ปวดกล้ามเนื้อ รักษาให้ตรงจุดหยุดอาการปวดที่รบกวนใจ

ศูนย์ : ศูนย์กระดูกและข้อ

บทความโดย : นพ. นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์

ปวดกล้ามเนื้อ รักษาให้ตรงจุดหยุดอาการปวดที่รบกวนใจ

กลุ่มอาการปวดพังผืด กล้ามเนื้อ (Myofascial Pain Syndrome) เป็นกลุ่มอาการปวดของกล้ามเนื้อลายและเยื่อพังผืด ซึ่งมีจุดปวดที่ไวต่อการกระตุ้น (Trigger point) ของกล้ามเนื้อ โดยกล้ามเนื้อแต่ละกลุ่มจะมีรูปแบบอาการปวดที่เฉพาะ และอาการปวดจะไม่กระจายไปตามเส้นประสาท หรือกล่าวได้ว่า ภายในกล้ามเนื้อแต่ละมัดนั้น จะมีจุดกดเจ็บ เมื่อใช้ปลายนิ้วกดคลำจะพบเป็นก้อนพังผืดแข็ง ๆ หรือตึงเป็นลำอยู่ภายในมัดกล้ามเนื้อ อาจเป็นทั้งสาเหตุหลัก หรือพบร่วมกับกลุ่มอาการปวดจากภาวะอื่น ๆ ก็ได้ ซึ่งมักจะพบได้ใจเพศหญิงมากว่าเพศชาย โดยช่วงอายุที่พบบ่อย คือ 31-60 ปี ส่วนใหญ่มักเป็นๆ หายๆ จะต้องพบแพทย์บ่อย ทำให้เกิดการรำคาญหรือความวิตกกังวลได้


สาเหตุอาการปวดกล้ามเนื้อ

  • การใช้กล้ามเนื้อทำงานมากเกินไปจนฉีดขาด การได้รับบาดเจ็บ หรือกล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างเฉียบพลัน
  • การทำงานหรืออาชีพที่ต้องทำงานซ้ำ ๆ หรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ ได้แก่ การนั่งพิมพ์คอมพิวเตอร์ในท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น
  • การกดทับรากประสาทจากหมอนรองกระดูก ทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นเวลานานๆ
  • ภาวะที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว ต้องนอนนานๆ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ขาดความยืดหยุ่น กล้ามเนื้อตึงตัวมากขึ้น
  • ความวิตกกังวล ความเครียดทางจิตใจ การนอนไม่หลับ
  • ภาวะโรคทางระบบต่อมไร้ท่อ และเมตาบอลิทึ่ม ภาวะขาดสารอาหารหรือวิตามินบางชนิด

> กลับสารบัญ


การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ

1. การรักษาจุดกดเจ็บ หรือ จุดปวดที่ไวต่อการกระตุ้นของกล้ามเนื้อ (Trigger point)

เป็นการรักษาที่จุดปวดโดยตรง ร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อให้สุดพิสัยการเคลื่อนไหว หรือเกินสมรรถภาพการงอและเหยียดของข้อ ได้แก่

  • การฉีดยาชาเฉพาะที่ ตรงจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อ หรือการฝังเข็มรักษาอาการปวด
  • การฉีดสเปรย์ยาชา (Ethyl Chloride) ที่จุดกดเจ็บและบริเวณที่มีอาการปวดร้าวแผ่ไปถึง และตามด้วยการยืดเนื้อกล้าม
  • การนวดกดจุดบริเวณจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนช่วยในการเคลื่อนไหวเส้นใยกล้ามเนื้อ ทำให้จุดปวดคลายตัวและลดปวดได้
  • การใช้ความร้อน เช่น กระเป๋าน้ำอุ่น ประคบบริเวณจุดกดเจ็บ เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวด หรืออาจใช้เครื่องมือไฟฟ้าทางกายภาพ เช่น เครื่องอัลตราซาวน์ เครื่องกระตุ้นปลายประสาทพื้นผิว (TENS)
  • การใช้ยาแก้ปวด ยาต้านการอับเสบที่มีใช้สเตียรอยด์ และยากลุ่มอื่น เช่น ยาลดการซึมเศร้า วิตามินซี วิตามินบี 1-6-12 กรดโฟลิค เป็นต้น
  • การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหว หรือสมรรถภาพของการงอและเหยียดของข้อ โดยการเหยียดยืดกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงและความคงทนของกล้ามเนื้อ และเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  • การผ่อนคลายทางจิตใจ เช่น การนั่งสมาธิ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย

2. การแก้ไขปัจจัยเสริมตามสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่

  • ปัจจัยทางด้านกลศาสตร์ ที่เกิดจากการประกอบอาชีพหรือจากการทำงาน รวมทั้งการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
  • ปัจจัยจากภาวะผิดปกติของร่างกาย จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น
    • ภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะเอมไซด์ที่ทำงานร่วมในการให้พลังงานของกล้ามเนื้อ เช่น วิตามินบี 1-6-12 วิตามินซี กรดโฟลิก
    • ภาวะความบกพร่องของต่อมไร้ท่อ หรือทางเมตาบอลิซึม เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
    • ภาวะการติดเชื้อเรื้อรัง หรือภาวะความผิดปกติของข้อ ทำให้มีการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบข้อนั้นไว้นาน
    • ภาวะเครียดหรือซึมเศร้า อาจจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรค การนอนไม่หลับ เป็นต้น

3. การรักษาด้วยตนเองอ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่

  • ใช้ความร้อนประคบนาน 10-15 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
  • ใช้นิ้วหัวแม่มือวางตั้งฉากกับจุดกดเจ็บ แล้วกดด้วยแรงขนาดที่ปวดพอทนได้ กดค้างไว้ 1/2 -1 นาที จึงผ่อน ทำติดต่อกัน 4 -5 รอบ วันละ 2-3 ครั้ง
  • ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อกลุ่มที่มีปัญหา ตามลักษณะและทิศทางการจัดเรียงตัว โดยยืดออกช้า ๆ ให้ให้ได้มากที่สุดค้างไว้ อย่างน้อย 15 วินาที จึงผ่อน ทำติดต่อกัน 5-10 รอบทุก 2-3 ชั่วโมง
  • พักหรือหลีกเลี่ยงการใช้งานกล้ามเนื้อที่มีปัญหาไม่ให้ทำงานหนักสักระยะหนึ่ง
  • ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยท่าทางที่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงท่าที่ก่อให้เกิดอาการปวด หรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ

พ.นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์ พ.นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์

พ.นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ / ข้อสะโพกและข้อเข่า
ศูนย์กระดูกและข้อ






ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย