องคลอดแห้งและปัสสาวะบ่อย : อาจมีการใช้ยาฮอร์โมนสอดช่องคลอดเพื่อกระตุ้นให้เลือดมาหล่อเลี้ยงช่องคลอดมากขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้นสภาวะการไหลเวียนเลือดที่ดีในช่องคลอด และทำให้ช่องคลอดยืดหยุ่นมากขึ้น และมีเพศสัมพันธ์ได้โดยไม่เจ็บ
  3. อาการนอนไม่หลับ และอารมณ์แปรปรวน : ใช้ยาลดอาการซึมเศร้า เช่น ยาในกลุ่ม SSRI หรือการใช้ยาฮอร์โมนทดแทน รวมถึงทำกิจกรรมนันทนาการเพื่อผ่อนคลายความเครียด และทำให้จิตใจแจ่มใส
  4. กระดูกพรุน : หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือการทำงานหนัก รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินดีสูง การใช้ฮอร์โมนทดแทน และยารักษากระดูกพรุน
  5. ผมร่วง : สระผมอย่างสม่ำเสมอเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่อาจเป็นสาเหตุการทำลายรากผม และหนังศีรษะ รวมถึงใช้ยาสระผมที่มีสารกระตุ้นการงอกใหม่หรือสารที่ช่วยบำรุงเส้นผม ร่วมกับการรับประทานอาหาร และผักผลไม้ที่มีประโยชน์

> กลับสารบัญ



นพ.องอาจ บวรสกุลวงศ์ นพ.องอาจ บวรสกุลวงศ์

นพ.องอาจ บวรสกุลวงศ์

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา/เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร






ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย