ลองโควิด (Long Covid) กับภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ

ศูนย์ : ศูนย์หัวใจ

บทความโดย : นพ. ศิรพัชร์ พูนวุฒิกุล

ลองโควิด (Long Covid) กับภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ

ภาวะผิดปกติหรืออาการต่างๆ ที่เกิดหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) ที่เรียกว่า "ภาวะลองโควิด (Long COVID)" นั้นถือว่าเป็นปัญหาระยะยาว ทั้งต่อคนที่เป็น สมาชิกในครอบครัว คนรัก คนใกล้ชิด คนที่ทำงาน และสังคม เกิดขึ้นได้ทั้งคนที่เคยติดเชื้อแบบไม่มีอาการ มีอาการน้อย หรือมีอาการรุนแรง ซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายแทบทุกระบบ ตั้งแต่สมอง ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบต่อมไร้ท่อ กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ รวมไปถึงอาการที่เกี่ยวเนื่องกับหัวใจและมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบได้


อาการโรคหัวใจหลังติดเชื้อโควิด-19

อาการของคนที่มีภาวะลองโควิด (Long COVID) ที่แสดงออกทางด้านของหัวใจอาจจะมีอาการหลงเหลืออยู่ ได้แก่ ภาวะใจสั่นเหนื่อย เพลีย การเสียประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท โดยเฉพาะการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อแขน ขา และกล้ามเนื้อลาย เห็นภาพซ้อน อาการเจ็บหน้าอก โดยลักษณะการเจ็บหน้าอกไม่เฉพาะเจาะจง หัวใจเต้นผิดจังหวะ


ลองโควิด (Long Covid) กับภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ

ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 หรือ ลองโควิด (Long Covid) พบได้ไม่บ่อยนัก แต่มักพบในผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคประจำตัวเดิม และมีอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ทั้งนี้ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าพบอุบัติการณ์ของการเป็นภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหลังติดเชื้อโควิด-19 มากน้อยเพียงใด แต่พบน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับการมีภาวะแทรกซ้อนขณะที่กำลังมีการติดเชื้อโควิด-19


ปัจจัยที่ทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบหลังติดเชื้อโควิด-19

ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หลังติดเชื้อโควิด-19 หรือลองโควิด ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด อาจเกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง เพราะการติดเชื้อโควิด-19 นั้นจะนำไปสู่กลไกการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและเกิดการอักเสบในร่างกาย เมื่อร่างกายของผู้ป่วยสามารถกำจัดเชื้อโรคแล้ว ไม่ว่าจะกำจัดได้เอง หรือต้องอาศัยยาต้านไวรัสช่วยก็ตาม แต่ภูมิคุ้มกันและการอักเสบก็อาจจะยังไม่ฟื้นฟู เกิดภาวะลิ่มเลือดในปอด ในหลอดเลือด หรือเกิดจากผลข้างเคียงในด้านของการรักษาที่ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานานโดยเฉพาะห้อง ICU ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เป็นต้น


กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหลายโรค
  • ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขณะติดเชื้อ
  • ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ
อย่างไรก็ตามเมื่อหายจากโควิด-19 ต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หากมีอาการผิดปกติ เช่น เหนื่อยงาน แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคหัวใจเพื่อตรวจเช็คทันที โดยเฉพาะสุขภาพหัวใจเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย





ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย




Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย