ปวดข้อศอกจากการทำงานหรือเล่นกีฬา อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้เรื้อรัง

ศูนย์ : ศูนย์กระดูกและข้อ

บทความโดย : นพ. นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์

ปวดข้อศอก

คอาการปวดข้อศอกหรือเจ็บข้อศอก คืออาการเจ็บบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกตรงเอ็นกล้ามเนื้อที่มีการอักเสบ พบได้บ่อยในผู้ที่ใช้ข้อมือและข้อศอกมาก ไม่ว่าจะเป็นจากการเล่นกีฬา เช่น กอล์ฟ เทนนิส หรือแม้แต่จากการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ทำงานบ้าน ยกของ การทำผม เป็นต้น ซึ่งผุ้ที่เป็นมักจะมีอาการ

  • ปวดบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านนอก อาจมีอาการปวดร้าวไปทั้งแขนจนถึงข้อมือ
  • ปวดมากขึ้นเวลายกของเกร็งแขน ขยับข้อศอกข้อมือหรือกำมือแน่น ๆ เพราะจะไปใช้งานบริเวณที่มีการอับเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น จนถึงอาจมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย
  • อาการปวดจะเป็นอยู่ประมาณ 6–12 สัปดาห์แต่ถ้าเป็นมานานมากอาจใช้เวลารักษาเป็นปี

อาการปวดข้อศอกมี 3 ประเภท

  1. ปวดข้อศอกด้านนอก (Tennis elbow) พบได้บ่อยกว่าประเภทอื่น ๆ
  2. ปวดข้อศอกด้านใน (Golfer's elbow)
  3. ปวดข้อศอกด้านหลัง (Bursitis)

> กลับสารบัญ


สาเหตุของอาการปวดข้อศอก

  • เกิดการฉีกขาดของเส้นเอ็นที่เสื่อมสภาพรอบ ๆ ข้อศอก เนื่องจากการขาดความยืดหยุ่นและใช้งานหนักซ้ำ ๆ จนร่างกายซ่อมแซมไม่ทันจึงทำให้เกิดการอับเสบ
  • ลักษณะงานที่ต้องใช้แขนหรือข้อมือซ้ำ ๆ เช่น ช่างประเภทต่าง ๆ ที่ต้องทำงานโดยใช้ข้อมือทำงานซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะเป็น การทาสี การตอกตะปูหรือหมุนไขควง ชาวไร่ ชาวนาที่ใช้จอบเสียมขุดดิน แม่บ้านที่ทำงานบ้านประเภทซัก บิด ขัดหรือถู เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • นักกีฬาหรือผู้ที่เล่นเทนนิสนาน ๆ ครั้ง อุปกรณ์หรือทักษะการเล่นไม่ถูกต้องโดยเฉพาะท่าตีด้วยหลังมือ (Backhand)

> กลับสารบัญ


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

การรักษาสำหรับผู้ที่มีอาการปวดข้อศอก

แพทย์จะให้ยาแก้ปวดลดอาการอับเสบ (NSIADS) ชนิดรับประทาน หรือฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะตรงบริเวณที่ปวด เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดการอับเสบ ซึ่งบางครั้งก็ต้องฉีดยาซ้ำแต่ไม่ควรเกิน 2-3 ครั้ง / ปี ในจุดเดียวกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ในกรณีที่ได้รับการรักษาเต็มที่แล้วอย่างน้อย 3-6 เดือน อาการยังไม่ดีขึ้นการผ่าตัดนำพยาธิสภาพของเส้นเอ็นออกช่วยลดอาการลงได้ ซึ่งแพทย์แนะนำการปฏิบัติตัว เพื่อลดอาการอับเสบและอาการปวดในระยะแรก ดังนี้

  • พักหรือใช้งานให้น้อยลงโดยเฉพาะกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการหลีกเลี่ยงการใช้งานผิดท่า
  • ประคบด้วยน้ำแข็ง ภายใน 2 วันแรกควรประคบครั้งละ 20 นาทีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อลดความปวดจากการอับเสบและลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
  • ถ้าจำเป็นแพทย์จะพิจารณาให้ใช้แถบรัดใต้ข้อศอก (Tennis elbow support) กรณียังต้องใช้งานแขนมาก

> กลับสารบัญ


การป้องกันอาการปวดข้อศอก

  • สำหรับนักกีฬา สิ่งที่ต้องทำคือ การจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น เช่น การใช้อุปกรณ์ในบ้าน เช่น ด้ามไม้กวาด ท่าหยิบจับหนังสือ เอกสาร ไม้เทนนิสต้องขนาดพอเหมาะไม่ใหญ่เกินควร หัวไม้ควรมีขนาดประมาณ 95-110 ตารางนิ้ว ทำจากกราไฟด์จะช่วยลดแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า เส้นเอ็นไม่ควรขึงดึงเกินไป ควรเช็คทุก 6 เดือน ด้ามจับต้องมีขนาดเหมาะมือ เป็นต้น รวมทั้งทักษะการเล่นที่ถูกต้องจะช่วยลดการบาดเจ็บได้มาก
  • ส่วนผู้ที่ทำงานโดยต้องใช้กล้ามเนื้อแขน ข้อมือ ข้อศอกโดยลักษณะซ้ำๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานที่หนักเกินไป แต่ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้การบริหารกล้ามเนื้อในท่าต่าง ๆ ที่กล่าวมาจะเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จะช่วยลดการบาดเจ็บของข้อศอกบริเวณด้านนอกได้

> กลับสารบัญ


การบริหารข้อศอก

เพื่อพัฒนาความยืดหยุ่น และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังจากระยะอาการปวดในระยะแรกลดลง แบ่งเป็น

  1. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) โดยการกระดกข้อมือขึ้นลงและหมุนในขณะที่ทำข้อศอกควรเหยียดตรงในการทำแต่ละครั้งให้ค้างไว้ 20-30 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้งทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง แต่ควรระวังไม่ทำจะมีอาการปวดมาก
  2. การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเนื้อ (Strengthening) โดยใช้อุปกรณ์ช่วย

> กลับสารบัญ



ท่าบริหาร

ท่าบริหารข้อศอกท่าบริหารข้อศอก 1. กระดกข้อมือขึ้นลงโดยนั่งบนเก้าอี้ถือตุ้มน้ำหนักขนาด 0.5 กิโลกรัมไว้ในมือ วางแขนบนขาหรือบนโต๊ะกระดกข้อมือขึ้นลงช้าๆ
ท่าบริหารข้อศอก 2. บริหารกล้ามเนื้อแขนด้านนอก โดยใช้อุปกรณ์ที่มีด้ามจับคล้ายค้อน นั่งบนเก้าอี้ วางแขนบนโต๊ะจับอุปกรณ์ตั้งตรงแล้วบิดไปซ้ายขวาช้าๆ
ท่าบริหารข้อศอก 3. บริหารนิ้วโดยใช้หนังยางที่มีความตึงพอควรสวมที่นิ้วทั้ง 5 แล้วพยายามกางนิ้วออกให้ได้มากที่สุด ค้างไว้ 25 วินาทีทำ 3 ครั้ง แล้วเพิ่มความแข็งแรงของหนังยางขึ้นอีก
ท่าบริหารข้อศอก 4. บริหารมือโดยกำลูกบอลยางหรือลูกเทนนิสไว้ในมือ แล้วพยายามบีบค้างไว้ 25 วินาที ในครั้งแรกๆ อาจไม่ค่อยมีแรงต้องฝึกทำซ้ำๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง

ในระยะต่อไป ใช้ท่าบริหารเช่นเดียวกัน แต่เพิ่มน้ำหนักของอุปกรณ์หรือเพิ่มจำนวนครั้งมากขึ้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้งานครั้งต่อไป

> กลับสารบัญ


ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

บทความทางการแพทย์ศูนย์กระดูกและข้อ

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย