โรคฝีดาษลิง สิ่งที่คุณควรรู้
ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพนครธน
โรคฝีดาษลิง หรือ โรคฝีดาษวานร (Mpox) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัส Monkeypox ที่อยู่ในกลุ่ม Orthopoxvirus ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวที่ใกล้เคียงกับโรคฝีดาษหรือโรคไข้ทรพิษ แม้ว่าชื่อจะฟังดูน่ากลัว แต่โรคนี้มักไม่รุนแรงเท่าโรคฝีดาษ โดยผู้ป่วยจะมีไข้ ร่วมกับมีตุ่มผื่นตุ่มหนองทั่วตัว และต่อมน้ำเหลืองโต ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าว หรือพบอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
สารบัญ
โรคฝีดาษลิง สิ่งที่คุณควรรู้
โรคฝีดาษลิง หรือ โรคฝีดาษวานร (Mpox) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัส Monkeypox ที่อยู่ในกลุ่ม Orthopoxvirus ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวที่ใกล้เคียงกับโรคฝีดาษหรือโรคไข้ทรพิษ แม้ว่าชื่อจะฟังดูน่ากลัว แต่โรคนี้มักไม่รุนแรงเท่าโรคฝีดาษ โดยผู้ป่วยจะมีไข้ ร่วมกับมีตุ่มผื่นตุ่มหนองทั่วตัว และต่อมน้ำเหลืองโต ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าว หรือพบอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
โรคฝีดาษลิง ติดต่อได้ทางไหน
ปัจจุบันมีการระบาดของ โรคฝีดาษลิง สายพันธุ์ Clade 1 ที่กำลังแพร่กระจายในหลายประเทศ ซึ่งสายพันธุ์นี้ มีความรุนแรงมากกว่า สายพันธุ์ Clade 2 ที่เคยระบาดเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา โรคฝีดาษลิง สามารถเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อจากสัตว์มาสู่คน และมีการติดต่อจากคนสู่คนด้วยเช่นกัน โดยการติดต่อจาก
- การสัมผัสผิวหนังที่มีรอยโรค (ผื่น) สามารถแพร่เชื้อสัมผัสบริเวณที่ผู้ติดเชื้อ สัมผัสหรือใช้ เช่น เสื้อผ้าผ้าปูที่นอน หรือ ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ ลมหายใจ และ ละอองฝอยจากการสัมผัสแบบเผชิญหน้าเป็นเวลานาน
- ติดต่อผ่านการสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
- การติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- การถ่ายทอดทางตรงจากแม่ที่ตั้งครรภ์ ถึงทารกในครรภ์ได้
- การสัมผัสกับหยดละอองหรือน้ำลายที่ออกมาจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยขณะไอหรือจาม (น้อยกว่าวิธีอื่น)
อาการของโรคฝีดาษลิง
ระยะฟักตัวของโรคฝีดาษลิงจะอยู่ที่ประมาณ 3-21 วัน นับตั้งแต่วันที่สัมผัสเชื้อจนเริ่มแสดงอาการ โดยระยะเวลาในการฟักตัวอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งอาการของโรคฝีดาษลิงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะหลัก ได้แก่
- ระยะก่อนออกผื่น (ประมาณ 1-3 วัน หลังจากมีไข้)
- ไข้สูง เป็นอาการเริ่มแรกที่พบได้บ่อย
- ปวดศีรษะ อาจปวดมาก
- ต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ คอ และขาหนีบ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของโรคนี้
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รู้สึกอ่อนเพลีย
- ปวดหลัง
- ปวดกระบอกตา
- เจ็บคอ
- ระยะมีผื่น (ประมาณ 1-3 สัปดาห์)
- ผื่น เริ่มจากใบหน้าแล้วลามไปทั่วร่างกาย ผื่นจะมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับดังนี้
- ตุ่มแดง ตุ่มเล็กๆ สีแดง
- ตุ่มน้ำใส ตุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นและใส
- ตุ่มหนอง ตุ่มมีหนองอยู่ภายใน
- สะเก็ด ตุ่มแห้งและตกสะเก็ด
- จำนวนและขนาดของผื่น อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
- ตำแหน่งของผื่น มักพบที่ใบหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอวัยวะเพศ
การรักษาโรคฝีดาษลิง
ผู้ป่วยมักหายเองได้ภายใน 2-4 สัปดาห์ การรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่การให้ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาลดไข้ อาจมีการให้ยาต้านไวรัส โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ยา Tecovirimat, Cidofovir เป็นต้น
การป้องกันโรคฝีดาษลิง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัส สัตว์ป่าที่อาจเป็นพาหะของเชื้อ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัส ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงหรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ
- รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยการล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ
- แยกตัวจากผู้อื่น สวมหน้ากากอนามัย การระบายอากาศ ล้างมือบ่อยๆ
- สวมใส่หน้ากากอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก
- การฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิง แนะนำในประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย บุคลากรทางการแพทย์ วัคซีนที่ใช้ในประเทศไทยปัจจุบัน มีชื่อว่า JYNNEOS® โดยแนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 28 วัน และมีการให้วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิงอีกกรณีหนึ่ง คือการให้หลังสัมผัสโรค (PEP) โดยควรฉีดให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ภายใน 4 วัน หลังสัมผัสโรค และไม่ควรเกิน 14 วัน
หากไปในพื้นที่เสี่ยง หรือมีความเสี่ยงควรเฝ้าระวังและสังเกตอาการ 21 วันหลังกลับจากประเทศเขตติดโรค และรีบพบแพทย์ทันทีหากมีอาการผิดปกติ สามารถปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลจากแพทย์ออนไลน์ได้เลย
ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
บทความทางการแพทย์ศูนย์สุขภาพนครธน