มีลูกยาก เรื่องที่น่ากังวลสำหรับคู่แต่งงานที่อยากมีลูก

ศูนย์ : ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้

บทความโดย : นพ. องอาจ บวรสกุลวงศ์

มีลูกยาก

แม้ว่าภาวะมีลูกยากจะเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับคู่แต่งงานที่อยากมีลูก และลองมาแล้วสารพัดวิธีก็ไม่สำเร็จสักที แต่ก็มีวิธีการมากมายที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรักษาทางการแพทย์ หรือการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ซึ่งภาวะมีบุตรยากสามารถรักษาได้ เพียงแต่ต้องได้รับการวินิจฉัยและดูแลอย่างเหมาะสม โดยศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้ โรงพยาบาลนครธน มีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลรักษาผู้ที่มีลูกยาก อยากมีลูก พร้อมด้วยเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัยและหลากหลายทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาการมีลูกยากอย่างมีประสิทธิภาพ


สาเหตุของภาวะมีลูกยาก


มีลูกยากเกิดจากอะไร มีลูกยากเกิดจากอะไร

สาเหตุที่มีลูกยาก หรือภาวะการมีบุตรยากมีหลายสาเหตุ แต่จะแบ่งเป็นสาเหตุจาก 3 ฝั่งใหญ่ๆ คือ สาเหตุจากฝ่ายหญิงประมาณ 40% ฝ่ายชายประมาณ 40% และสาเหตุที่ไม่ทราบสาเหตุหรือมาจากทั้งหญิงและชายอีกประมาณ 10-20% ดังนี้

สาเหตุของภาวะมีลูกยากจากผู้ชาย

  • มีความผิดปกติของการสร้างอสุจิหรือมีความผิดปกติในการมีเพศสัมพันธ์ เช่น อวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือมีการไหลกลับของอสุจิเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ
  • คุณภาพน้ำเชื้อที่ไม่แข็งแรง

สาเหตุของภาวะมีลูกยากจากผู้หญิง

  • ประสบกับปัญหาภาวะรังไข่เสื่อมตามอายุที่มากขึ้น
  • มีเนื้องอกที่มดลูก ซึ่งอาจส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อนมีถุงน้ำรังไข่ หรือ “ถุงน้ำช็อกโกแลต” ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนไข่ในรังไข่ลดลงเมื่อเทียบกับปกติ
  • มีปัญหาเรื่องท่อนำไข่ตันหรือมีการตกไข่ผิดปกติ ซึ่งภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังหรือไม่ค่อยเหลือปริมาณไข่ในรังไข่แล้วจากที่อายุมาก

ภาวะมีลูกยากโดยไม่ทราบสาเหตุ (Unexplained Infertility)

สาเหตุมีลูกยาก โดยหากไม่มีสาเหตุแน่ชัด ทั้งจากฝ่ายหญิงและชายจะอาศัยการตรวจร่างกาย รวมทั้งจะมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติม คือ การตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด เพื่อหาความผิดปกติของมดลูก รังไข่ และฝ่ายชายก็ส่งตรวจอสุจิ ในบางกรณีอาจตรวจเลือดดูค่าฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยากด้วย หรือหากสงสัยภาวะท่อนำไข่ตัน ก็จะส่งเอกซเรย์ฉีดสีดูท่อนำไข่เพิ่มเติมต่อไป

> กลับสารบัญ


เมื่อไหร่ถึงควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาการมีลูกยาก

การมีลูกยาก หรือ Infertility คือ การที่คู่สามีภรรยาอยู่ร่วมกันเป็นเวลา 1 ปีแต่ไม่มีบุตร โดยที่มีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอคือประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นคู่สามีภรรยาที่ว่านี้ควรปรึกษาเรื่องการมีบุตร แต่ก็มีหลายกรณีที่อาจจำเป็นต้องรีบมาปรึกษาหรือทำการรักษาเช่น คู่ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ฝ่ายหญิงอาจมีโรคประจำตัว ประจำเดือนมาผิดปกติ ปวดประจำเดือนมาก เหล่านี้ก็น่าสงสัยจะเป็นกลุ่มที่มีบุตรยากโดยไม่ต้องรอให้ครบหนึ่งปี หรือบางครั้งจะมีการตรวจเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตรโดยการคัดกรองเบื้องต้น หาสาเหตุของฝ่ายชายและหญิงก่อนแต่งงานหรือก่อนมีบุตรได้

สัญญาณเตือนภาวะมีบุตรยาก อาการของผู้ชาย

  • มีปริมาณน้ำอสุจิน้อยกว่าปกติ
  • ไม่สามารถหลั่งอสุจิได้
  • หลั่งอสุจิย้อนกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ
  • อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
  • ปวดหรือบวมบริเวณอัณฑะ
  • มีก้อนเนื้อหรือความผิดปกติบริเวณอัณฑะ
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • มีขนตามร่างกายลดลง
  • มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง
  • มีน้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป

สัญญาณเตือนภาวะมีบุตรยากของผู้หญิง

  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือมาไม่ปกติ
  • ประจำเดือนมาน้อย หรือมามากเกินไป
  • ปวดประจำเดือนรุนแรง
  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง
  • เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีตกขาวผิดปกติ เช่น ตกขาวมีสี หรือมีกลิ่นเหม็น
  • มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
  • มีขนขึ้นตามร่างกายมากผิดปกติ
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว ผมขาด หลุดร่วง ผมบาง
  • ไม่มีอารมณ์ทางเพศ

> กลับสารบัญ


การตรวจวินิจฉัยภาวะมีลูกยาก

มีลูกยาก ทํายังไง มารับการตรวจภาวะการมีลูกยาก ที่ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้ โรงพยาบาลนครธน เพื่อค้นหาสาเหตุของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสมและตรงจุด โดยเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติคู่สมรส ตรวจร่างกาย ตลอดจนการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น ตรวจเลือด ตรวจหาพันธุกรรมธาลัสซีเมีย ตรวจปัสสาวะ ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น นอกจากนั้นจะมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติมดังนี้

การตรวจภาวะมีลูกยากของผู้ชาย

การตรวจภาวะมีลูกยากของผู้ชายจะเป็นการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อหรือตรวจสเปิร์ม (Semen Analysis) เป็นการตรวจเพื่อดูปริมาณตัวอสุจิใน น้ำเชื้อ ความเร็วในการเคลื่อนไหวอสุจิ ขนาด รูปร่าง และความสมบูรณ์ของอสุจิ


การตรวจภาวะมีลูกยากของผู้หญิง

การตรวจภาวะมีลูกยากของผู้หญิงหรือ ภาวะมีบุตรยาก คือ การตรวจด้วยวิธีการอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกรานสตรี (Pelvic Ultrasound) ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของมดลูก รังไข่ และตรวจฮอร์โมนที่สำคัญ อาทิ

  • AMH ฮอร์โมนที่บ่งบอกการทำงานของรังไข่ เพื่อประเมินว่าการทำงานรังไข่อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่
  • TSH ฮอร์โมนที่ตรวจเพื่อดูความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ว่าทำงานเป็นปกติและสมดุลหรือไม่
  • PROLACTIN ฮอร์โมนที่มีส่วนในการกระตุ้นการทำงานของรังไข่ หากมีสูงเกินไป อาจยับยั้งวงจรการตกไข่
  • FSH ฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่ และมีผลโดยตรงต่อการมีรอบเดือน

> กลับสารบัญ


วิธีการที่ช่วยรักษาภาวะมีลูกยาก


อิ๊กซี่ นครธน อิ๊กซี่ นครธน

ภาวะมีลูกยาก สามารถรักษาหลายวิธี โดยศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้ โรงพยาบาลนครธน จะพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย เช่น การรักษาด้วยยา การผ่าตัด การช่วยตั้งครรภ์ด้วยวิธีทางการแพทย์ IUI การฝากไข่ และการช่วยตั้งครรภ์โดยเทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น เด็กหลอดแก้ว (IVF) การทำอิ๊กซี่ (ICSI)

IVF

การทำเด็กหลอดแก้ว โดยการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF : In Vitro Fertilisation) โดยการนำอสุจิหลาย ๆ ตัว มาใส่รวมกับไข่บนจานทดลอง และปล่อยให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่เอง ซึ่งเป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย


ICSI

การช่วยปฏิสนธิโดยวิธีฉีดอสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่ (ICSI, Intracytoplasmic sperm injection) คือ การคัดเอาตัวอสุจิที่มีความแข็งแรงที่สุดและเคลื่อนที่ดี 1 ตัว ผสมกับไข่แบบเจาะจงด้วยเข็มขนาดเล็ก แล้วใช้เข็มนั้นเจาะเข้าไปในไข่ฟองเดียวและฉีดอสุจิที่อยู่ในเข็มเข้าไปในไข่ ซึ่งเป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย


IUI

การฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก หรือ IUI (Intrauterine insemination) เป็นวิธีฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูกแทนการมีเพศสัมพันธ์กันเอง ซึ่งขั้นตอนนี้ก็เริ่มจากการทานยากระตุ้นไข่หรืออาจจะใช้ยาฉีดกระตุ้นไข่ โดยน้ำอสุจิจะได้รับการเตรียมก่อนฉีด เพื่อล้างเอาเซลล์เม็ดเลือดขาวอสุจิที่ตาย และสารคัดหลั่งจากต่อมลูกหมากออก ทำให้ความเข้มข้นของอสุจิเพิ่มมากขึ้นก่อนใช้สายพลาสติกคล้ายหลอดนมยาวๆ นุ่มๆ สอดผ่านปากมดลูกและปล่อยเชื้ออสุจิเข้าไป

> กลับสารบัญ



ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

การดูแลตัวเองเพิ่มโอกาสสำเร็จในการมีลูก

คนที่อยากมีลูกขึ้นอยู่กับสาเหตุของการมีลูกยาก โดยทั่วไปคู่สมรสควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดเหล้าและบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การรักษาภาวะมีบุตรยากอย่างเหมาะสม

> กลับสารบัญ


มีลูกยาก ไม่ต้องกังวล มีหลายวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสการมีลูก

สำหรับคู่รักที่มีลูกยาก ท้องยาก แต่ไม่ท้องซักที ไม่ว่าจะลองวิธีไหนก็ตาม บางทีอาจกำลังมีปัญหาในเรื่องของสุขภาพได้ แนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ที่ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้ โรงพยาบาลนครธน เพื่อรับตรวจเช็กสุขภาพ วางแผนการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากได้อย่างตรงจุด เพราะปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์มีหลายวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการมีลูก พร้อมด้วยเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัยและหลากหลายทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาการมีลูกยากอย่างมีประสิทธิภาพ

> กลับสารบัญ


ช่องทางติดต่อโรงพยาบาลนครธน:

  1. - Website : https://www.nakornthon.com
  2. - Facebook : Nakornthon Hospital
  3. - Line : @nakornthon
  4. - Tel: 02-450-9999 (ตลอด 24 ชั่วโมง)


นพ.องอาจ บวรสกุลวงศ์ นพ.องอาจ บวรสกุลวงศ์

นพ.องอาจ บวรสกุลวงศ์
สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา/เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิ

นัดหมายแพทย์

ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย




Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย