ขี้เกียจตื่นเช้า ง่วงตอนกลางวัน ชอบขนมหวาน สัญญานเสี่ยง “ภาวะหมวกไตล้า”

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพนครธน

บทความโดย :

ขี้เกียจตื่นเช้า  ง่วงตอนกลางวัน ชอบขนมหวาน สัญญานเสี่ยง “ภาวะหมวกไตล้า”

ต่อมหมวกไตล้า หรือ ภาวะหมวกไตล้า เป็นภาวะที่หลาย ๆ คนไม่ค่อยรู้จักหรือคุ้นหูสักเท่าไหร่ แต่ว่าพบได้ค่อนข้างบ่อยในบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นภาวะที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย แล้วเราทราบหรือไม่ว่า...ต่อมหมวกไตมีหน้าที่อะไร? แล้วถ้าเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าจะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง? เราไปหาคำตอบกันค่ะ

ต่อมหมวกไต อวัยวะที่ทำหน้าที่สำคัญที่หลาย ๆ คนมักจะไม่ค่อยรู้จักเท่าไหร่ ซึ่งหน้าที่ของต่อมหมวกไตก็คือการผลิตฮอร์โมน 3 ชนิด ซึ่งได้แก่

  • ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่มีหน้าที่กำจัดความเครียดและสร้างพลังงานให้ร่างกาย แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายมีความเครียดสะสมเรื้อรัง หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ ระดับฮอร์โมนชนิดนี้จะสูงขึ้นและส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพและแก่เร็ว หรือถ้าระดับฮอร์โมนต่ำเกินไป ก็อาจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียได้
  • ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (Aldosterone) มีหน้าที่ช่วยควบคุมสมดุลของแร่ธาตุโซเดียมและโปแตสเซียมในร่างกาย
  • ฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEA, Dehydroepiandosterone) มีหน้าที่ต้านความเครียด เพิ่มความแข็งแรง และชะลอความเสื่อมให้ร่างกาย

เมื่อการทำงานของต่อมหมวกไตมีความผิดปกติ แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อร่างกาย ซึ่งมักจะมีสัญญาณบ่งบอกให้เรารู้ได้ 13 สัญญาณหลัก ๆ ลองมาตรวจสอบตัวเองกันค่ะ ว่าคุณกำลังมีอาการเช่นนี้อยู่หรือไม่ แล้วคุณจะพบว่า ภาวะหมวกไตล้า อยู่ใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คิดค่ะ


13 พฤติกรรม เพิ่มความเสี่ยง “ภาวะหมวกไตล้า”

ลองตรวจเช็คตัวคุณว่ามีอาการเช่นนี้บ่อยครั้งหรือไม่ หากมีอาการเช่นนี้ นี่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นภาวะหมวกไตล้า

  • ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย อยากนอนตอนกลางวัน
  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • ชอบทานของหวาน น้ำตาล
  • อาการดีขึ้นเมื่อกินของหวาน
  • ติดกาแฟ
  • ชอบกินเค็ม
  • หน้ามืดวิงเวียน เวลาลุกนั่งเปลี่ยนท่า
  • ผิวแห้ง หมองคล้ำ
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย
  • โรคภูมิแพ้ ผื่นแพ้ง่าย
  • เป็นหวัดบ่อย
  • น้ำหนักขึ้นง่าย

วิธีการรักษาภาวะหมวกไตล้า

  • ขจัดความเครียด - ความเครียด เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหมวกไตล้า การรักษาภาวะหมวกไตล้า จึงต้องเริ่มต้นจากการรักษาที่ต้นเหตุ นั่นคือ กำจัดความเครียดให้หมดไป รู้จักวิธีการคลายความเครียด
  • ตรวจหาภูมิแพ้อาหารแบบแอบแฝง - เชื่อหรือไม่ว่า “ภูมิแพ้อาหาร” นั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณได้มากมาย ไม่ใช่เพียงแค่อาการแพ้เกิดผดผื่น อาการบวม แดง คัน อย่างที่เราเห็นกันบ่อยครั้งเพียงเท่านั้น
  • นอนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง - การนอนคือการพักผ่อนให้ดีที่สุด อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมงนะคะ
  • ควรนอนก่อน 4 ทุ่ม - เพื่อให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
  • นอนราบระหว่างวัน เมื่อรู้สึกเพลีย - เมื่อรู้สึกเพลีย อย่าฝืนตัวเอง เพราะต่อให้ฝืนตัวเองต่อไปก็ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ แถมยังทำให้คุณไม่สามารถเรียนหรือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย เมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย ควรนอนราบเป็นการพักผ่อน
  • ออกกำลังกายแบบเบา ๆ เพื่อความเพลิดเพลิน - เช่น โยคะ เดิน เป็นต้น เนื่องจากหากเราออกกำลังกายหนักเกินไป จะส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนได้
  • รับประทานอาหารเช้าก่อน 10 โมง - รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกอาหารที่สด สะอาด เลือกอาหารประเภทไขมันที่เป็นไขมันชนิดดี และคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใย
  • ควรแบ่งเป็นมื้อย่อย 5-7 มื้อต่อวัน - ในคนที่มีภาวะต่อมหมวดไตล้า ควรแบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อย เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกาย
  • สารเสริมอาหารบางชนิด - สำหรับคนที่รับประทานอาหารแล้วได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับสารอาหารที่ร่างกายต้องการ หรือมีภาวะที่ขาดสารอาหารบางชนิด อาจต้องรับประทานอาหารเสริมเพิ่มเติมตามที่แพทย์สั่ง
  • ปรึกษาแพทย์ - หากคุณมีอาการรุนแรง เรื้อรัง หรือ ต้องการรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อความแน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธี และ เหมาะสำหรับตัวคุณมากที่สุด

Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย