ในปัจจุบันคนหันมาสนใจการดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การนอนหลับพักผ่อนให้ตรงเวลา หรือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากการดูแลสุขภาพในข้างต้นแล้ว การตรวจสุขภาพก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยสร้างสุขภาพที่ดีได้ แต่คนส่วนใหญ่กลับละเลยการตรวจสุขภาพไป โดยอ้างว่าไม่มีเวลา หรือมีความกลัวจากความไม่รู้และไม่เข้าใจว่าการตรวจแต่ละอย่างนั้นมีประโยชน์อย่างไร มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ไปทำความเข้าใจในเรื่องนี้กัน
ทำไมเราต้องตรวจสุขภาพ
ถึงแม้ว่าภายนอกของเรานั้นจะมีสุขภาพที่ดีแต่ภายในร่างกายหรืออวัยวะของเราอาจไม่ได้เป็นแบบนั้น บางคนอาจจะไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคร้าย ดังนั้นการตรวจสุภาพอย่างน้อยปีละครั้ง จะช่วยตรวจหาความเสี่ยงในการเกิดโรคที่อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันได้สังเกต จะทำให้ได้รู้ว่าร่างกายของตัวเองมีโรคใดที่ซ่อนอยู่หรือไม่ หรือหากตรวจพบความผิดปกติจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการป้องกันความผิดปกติภายในที่เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บป่วย หรือโรคร้ายที่อาจทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในอนาคต
การตรวจสุขภาพพื้นฐานมีอะไรบ้าง
การตรวจสุขภาพพื้นฐาน คือ การค้นหาอาการของความเจ็บป่วย ภาวะผิดปกติ หรือโรคที่อาจเกิดขึ้นภายในร่างกาย โดยแบ่งได้หลัก ๆ เป็นการตรวจปัสสาวะ การตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการอัลตราซาวด์ ดังนี้
1. เลือดกับปัญหาสุขภาพ
เซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นองค์ประกอบสำคัญในร่างกายมนุษย์ มีหน้าที่ในการลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยการเจาะเลือดนำไปตรวจเพียงหนึ่งหลอด หรือประมาณ 8-10 มิลลิลิตร ก็สามารถระบุค่าต่างๆ ได้มากมาย เช่น
- ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
- ระดับน้ำตาลในเลือด
- ระดับไขมัน
- การทำงานของตับ, ไต
- ระดับกรดยูริกในเลือด
- การทำงานของต่อมไทรอยด์
- สารบ่งชี้มะเร็งชนิดต่างๆ
2. ตรวจปัสสาวะหาความผิดปกติ
การตรวจปัสสาวะนับเป็นการตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐานทางการแพทย์ ที่จะแสดงถึงค่าของ ความเป็นกรด-ด่าง ความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะ โปรตีนในปัสสาวะ น้ำตาลในปัสสาวะ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือตะกอนต่างๆ ในปัสสาวะ ซึ่งสามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคในทางเดินปัสสาวะเช่น นิ่ว โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ รวมถึงช่วยบ่งชี้โรคไตบางชนิดอีกด้วย
3. เอกซเรย์ปอด
ท่ามกลางการระบาดของเชื้อโควิด-19 หลายท่านป่วยเป็นโรคโควิดแต่ไม่ได้ทำการเอกซเรย์ปอด รู้หรือไม่ว่าแม้จะหายจากการเป็น โควิด ปอดของคุณก็อาจจะมีร่องรอยของโรคที่เกิดขึ้นจากการเป็นโควิดอยู่ซึ่งอาจทำให้คุณกลับมาเป็นไข้ใหม่อีกครั้ง หรือมีอาการหายใจไม่ทันได้ การเอกซเรย์ปอดคือการฉายรังสีเอกซ์ที่บริเวณทรวงอก ซึ่งจะช่วยบอกถึงร่องรอยของโรคภายในปอดได้ นอกจากนี้การเอกซเรย์ปอดยังสามารถบ่งบอกถึงโรคที่เกิดกับหัวใจ เช่น หัวใจโต ได้อีกด้วย
4. โรคหัวใจอันตรายกว่าที่คิด
โดยปกติแล้วการทำงานของหัวใจนั้นเกิดจากการถูกกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า ซึ่งหากกระแสไฟฟ้าที่คอยควบคุมการทำงานของหัวใจนั้นผิดพลาดจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติได้ โดยในปี พ.ศ. 2566 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจมากถึง 17.9 ล้านคน หรือเฉลี่ย 2 คนต่อ 1 ชั่วโมง (อ้างอิงจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) ดังนั้นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจยังสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัยอีกด้วย
5. การอัลตราซาวด์ในช่องท้อง
การอัลตราซาวด์ เป็นการวินิจฉัยโรคโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสะท้อนให้เกิดภาพของอวัยวะภายในต่างๆ ที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งโดยทั่วไปการอัลตราซาวด์ช่องท้องจะถูกแบ่งออกเป็น
- การอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน ได้แก่ ตับ ตับอ่อน ม้าม ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ไต และช่องท้องทั่วไป
- การอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง ได้แก่ มดลูก ปีกมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ และบริเวณช่องท้องส่วนล่างอื่นๆ
ถึงแม้จะดูแลตนเองเป็นอย่างดีแล้ว การตรวจสุขภาพก็ยังเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ เพราะการตรวจสุขภาพนั้นไม่ใช่แค่ช่วยตรวจหาความเสี่ยงในการเกิดโรคโดยที่เราไม่สังเกต แต่ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิต การวางแผนการรักษาและการวางแผนการป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งการตรวจสุขภาพยังจะได้คำแนะนำของการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลอีกด้วย ทั้งนี้โรงพยาบาลนครธนพร้อมให้บริการตรวจสุขภาพ และปรึกษาปัญหาสุขภาพกับแพทย์เฉพาะทางที่ศูนย์สุขภาพนครธน ชั้น 11 โรงพยาบาลนครธน
ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
บทความทางการแพทย์ศูนย์สุขภาพนครธน