นิ้วล็อก (Trigger Finger) เป็นอาการที่นิ้วมือไม่สามารถงอหรือเหยียดได้ตามปกติ สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย รวมถึงเป็นได้กับนิ้วมือทุกนิ้ว โรคนิ้วล็อก เกิดจากเยื้อหุ้มเอ็นของนิ้วบวมอักเสบจนไม่สามารถ เคลื่อนผ่านพังผืดธรรมชาติ (pulley) ของนิ้วนั้น ๆ ได้โดยสะดวก หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาอาจเกิดข้อติดแข็งไม่สามารถงอหรือเหยียดได้ถาวร
สารบัญ
รู้จักอาการนิ้วล็อก
- อาการจะเริ่มตั้งแต่เจ็บบริเวณฐานนิ้วนั้น ๆ
- นิ้วมีความฝืดในการเคลื่อนไหว สะดุดหรือกระเด้งเข้าออกเวลางอหรือเหยียด
- หากมีมากขึ้นจะเกิดอาการล็อก กล่าวคือ หากงอหรือกำนิ้วไว้ จะไม่สามารถเหยียดออกเองได้
- หากปล่อยทิ้งไว้นิ้วมือนั้นๆ อาจเกิดข้อติดแข็งไม่สามารถงอหรือเหยียดได้ถาวร
สาเหตุของการเกิดนิ้วล็อก
สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากการทำกิจกรรมงอเหยียดนิ้วซ้ำๆ เป็นเวลานาน เช่น การเล่นเกมกด การใช้นิ้วมือหิ้วของหนักเป็นประจำ
การป้องกันการเกิดนิ้วล็อก
หากเริ่มมีอาการดังกล่าวที่กล่าวมาแล้ว ควรปฏิบัติ ดังนี้
- ควรลดหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องงอเหยียดนิ้วนานๆ หลีกเลี่ยงการใช้นิ้วมือหิ้วของหนัก
- ปรึกษากับแพทย์ หากอาการเป็นมากขึ้น
วิธีการรักษานิ้วล็อก
การรักษาโรคนิ้วล็อก ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค ได้แก่
- หากอาการพึ่งเริ่มต้น อาจพิจารณาให้ยาต้านการอักเสบ การทำกายภาพบำบัด
- อาการไม่ดีขึ้น อาจพิจารณาฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่บริเวณพังผืดธรรมชาติ (pulley) ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบได้ค่อนข้างดี
กรณีอาการดังกล่าวยังคงมีอยู่ถึงแม้จะฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่แล้วก็ตาม แพทย์จะแนะนำให้ทำผ่าตัด โดยเป็นการผ่าตัดเล็กซึ่งไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล หรือ ดมยาสลบ แพทย์จะฉีดยาเฉพาะที่และเปิดแผลเลก็ก ๆ ประมาณ 1-2 ซม. เพื่อตัดพังผืดธรรมชาติ (pulley) ออก ทั้งนี้สามารถปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลจากแพทย์ออนไลน์ได้เลย
ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
บทความทางการแพทย์ศูนย์กระดูกและข้อ