การทดสอบภูมิแพ้ โดยการสะกิดผิวหนัง (Allergy Skin prick test)

ศูนย์ : ศูนย์ภูมิแพ้, ศูนย์สุขภาพเด็ก

บทความโดย : พญ. วราลี ผดุงพรรค

การทดสอบภูมิแพ้ โดยการสะกิดผิวหนัง (Allergy Skin prick test)

การทดสอบภูมิแพ้ โดยการสะกิดผิวหนัง (Skin Prick Test) เป็นหนึ่งในวิธีการทดสอบสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ (ชนิดเฉียบพลัน IgE-mediated) โดยทำที่ผิวหนัง ในผู้ใหญ่และเด็กโตมักทำบริเวณแขนท่อนล่างด้านใน ส่วนเด็กเล็กมักทำบริเวณแผ่นหลัง แพทย์จะหยดน้ำยาที่ต้องการทดสอบลงบนผิวหนัง แล้วใช้ปลายเข็มสะกิดเพื่อให้น้ำยาสามารถซึมเข้าสู่ใต้ผิวหนัง การสะกิดมักจะไม่มีบาดแผล รออ่านผล 15 นาที ถ้าท่านแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด จะเกิดปฏิกิริยา นูน บวม แดง คล้ายตุ่มยุงกัดของผิวหนังบริเวณตำแหน่งที่หยดน้ำยาชนิดนั้นๆ การทดสอบด้วยวิธีนี้ใช้ปริมาณน้ำยาก่อภูมิแพ้เพียงเล็กน้อย (ประมาณเม็ดถั่วเขียว) โอกาสที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงจนเป็นอันตรายนั้นมีน้อยมากว


ประโยชน์ของการทดสอบภูมิแพ้ โดยการสะกิดผิวหนัง

  • เพื่อค้นหาว่าโรคที่ผู้ป่วยเป็น มีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้หรือไม่
  • ทำให้ทราบว่าตนเองแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใดบ้าง และมากน้อยเพียงใด
  • ทำให้สามารถหลีกเลี่ยง หรือกำจัดสารก่อภูมิแพ้ที่ตนแพ้
  • หากจำเป็นต้องรักษาโดยการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ แพทย์จะใช้ผลการทดสอบภูมิแพ้ โดยการสะกิดผิวหนังนี้เป็นข้อมูลในการสั่งวัคซีนสำหรับฉีดให้ผู้ป่วย

การทดสอบภูมิแพ้โดยการสะกิดผิวหนัง เหมาะกับใคร?

  • ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นภูมิแพ้
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหืดตั้งแต่เด็ก
  • ตรวจได้ทุกคน แต่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป เนื่องจากผลการทดสอบจะแม่นยำมากกว่า

การทดสอบภูมิแพ้โดยการสะกิดผิวหนังไม่เหมาะกับใคร

ไม่แนะนำให้ทำการทดสอบภูมิแพ้ โดยการสะกิดผิวหนัง กับบุคคลต่างๆ ดังนี้

  • ในบุคคลที่เป็นผื่นผิวหนังอักเสบทั่วตัว
  • ไม่เหมาะกับเด็กที่ต่ำกว่า 6 เดือน เพราะผิวหนังของเด็กที่อายุน้อยกว่านี้มีความไวมากกว่า อาจส่งผลให้ผลตรวจผิดพลาดได้
  • สตรีมีครรภ์
  • ผู้ที่เกิดปฏิกิริยาทางผิวหนังได้ง่ายกว่าปกติ เช่น ผื่น ลมพิษเรื้อรัง
  • ผู้มีโอกาสเกิดปฏิกิริยารุนแรงจากสารก่อภูมิแพ้ เช่น มีประวัติแพ้อาหารรุนแรง

สำหรับผู้ที่ไม่สามารถทดสอบภูมิแพ้ โดยการสะกิดผิวหนัง เช่น เคยมีอาการแพ้รุนแรงมาก่อน มีผื่นมาก หรือมีบริเวณผิวที่ไม่เป็นโรคไม่มากพอจะทดสอบทางผิวหนังได้ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจด้วยวิธีเจาะเลือด


การเตรียมตัวก่อนการทดสอบ

1. งดยากลุ่มที่มีผลต่อการทดสอบ ได้แก่

  1. กลุ่มยาแก้แพ้ ยาที่มีส่วนผสมของยาแก้แพ้ ยาแก้หวัด ยาลดน้ำมูก ยาแก้คัน ยาแก้ลมพิษ ยาแก้ไอ อย่างน้อย 1 สัปดาห์ เช่น
    • CPM (Chlopheniramine)
    • Actifed (Nasolin)
    • Decolgen, Tiffy
    • Atarax (Hydroxyzine)
    • Telfast (Fexofenadine)
    • Dimetap
    • Clarityne (Loratadine)
    • Zyrtec (Cetirizine)
    • Benadryl
    • Xyzal (Levocetirizine)
    • Aerius (Desloratadine)
    • Clarinase
  2. กลุ่มยากล่อมประสาท ยานอนหลับ ยาแก้วิงเวียนหรือเมารถ อย่างน้อย 1-3 สัปดาห์ เ ช่น Ativan (Lorazepam), Diazepam, Amitriptyline, Phenothiazines, Immipramine
  3. กลุ่มยาสเตียรอยด์ หากมีการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดฉีดหรือรับประทานเป็นเวลานาน หรือใช้ยาทาเฉพาะที่ท ี่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์บริเวณผิวหนังที่จะทำการทดสอบ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน เพราะมีผลต่อการทดสอบได้
    หมายเหตุ :
    • กลุ่มยา Anti-leukotriene (Singulair, Montex) กลุ่มยาพ่น เช่น ยาพ่นจมูก (Intranasal corticosteroid) และยาพ่นรักษาโรคหืด (Inhaledbronchodilator and inhaled corticosteroid) ให้ใช้ต่อเนื่องไม่ต้องงดเว้นก่อนมาทำการทดสอบ
    • กลุ่มยาแก้ปวด ลดไข้ พาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นยาฆ่าเชื้อ ถ้าจำเป็นต้องใช้ไม่ต้องงด

2. แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่หลวมสบาย เสื้อแขนสั้น หรือไม่รัดแขน เพื่อความสะดวกในการทดสอบ

3. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ต้องแจ้งชื่อยาที่ใช้อยู่ให้แพทย์ทราบก่อนทดสอบ เพราะยาบางตัวอาจมีผลต่อการทดสอบ ควรพักผ่อนให้เพียงพอก่อนมาทำการทดสอบ ไม่ควรมีภาวะเจ็บป่วยในวันที่ทำการทดสอบ


ขั้นตอนการทดสอบ

  1. ทำความสะอาดผิวหนังที่ต้องการทดสอบโดยเช็ดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์
  2. รอให้แอลกอฮอล์แห้งทำเครื่องหมายด้วยปากกาหมึกแห้ง
  3. หยดน้ำยาทดสอบลงบนผิวหนังที่ทำเครื่องหมายไว้จนครบจำนวนที่ต้องการทดสอบ
  4. ใช้เข็มปราศจากเชื้อขนาดเล็กสะกิดผิวหนังผ่านบริเวณที่หยดน้ำยา
  5. รออ่านผลประมาณ 15 - 20 นาที โดยจะปรากฏเป็นตุ่มแดง คันบริเวณที่มีการแพ้
  6. หลังจากนั้นเช็ดทำความสะอาดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์อีกครั้ง แล้วทาครีมทับเพื่อลดอาการคันหรือแดงบริเวณที่ทำการทดสอบ อาจมีจุดแดงเล็กๆ ซึ่งอาจจะคงอยู่ประมาณ 1-2 ชั่วโมง จะหายไปเอง

โรงพยาบาลนครธนได้จัดชุดทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังที่เหมาะสม ดังนี้


Allergy Skin Prick Test
การทดสอบสารก่อภูมิแพ้ทางอากาศ การทดสอบสารก่อภูมิแพ้ทางอาหาร
1. ไร้ฝุ่น 1. กล้วย
2. แมลงสาบ 2. ส้ม
3. นุ่น 3. นมวัว
4. แมว 4. Casein (ส่วนประกอบในนมวัว)
5. สุนัข 5. ไข่แดง
6. สัตว์ปีก 6. ไข่ขาว
7. ละอองเกสรเชื้อราหลายชนิด 7. ถั่วเหลือง
8. ละอองเกสรหญ้าแพรก 8. ถั่วลิสง
9. ละอองเกสรหญ้าขน 9. แป้งสาลี
10. ละอองเกสรเชื้อรา 10. กุ้ง
11. กระถินณรงค์ 11. ปู
12. ยุง 12. อาหารทะเลเปลือกแข็ง
13. มดคันไฟ 13. โกโก้
  14. มะเขือเทศ
  15. ทูน่า
  16. หมู
  17. ไก่
  18. เนื้อวัว
  19. งา
  20. ยีสต์

ข้อควรระวัง

การทดสอบด้วยวิธีนี้ใช้ปริมาณน้ำยาก่อภูมิแพ้เพียงเล็กน้อย (ประมาณเม็ดถั่วเขียว) โอกาสที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงจนเป็นอันตรายนั้นมีน้อยมาก

การทดสอบภูมิแพ้โดยการสะกิดผิวหนังนั้น เป็นการทดสอบที่ทำให้รู้ถึงสิ่งที่เราแพ้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้นเพราะหัวใจสำคัญของโรคภูมิแพ้ คือ การหลีกเลี่ยงสิ่งที่ตนแพ้ ทั้งจากการตั้งใจหรือจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้สามารถป้องกันตัวเองให้ห่างจากความเสี่ยงที่เกิดจากการแพ้ได้ หากมีอาการเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ได้แก่ คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล จาม คันจนน้ำตาไหล อาการลมพิษ ผื่นแพ้เป็นๆ หายๆ หายใจถี่ๆ ไอแห้งๆ เรื้อรัง และ หายใจมีเสียงดังวี้ดหรือเสียงผิดปกติ ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจภูมิแพ้


พญ.วราลี ผดุงพรรค พญ.วราลี ผดุงพรรค

พญ.วราลี ผดุงพรรค
กุมารเวชศาสตร์/กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ศููนย์ภูมิแพ้






ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย