ข้อเข่า ข้อไหล่ บาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย อย่านิ่งนอนใจ

ศูนย์ : ศูนย์กระดูกและข้อ

บทความโดย : นพ. ประกาศิต ชนะสิทธิ์

ข้อเข่า ข้อไหล่ บาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย อย่านิ่งนอนใจ

หากข้อเข่า ข้อไหล่มีอาการบาดเจ็บ ขยับข้อไหล่ได้ไม่สุด มีอาการปวดบวมอย่างรุนแรงบริเวณข้อเข่า เดินลงน้ำหนักไม่ได้หรือปวดเสียวมาก ที่มาจากการอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา ออกกำลังกายอย่านิ่งนอนใจ เพราะอาการบาดเจ็บเหล่านั้นอาจมาจากเส้นเอ็นมีการฉีกขาด กล้ามเนื้อฉีดขาด หรือข้อเคลื่อนได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้อย่างตรงจุด หากปล่อยไว้อาจถึงขั้นไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน


การบาดเจ็บข้อเข่า ข้อไหล่

อาการบาดเจ็บที่ข้อเข่า ข้อไหล่ สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากอุบัติเหตุ การทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องมีการปะทะ เกิดการบิดของข้อเข่า ข้อไหล่ หรือเกิดการกระแทกจากการเล่นกีฬา ออกกำลังกายแล้วเอ็นฉีกขาด กล้ามเนื้อฉีดขาด กระดูกหัก หรือข้อเคลื่อน เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล แบดมินตัน วิ่ง รักบี้ เป็นต้น ซึ่งการบาดเจ็บเหล่านี้มักสร้างปัญหารุนแรง และใช้เวลาในการรักษานานหลายเดือน

> กลับสารบัญ


อาการบาดเจ็บข้อไหล่ ที่ควรรีบพบแพทย์

  • ปวดบริเวณหัวไหล่ร่วมกับกดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ
  • ปวดไหล่ด้านหน้าและด้านข้าง อาจร้าวลงมาที่ต้นแขน ไม่สามารถขยับหรือยกแขนได้ตามปกติ
  • ปวดไหล่มากเวลานอนตะแคงทับ
  • ยกแขนไม่ขึ้น รู้สึกชาและกำลังแขนอ่อนแรง

> กลับสารบัญ


อาการบาดเจ็บข้อเข่า ที่ควรรีบพบแพทย์

  • อาการบวม แดง ร้อนของข้อเข่า จากการอักเสบหรือติดเชื้อ
  • ปวดหัวเข่าตลอดเวลาแม้ว่าจะเป็นตอนนอนพัก หรือนั่งอยู่เฉยๆ
  • ปวดมากในขณะเคลื่อนไหวเหยียดงอเข่า หรือลงน้ำหนัก
  • งอหรือเหยียดเข่าได้ไม่สุด เมื่อขยับเข่าจะรู้สึกเจ็บ
  • ปวดเข่าหลายวันแล้วอาการไม่ดีขึ้นเลย กินยาแก้ปวดแล้วอาการก็ไม่บรรเทา

> กลับสารบัญ



รักษาการบาดเจ็บข้อเข่า ข้อไหล่ที่ต้นเหตุ

การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ หากวินิจฉัยแล้วว่าไม่ได้เป็นแค่การอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น พร้อมทั้งมีอาการรุนแรงดังกล่าวข้างต้น เช่น เจ็บปวดมาก ไม่สามารถใช้งานข้อไหล่ ข้อเข่าได้ หรือเกิดจากภาวะเอ็นข้อไหล่ฉีดขาด เอ็นข้อเข่าฉีดขาด หรือเอ้นไขว้หน้าฉีดขาด อาจจำเป็นต้องพิจารณาผ่าตัด แพทย์จะใช้การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดส่องกล้องข้อ (Arthroscopic Surgery) เพื่อเปลี่ยนหรือซ่อมเอ็นข้อไหล่ เอ็นข้อเข่า เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติเท่าเดิม

> กลับสารบัญ


การผ่าตัดส่องกล้องข้อ รักษาการบาดเจ็บข้อเข่า ข้อไหล่

เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องข้อ (Arthroscopic Surgery) รักษาการบาดเจ็บข้อเข่า ข้อไหล่ ในกรณี เอ็นข้อไหล่ฉีกขาด เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีก หมอนรองกระดูกเข่า ฯลฯ เนื่องจากได้ผลการรักษาที่ดี ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเกิดขึ้นน้อยมาก แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ทำการดูแลรักษาได้ง่าย โดยสามารถเจาะรูที่มีขนาดเพียง 0.8-1.0 ซม. แล้วใช้กล้องขนาด 4 มิลลิเมตรส่องเข้าไปดูภายในข้อเพื่อตรวจหาความผิดปกติ หากพบความผิดปกติที่สามารถผ่าตัดได้ แพทย์จะเจาะรูเพิ่มอีกเพื่อใส่เครื่องมือผ่าตัดจำนวน 2-4 รู ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยมีรอยโรคมากน้อยเพียงใด ขณะผ่าตัดสามารถต่อกล้องเข้ากับจอภาพ และบันทึกภาพได้ ทำให้แพทย์สามารถเห็นส่วนต่างๆ ในข้อไหล่ หรือข้อเข่าได้อย่างชัดเจน

> กลับสารบัญ




การฟื้นฟูหลังผ่าตัด

หลังการรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล่อง ด้วยแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย ทำให้สามารถทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นตัวได้ตั้งแต่ 24 ชั่วโมงแรก หรือวันที่สองหลังผ่าตัด โดยจะได้รับการฟื้นฟูดูแลจากแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา ในการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้ดีใกล้เคียงเดิมให้ได้มากและรวดเร็วที่สุด

> กลับสารบัญ


ปัจจุบันการผ่าตัดส่องกล้องข้อไม่ได้น่ากลัวอีกต่อไป ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญ หากคุณกำลังประสบปัญหาการบาดเจ็บ ข่อเข่า ข้อไหล่ หรือ ข้ออื่นๆ โดยกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน รักษามาหลายวิธีแต่ก็ยังไม่หาย ต้องการหาแนวทางรักษาเพิ่มเติม สามารถเข้ามาปรึกษาทีมแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ และแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา ที่โรงพยาบาลนครธน โดยส่งข้อมูลได้เลย


ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย