ศูนย์หัวใจ
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน
โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มวัย โดย ประเทศไทยพบผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึงปีละ 7 หมื่นราย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคหัวใจ เพราะมักไม่มีอาการในระยะแรก กว่าจะรู้ก็มีอาการของโรคหัวใจที่ชัดเจน เช่น เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หรือยิ่งไปกว่านั้นก็อาจพบหลังประสบภาวะหัวใจวายไปแล้ว และถึงแม้ว่าโรคหัวใจจะเป็นโรคที่มีความรุนแรงและทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ แต่สามารถป้องกัน และรักษาได้ ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน พร้อมดูแลทุกปัญหาสุขภาพหัวใจของคุณแบบครบวงจร ให้บริการตั้งแต่การตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจ ไปจนถึงการตรวจรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคทรวงอกอย่างละเอียด โดยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะ ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย รวมถึง ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ ห้องผ่าตัด และห้องพักผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจที่ได้มาตรฐาน จึงมั่นใจได้ว่า ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาและดูแลอย่างเต็มประสิทธิภาพ
การบริการทางการแพทย์ของศูนย์หัวใจ
1. การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือด
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography) การตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจบีบตัว เป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่าย ได้ผลดี ไม่เจ็บ ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที การตรวจนี้อาจให้ผลปกติ ในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในระยะเริ่มต้น ถ้าสงสัยควรตรวจซ้ำ
- การบันทึกคลื่นหัวใจ 24 ชั่วโมง / 48 ชั่วโมง (Holter Monitoring) เป็นการติดเครื่องมือที่บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24-48 ชม. ไว้กับตัวผู้ป่วยตลอดเวลาขณะมีกิจกรรมในชีวิตประจำวัน โดยที่ผู้ป่วยสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือทำงานได้ตามปกติ เครื่องจะทำการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เมื่อครบกำหนด 24-48 ชม. ผู้ป่วยจึงกลับมาถอดเครื่องเพื่อให้แพทย์อ่านผลและวินิจฉัยว่ามีหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่
- การทดสอบสมรรถภาพหัวใจในขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test) เป็นการตรวจหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่เกิดในขณะออกกำลังด้วยการเดินบนสายพานที่เคลื่อนที่เร็วขึ้นเรื่อยๆ จะพบอาการแสดงและการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจหากพบว่ามีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) การตรวจด้วยคลื่นเสียงทะท้อนความถี่สูงระบบดิจิตอลผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจ ด้วยหัวตรวจชนิดพิเศษทำให้เห็นภาพของห้องหัวใจและการบีบตัว ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรค พยากรณ์โรค ตรวจหาความรุนแรงของโรค และติดตามผลการรักษาในโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหาร (Transesophageal Echocardiography: TEE) เป็นการตรวจหัวใจจากด้านในของระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากทางเดินอาหารอยู่ด้านหลังของหัวใจ ทำให้การตรวจวิธีนี้จะให้ภาพชัดกว่าการตรวจทางหน้าอก เนื่องจากเครื่องมืออยู่ใกล้หัวใจ และไม่มีปอด กระดูกมาบัง จะทำในผู้ป่วยที่สงสัยในเรื่องของลิ้นหัวใจหรือการตรวจหาลิ่มเลือดในหัวใจห้องบน
- การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Coronary Artery Calcium Scan) การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ตรวจหาหินปูน (calcified plaque) ที่บริเวณหลอดเลือดแดงโคโรนารี ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงหลักที่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
- การตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบจากความดันโลหิตที่ขาและแขน (Ankle Brachial Index) การตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลายหรือการตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงส่วนปลายที่ขา สะดวก ปลอดภัย ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด และทราบผลได้ในเวลาอันรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหารก่อนเข้ารับการตรวจและยังเป็นการค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดหัวใจได้ด้วย
- การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายการตรวจคลื่นหัวใจโดยใช้โดบูตามีนกระตุ้น (Dobutamin Stree Echocardiogram) เป็นการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะที่หัวใจทำงานมากกว่าปกติ โดยใช้เครื่องอัลตราซาวน์หัวใจร่วมกับการให้ยา Dobutamin เป็นตัวกระตุ้นผ่านทางสายน้ำเกลือทางหลอดเลือดดำใช้ในกรณีที่คนไข้ไม่สามารถตรวจโดยการเดินสายพานได้
2. แนวทางการรักษาศูนย์หัวใจ
2.1 กลุ่มการรักษาหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด
กลุ่มลิ้นหัวใจ
- การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (TAVI)
- ปิดรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจผ่านทางสายสวนหัวใจ (Transcatheter ASD Closure)
กลุ่มคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ
- การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงผ่านสายสวน (Radiofrequency Catheter Ablation of Cardiac Arrhythmias)
- การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker)
- การใส่เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดผ่าตัดฝังติดตัวผู้ป่วย (Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator: AICD)
- การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจและช่วยการบีบตัวหัวใจ (Cardiac Resynchronization Therapy: CTR/CRTD)
กลุ่มหัวใจพิการแต่กำเนิด
- การรักษาโรคหัวใจแต่กำเนิดโดยการ ปิดลิ้นหัวใจรั่วผนังหัวใจห้องบน / ผนังหัวใจห้องล่าง (Transcatheter ASD Closure)
กลุ่มหลอดเลือดหัวใจ
- การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด (Percutaneous Coronary Intervention: PCI)
- การขยายหลอดเลือดที่ขาตีบด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด (Percutaneous Transluminal Angioplasty: PTA)
2.2 การรักษาด้วยการผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด
- การผ่าตัดการผ่าตัดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Heart Valve Replacement or Repair) เป็นการผ่าตัดแบบวิธีมาตรฐาน คือ การเปิดแผลผ่าตัดกึ่งกลางหน้าอก รักษาโรคลิ้นหัวใจผิดปกติ ในกรณีลิ้นหัวใจสูญเสีย หรือเสื่อมสภาพไปมากแล้ว
- การผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ (CABG) เป็นการผ่าตัดต่อเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจเพื่อทำการเบี่ยงเสริมหลอดเลือดบริเวณที่ตีบหรือตัน
3. นวัตกรรมวินิจฉัยและร่วมรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
เครื่องเอกซเรย์สำหรับตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดชนิดสองระนาบ หรือ Biplane DSA มีหลักการทำงานคล้ายเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แต่สามารถที่จะถ่ายภาพหลอดเลือดได้สองระนาบในเวลาเดียวกัน คือ ด้านหน้า และด้านข้าง ภาพที่ได้ออกมาจึงมีความคมชัด ช่วยให้แพทย์มองเห็นสายสวนหลอดเลือดที่ขนาดเล็กมากได้อย่างชัดเจน เปรียบเสมือนเห็นภาพเป็น 3 มิติ ทำให้สามารถรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีความซับซ้อนและขดเคี้ยวได้
นอกจากนี้ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการของหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยแพทย์สามารถใส่สายสวนเพื่อนำบอลลูนไปถ่างขยายหลอดเลือดในบริเวณที่มีพยาธิสภาพได้ หรือผู้ป่วยบางรายอาจมีความเสี่ยงที่หลอดเลือดจะตีบลงอีก แพทย์ก็ยังสามารถใส่โครงลวดถ่างขยายหลอดเลือด (Stent) ค้างไว้ในหลอดเลือดได้อย่างแม่นยำ
ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
เวลาทำการ
เปิดบริการทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-20.00 น. และ เสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-16.00 น. (หลัง 16.00 น. เป็นต้นไป ติดต่อศูนย์อายุกรรม)
สถานที่ตั้ง
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน ชั้น 1
นัดหมายและติดต่อสอบถามรายละเอียด
โทร 0-2450-9999 ต่อ 1074-1075