อาการปวดไหล่ เจ็บไหล่ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นเรื้อรัง

ศูนย์ : ศูนย์กระดูกและข้อ

บทความโดย : นพ. นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์

อาการปวดไหล่ เจ็บไหล่ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นเรื้อรัง

ข้อไหล่ เป็นข้อที่สำคัญของร่างกายไม่แพ้กับข้อเข่าเลยทีเดียว เพราะเป็นข้อที่สามารถเคลื่อนไหวได้ทุกทิศทาง และมีความคล่องตัวมาก มีการทำงานร่วมกันของส่วนประกอบต่าง ๆ ทำให้เราสามารถเคลื่อนไหว หรือใช้งานแขนของเราในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ หากข้อไหล่เกิดการบาดเจ็บหรือไม่สามารถใช้ได้ อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นหากคุณมีอาการเจ็บหรือปวดข้อไหล่เกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจวินิจฉัย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นเรื้อรัง


อาการปวดไหล่ เกิดจากสาเหตุใดบ้าง?

  • การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อฉีดขาด เส้นเอ็นฉีกขาด กระดูกหัก หรือข้อเคลื่อน
  • การใช้ข้อไหล่อย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการอับเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อข้อไหล่ฉีกขาด
  • การเสื่อมตามธรรมชาติของกระดูก กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งพบในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค
  • โรคข้ออับเสบที่มีข้อไหล่อับเสบร่วมด้วยได้ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ เป็นต้น
  • เส้นเอ็นอับเสบ และมีแคลเซียมมาเกาะ ซึ่งเมื่อ X-ray จะเห็นหินปูนสีขาวบริเวณรอบข้อไหล่
  • ถุงน้ำข้อไหล่อับเสบ
  • อาการปวดไหล่ซึ่งเป็นผลของอาการปวดร้าวมาจากที่อื่น หรือการอับเสบบริเวณใกล้เคียง เช่น กระดูกคอเสื่อม กล้ามเนื้อหลังอับเสบ เส้นประสาทเบรเคียลอับเสบ ถุงน้ำดีอับเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคตับ โรคมะเร็ง เป็นต้น
  • ข้อไหล่ติดแข็ง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เมื่อมีอาการปวดไหล่จากสาเหตุใดก็ตาม ผู้ป่วยก็จะไม่เคลื่อนไหวข้อไหล่ เมื่อข้อไหล่ไม่เคลื่อนไหวในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก็จะเกิดพังผืดแทรกในข้อและเนื้อเยื่อรอบข้อไหล่ นอกจากนี้ยังทำให้กล้ามเนื้อจะอ่อนแรง และลีบเล็กลงทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก

> กลับสารบัญ


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

การรักษาอาการปวดไหล่

ในระยะเจ็บปวดเฉียบพลันควรหยุดพักการใช้ข้อไหล่ โดยงดยกของหนัก งดเคลื่อนไหวแขนหรือไหล่ในท่าที่ทำให้ปวด อาจใช้ผ้าคล้องแขนไว้แต่ไม่ควรหยุดใช้ไหล่เกิน 2-3 วัน เพราะจะทำให้เกิดภาวะข้อไหล่ติดแข็ง

  • การประคบด้วยความเย็นในขณะที่มีอาการปวดรุนแรง ปวดเฉียบพลัน ความเย็นจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
  • การประคบด้วยความร้อน โดยใช้ถุงน้ำร้อน ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นใช้ในกรณีที่มีอาการปวดไม่รุนแรง จะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
  • รับประทานยาบรรเทาอาการปวด ยาแก้ปวดลดการอับเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การทำกายภาพบำบัดในระยะที่ยังมีอาการปวด การบริหารด้วยการเคลื่อนไหว ทำโดยใช้แขนข้างที่ไม่มีอาการช่วยขยับแขนที่มีอาการเ ท่าที่ร่างกายทนเจ็บปวดได้ หรือให้นักกายภาพบำบัดทำกายภาพบำบัดให้ด้วยการดัดข้อ อบนวดด้วยคลื่นเสียงอัลตราน
  • การผ่าตัด จะกระทำเมื่อให้การรักษาไประยะหนึ่งแล้วอาการไม่ดีขึ้น ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการฉีกขาดของเอ็น หรือกล้ามเนื้อ

> กลับสารบัญ


การบริหารข้อไหล่ (กรณีข้อไหล่ติด)

1. ท่าหมุนข้อไหล่
ท่าบริหารข้อไหล่ หมุนข้อไหล่ ยืนก้มหลังลงเล็กน้อย (อาจใช้มืออีกข้างจับโต๊ะเพื่อช่วยพยุงตัว) หรือนอนคว่ำอยู่บนเตียงแล้วปล่อยแขนห้อยลงตรงๆ ค่อยๆ หมุนแขนเป็นวงกลม ให้หมุนเป็นวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ หมุนประมาณ 10 รอบแล้วพักทำซ้ำ 10 รอบ
2. ท่าเคลื่อนไหวไหล่ทุกทิศทาง
ท่าบริหารข้อไหล่ เคลื่อนไหวไหล่ทุกทิศทาง 01 2.1 ยกแขนไปด้านหน้า ข้อศอกเหยียดตรง ยกสูงจนเสมอหัวไหล่ ค้างไว้นับ 1-10 ทำซ้ำ 10 รอบ
ท่าบริหารข้อไหล่ เคลื่อนไหวไหล่ทุกทิศทาง 02 2.2 ยกแขนไปด้านหลัง ข้อศอกเหยียดตรง ยกสูงมากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 ทำซ้ำ 10 รอบ
ท่าบริหารข้อไหล่ เคลื่อนไหวไหล่ทุกทิศทาง 03 2.3 ยกแขนไปด้านข้าง ข้อศอกเหยียดตรง กางแขนให้มากที่สุดจนเสมอไหล่ ค้างไว้นับ 1-10 แล้วหุบแขนจนลงแนบลำตัวทำซ้ำ 10 รอบ
ท่าบริหารข้อไหล่ เคลื่อนไหวไหล่ทุกทิศทาง 04 2.4 หุบแขนแนบลำตัว งอข้อศอกตั้งฉากให้มือชี้ตรงไปข้างหน้า แล้วหมุนไหล่ให้แขนบิดหมุนออกมากที่สุด ค้างไว้ 1-10 แล้วหมุนไหลให้แขนบิดหมุนเข้ามากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 ทำสลับกัน 10 รอบ
3. ท่าชักรอก
ท่าบริหารข้อไหล่  ท่าชักรอก นำเชือกคล้องผ่านรอกเหนือศีรษะทางด้านหน้า ใช้มือจับปลายเชือกทั้งสองข้าง แล้วใช้แขนข้างที่ไม่ปวดดึงเชือกลง เพื่อยกแขนข้างที่ปวดขึ้นให้ยกสูงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วค่อยๆ หย่อนเชือกลงทำซ้ำ 10 รอบ
4. ท่ายกไม้
ท่าบริหารข้อไหล่  ท่ายกไม้ เริ่มต้นโดยใช้ไม้พลองที่หนักพอสมควรยาวประมาณ 2-3 ฟุต และถือได้ถนัด ยืนแขนและเหยียดข้อศอกตรงไปข้างหน้า ใช้มือทั้งสองข้างจับไม้พลองโดยให้แขนทั้งสองข้างขนานกัน
5. ท่านิ้วไต่ผนัง
ท่าบริหารข้อไหล่ ท่านิ้วไต่ผนัง 5.1 ยืนหันหน้าเข้าผนังห่างจากผนังประมาณ 1 ฟุต เอามือวางที่ผนังแล้วใช้นิ้วไต่ผนังขึ้นไปเรื่อยๆ ให้สูงมากที่สุดเท่าที่จะทนปวดได้ ทำซ้ำ 10 ครั้งทำเครื่องหมายไว้ วันต่อมาพยายามทำให้สูงกว่าเดิม อย่าเขย่งหรือเอียงตัว
ท่าบริหารข้อไหล่ ท่านิ้วไต่ผนัง 5.2 ยืนหันข้างเข้าผนังห่างประมาณ 1 ฟุต เอามือที่วางผนังแล้วใช้นิ้วไต่ผนังขึ้นไปเรื่อยๆ ให้สูงมากที่สุดเท่าที่จะทนปวดได้ทำซ้ำ 10 ครั้งทำเครื่องหมายไว้ วันต่อมาก็พยายามทำให้สูงกว่าเดิม อย่าเขย่งหรือเอียงตัว
6. ท่าใช้ผ้าถูหลัง
ท่าบริหารข้อไหล่ ท่าใช้ผ้าถูหลัง ใช้มือจับผ้าขนหนูหรือผ้าขาวม้าทางด้านหลัง โดยใช้มือข้างหนึ่งอยู่ด้านล่างและอีกข้างด้านบน ใช้มือที่อยู่ด้านบนดึงผ้าขึ้นให้มากที่สุดค้างไว้นับ 1- 10 แล้วสลับใช้มือด้านล่างดึงผ้าลงให้มากที่สุดค้างไว้นับ 1-10 ทำ 10 รอบ และทำสลับกัน โดยให้มือที่อยู่ข้างบนเปลี่ยนมาจับปลายผ้าด้านล่าง และมือด้านล่างจับผ้าด้านบนแทน ใช้มือด้านบนดึงผ้าขึ้นให้มากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 ทำ 10 รอบ
7. การใช้ก้อนน้ำหนัก
ท่าบริหารข้อไหล่ การใช้ก้อนน้ำหนัก จากท่าหมุนข้อไหล่ให้ถือก้อนน้ำหนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม ปล่อยแขนลงตามสบายเหวี่ยงแขนไปข้างหน้า ข้างหลัง และหมุนเป็นวงกลมให้ได้ระยะทางมากที่สุด ทำ 20 รอบ วันละครั้ง การถือก้อนน้ำหนักนี้จะช่วยถ่วงแขนลงทำให้กล้ามเนื้อในข้อยึดและคลายตัวลง

> กลับสารบัญ



การบริหารข้อไหล่ควรเริ่มทำภายหลังจากอาการปวดเริ่มทุเลาลง แล้วเริ่มด้วยจำนวนครั้งน้อยๆ และทำในท่าแรกๆ ก่อนถ้าไม่ปวดก็ค่อยทำจนครบทั้งหมด การรักษาอาการปวดไหล่อาจต้องใช้เวลาในการรักษา และต้องอาศัยการบริหารข้อไหล่อย่างเสมอ ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ผู้ทำการรักษาอย่างเคร่งครัดเพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย