ห่างไกลโรคอุจจาระร่วงในเด็กจากไวรัสโรต้า ด้วย “วัคซีนโรต้า”

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพเด็ก

บทความโดย : นพ. ศราวุธ ตั้งมานะกุล

ไวรัสโรต้า

พ่อแม่มือใหม่หลายๆ คน ขาดความรู้เท่าทันเชื้อไวรัสโรต้าและความรุนแรงของโรค อาจคิดว่าอาการท้องเสีย หรืออุจจาระร่วงเป็นโรคปกติที่เกิดขึ้นทั่วไปที่คนเมืองร้อนต้องประสบกันอยู่แล้ว แต่แท้จริงแล้วกลับไม่เป็นอย่างที่คิดไว้ ทำให้ขาดการเตรียมตัวและไม่สามารถปกป้องลูกน้อยได้อย่างถูกวิธี ซึ่งเชื้อไวรัสโรต้านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของโรคอุจจาระร่วงในเด็ก คิดเป็นร้อยละ 30-60 ของไวรัสทั้งหมดที่เป็นสาเหตุของอุจจาระร่วง ทำให้ต้องนอนโรงพยาบาล พบบ่อยในเด็ก 6 เดือน ถึง 2 ปี และที่สำคัญ คือเด็กทุกคนมีโอกาสติดเชื้อชนิดนี้


รู้จัก...ไวรัสโรต้า

ไวรัสโรต้า (Rotavirus) คือเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการอาเจียน และอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง ซึ่งมักพบในเด็กทารก และเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ โดยเด็กทุกคนมีโอกาสติดเชื้อไวรัสโรต้าได้อย่างน้อย 1 ครั้งก่อนอายุ 5 ขวบ เชื้อไวรัสตัวนี้นี้ระบาดได้ตลอดทั้งปีและพบมากขึ้นในช่วงฤดูหนาว และเชื้อพบได้ในอุจจาระของเด็กที่เป็นโรค

> กลับสารบัญ


ไวรัสโรต้าติดต่อได้อย่างไร

เชื้อไวรัสโรต้า ติดต่อได้ผ่านทางปาก ผ่านการกิน เช่น การกินนม กินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยเชื้อโรคนี้จะแฝงตัวอยู่ตามสิ่งของ ของเล่น ทั้งนี้เชื้อไวรัสโรต้านี้จะมีชีวิตอยู่เป็นเวลาหลายวัน เมื่อลูกน้อยนำสิ่งของที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่เข้าปาก ก็จะทำให้เชื้อนี้เข้าสู่ร่างกาย จะส่งผลให้เด็กมีอาการไข้ ท้องเสีย อาเจียน ซึ่งไวรัสโรต้านั้นมีหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์หลักที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในเด็กทั่วโลกมากกว่า 95% มักเกิดจากสายพันธุ์ G1, G2, G3, G4, G9

> กลับสารบัญ


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

อาการเมื่อติดเชื้อไวรัสโรต้า

โรคนี้มีระยะฟักตัวประมาณ 1-3 วัน เด็กจะมีอาการไข้ ปวดท้อง อาเจียนและถ่ายเป็นน้ำ อาการไข้และอาเจียนมักพบมากใน 2-3 วันแรก รวมระยะเวลาของโรคประมาณ 3-8 วัน และในรายที่มีอาการรุนแรงมากอาจส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ จนอาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตของเด็กได้ในรายที่เป็นมากๆ

> กลับสารบัญ


ห่างไกลโรคด้วยการป้องกัน

สำหรับวิธีการป้องกันลูกน้อยให้ห่างไกลจากอาการอุจาระร่วงจากไวรัสโรต้า แนะนำให้พ่อแม่หมั่นทำความสะอาดของเล่นรวมถึงบริเวณห้องนั่งเล่น และรักษาความสะอาดทั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย รวมถึงดูแลอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ นอกจากนี้ควรหมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนอุ้มหรือสัมผัสกับลูกน้อย พร้อมกับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพราะนมแม่จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็กได้ในระดับนึง

> กลับสารบัญ


ปกป้องลูกน้อยด้วย “วัคซีนโรต้า”

สิ่งสำคัญในการปกป้องลูกน้อยอีกวิธี คือ การพาลูกมารับการหยอดวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า ซึ่งถือเป็นวิธีป้องกันโรคที่ดีที่สุดในปัจจุบัน โดยการหยอดวัคซีนโรต้าสามารถป้องกันได้ร้อยละ 70-90 ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันได้เร็วเท่าไร ก็ยิ่งเป็นการเสริมเกราะป้องกันให้เด็กห่างไกลจากโรคร้ายนี้เร็วขึ้น

วัคซีนโรต้า สามารถให้โดยการหยอดทางปาก โดยทารกควรได้รับวัคซีน 2 หรือ 3 ครั้ง ขึ้นกับยี่ห้อของวัคซีนที่ได้รับ ทั้งนี้วัคซีนโดสแรกควรได้รับก่อนอายุ 15 สัปดาห์ และวัคซีนโดสสุดท้ายควรได้รับก่อนอายุ 8 เดือน

  • หากเป็นวัคซีนชนิดหยอด 2 ครั้ง ควรได้รับที่อายุ 2 เดือน และ 4 เดือน
  • หากเป็นวัคซีนชนิดหยอด 3 ครั้ง ควรได้รับที่อายุ 2 เดือน, 4 เดือน, และ 6 เดือน

> กลับสารบัญ



ใครบ้างไม่ควรรับหรือเลื่อนรับวัคซีนโรต้า

วัคซีนโรต้าไม่ควรให้ในเด็กที่มีอายุเกินกว่าที่แนะนำ และเด็กที่มีภาวะดังต่อไปนี้ไม่ควรรับวัคซีน

  • เคยแพ้วัคซีนในการให้ครั้งก่อน
  • มีอาการท้องร่วง อาเจียน หรือปัญหาทางระบบทางเดินอาหารอยู่ ควรรอให้หายก่อน
  • มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • เคยมีภาวะลำไส้กลืนกัน
  • หากมีไข้ไม่สบายควรเลื่อนการรับวัคซีนไปก่อน ควรรอให้หายป่วยก่อน จึงมารับวัคซีนกรณีเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถรับวัคซีนได้

> กลับสารบัญ


ทั้งนี้ด้านอาการข้างเคียงหลังจากเด็กได้รับวัคซีนโรต้า อาจมีอาการท้องร่วงหรืออาเจียนภายใน 7 วันหลังรับวัคซีนได้ แต่อาการจะมีเพียงเล็กน้อยและมีโอกาสพบน้อย ไม่พบทำให้เกิดอาการข้างเคียงรุนแรง แต่หากพบว่าอาการข้างเคียงรุนแรง หรือเป็นมาก ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที และบอกอาการให้แพทย์ทราบโดยละเอียด ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยสามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้เลย



นพ.ศราวุธ ตั้งมานะกุล นพ.ศราวุธ ตั้งมานะกุล

นพ.ศราวุธ ตั้งมานะกุล
กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ศูนย์สุขภาพเด็ก

นัดหมายแพทย์

ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย