วิธีรับมือกับอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา คำแนะนำโดยแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา

ศูนย์ : ศูนย์กระดูกและข้อ

บทความโดย : นพ. ประกาศิต ชนะสิทธิ์

วิธีรับมือกับอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา คำแนะนำโดยแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา

การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายเกิดขึ้นได้เสมอ แต่เมื่อเกิดแล้วการรับมือกับอาการบาดเจ็บนั้น ๆ จะได้ผลดีต้องกระทำอย่างถูกวิธีและถูกเวลา แต่หากคุณกำลังประสบปัญหากับภาวะการฉีกขาดของตัวเส้นเอ็นหัวไหล่-หัวเข่า อย่าทน เพราะสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery) ฉะนั้นเพื่อให้การรักษาการบาดเจ็บได้อย่างถูกวิธี ควรปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา เพื่อให้กลับไปเล่นกีฬาที่คุณรัก


อันดับแรก การประเมินอาการบาดจากการเล่นกีฬา

เมื่อได้รับการบาดเจ็บ สิ่งแรกที่ต้องประเมินคือ ความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ โดยประเมินว่า การบาดเจ็บนั้นส่งผลรุนแรงต่อชีวิตของนักกีฬาหรือไม่ โดยใช้หลักการประเมินตัวอักษร 3 ตัว A B C ได้แก่

  • A: Airway ประเมินทางเดินหายใจ ที่ส่งผลต่อการหายใจของคนไข้
  • B: Breathing ประเมินการหายใจ ว่าปอดยังใช้ได้ดีหรือไม่
  • C: Circulation ประเมินระบบการไหลเวียน เช่น การบาดเจ็บมีการเสียเลือดทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดมีการบาดเจ็บหรือไม่

ถ้า 3 ตัวนี้มีความปกติ ก็จะไปสู่การประเมินส่วนอื่นต่อไป เช่น มีกระดูกหัก มีข้อพลิกหรือไม่ ซึ่งอาการเหล่านี้จะอยู่ในกลุ่มที่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตต่อคนไข้ หลังจากนั้นก็จะเป็นการประเมินระดับต่อไปหลังจากการประเมินความเสี่ยงของความรุนแรงเรียบร้อยแล้ว

> กลับสารบัญ


อันดับที่สอง คือ หลักการปฐมพยาบาลจากการบาดเจ็บจากกีฬา

หลักการปฐมพยาบาลมีหลายแบบ แต่มีแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ หลักการ P.R.I.C.E.D การรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ดังนี้

  • P: Protection เมื่อเกิดการบาดเจ็บที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง เราต้องทำการป้องกันบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บโดยให้คงสภาพไว้ไม่ให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติมมากขึ้น เช่น มีกระดูกหักก็ต้องดามทันทีเพื่อไม่ให้เคลื่อนไหว เป็นต้น
  • R: Rest การพักการใช้งานโดยไม่ให้อวัยวะที่มีอาการบาดเจ็บเคลื่อนไหวหรือให้เคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด เพื่อให้อาการอักเสบลดลง และไม่ให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติม
  • I: Ice การใช้ความเย็นประคบบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เพื่อลดอาการปวด บวม และการอักเสบ
  • C: Compression การพันมัดโดยใช้ผ้ายืดที่เป็นอุปกรณ์พันในบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เพื่อลดอาการปวด และป้องกันการอักเสบเพิ่มเติม
  • E: Elevation การยกบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บขึ้นสูง ช่วยลดอาการบวม หรือปวดได้ โดยปกติจะแนะนำให้ยกบริเวณที่บาดเจ็บ เช่น ขา หรือ แขน สูงกว่าระดับหัวใจ
  • D: Diagnosis การส่งพบแพทย์หรือสถานพยาบาล เพื่อวินิจฉัยอย่างชัดเจนเพื่อวางแผนการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

> กลับสารบัญ


อันดับที่สาม การวางแผนการรักษาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย

วัตถุประสงค์ ของการรักษา คือ ทำให้นักกีฬา หรือ ผู้ที่ออกกำลังกายกลับไปเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้ตามปกติ จะต้องรู้ถึงการวินิจฉัยที่ชัดเจนว่าการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นเป็นอะไรจะนำไปสู่การวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง รวมไปถึงการฟื้นฟูศักยภาพหลังจากการรักษา อาทิ ในกรณีการผ่าตัดหลังจากนั้นก็จะมีการฟื้นฟูศักยภาพของนักกีฬาหรือผู้ออกกำลังกายให้กลับไปเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้ตามปกติ

> กลับสารบัญ


แนวทางการรักษาโดยใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องช่วยในการผ่าตัด



กลุ่มนักกีฬา หรือ ผู้ที่ออกกำลังกาย จะมีการบาดเจ็บเกิดขึ้นได้เรื่อย ๆ ในการรักษาจะมีการใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery) เป็นเทคโนโลยีในการผ่าตัดแผลเล็ก สามารถเจาะรูที่มีขนาดเพียง 0.8-1.0 ซม. แล้วใช้กล้องขนาด 4 มิลลิเมตรส่องเข้าไปดูภายในข้อ หากพบความผิดปกติที่สามารถผ่าตัดได้ แพทย์จะเจาะรูเพิ่มอีกเพื่อใส่เครื่องมือผ่าตัด ขณะผ่าตัดสามารถต่อกล้องเข้ากับจอภาพ และบันทึกภาพได้ มีข้อดีตรงที่เมื่อแผลมีขนาดเล็ก การบาดเจ็บของเนื้อเยื้อโดยรอบก็จะน้อยลง ส่งผลให้ระยะเวลาในการพักฟื้นทำได้เร็วขึ้น นักกีฬาสามารถกลับมาฟื้นฟูศักยภาพร่างกายได้อย่างรวดเร็ว

การใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery) ในปัจจุบันสามารถรักษาการบาดเจ็บของข้อและเอ็น เช่น การบาดเจ็บเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า การบาดเจ็บหมอนรองข้อเข่า รวมไปถึงการรักษาข้อไหล่ ในกรณีที่ได้รับการบาดเจ็บเส้นเอ็นข้อไหล่ หรือไหล่มีการหลุด ทั้งนี้ การรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง เป็นเทคโนโลยีที่ทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธนนำมาใช้ในการรักษาเพื่อให้ได้ผลของการรักษาที่ดี และลดระยะเวลาการพักฟื้น สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพได้เร็วยิ่งขึ้น

> กลับสารบัญ


ผู้ที่รับการผ่าตัดส่องกล่องจะกลับมาเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้เหมือนเดิมไหม

หลังการรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล่อง นักกีฬาหรือผู้ออกกำลังกายจะสามารถกลับไปเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้ตามสมรรถภาพเดิม ทั้งนี้นอกจากเทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล่องแล้ว ส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเองว่าจะฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของตัวองได้มากน้อยแค่ไหน โดยส่วนใหญ่หลังการผ่าตัดและฟื้นฟูสมรรถภาพแล้ว จะกลับไปเล่นกีฬาได้ตามปกติ หรือ บางคนอาจจะดีกว่าปกติด้วย

ทั้งนี้ เมื่อก่อนอาจจะได้ยินว่าเจ็บต้องซ้ำ ปัจจุบันด้วยข้อมูลหรือความรู้ด้านเวชศาสตร์การกีฬาได้มีการทราบข้อมูลที่ชัดเจนแล้วว่า เมื่อเรามีการบาดเจ็บ เราต้องพัก เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดการบาดเจ็บ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การประเมินการบาดเจ็บที่ดี มีการป้องกัน ลดการอักเสบ ลดการปวดให้เรียบร้อย ไม่ใช่ไปเล่นกีฬาซ้ำ ไม่ใช่ไปเพิ่มการบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น ก็จะทำให้การรักษายากขึ้น การฟื้นฟูนานขึ้น

> กลับสารบัญ


หากคุณกำลังประสบปัญหากับเอ็นหัวไหล่-หัวเข่า ฉีกขาด กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน รักษามาหลายวิธีแต่ก็ยังไม่หาย ต้องการหาแนวทางรักษาเพิ่มเติม สามารถเข้ามาปรึกษาทีมแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ ที่โรงพยาบาลนครธน โดยส่งข้อมูลข้างล่างได้เลย




ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย