โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ เส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในประเทศไทย และโรคนี้ยังมีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยเบาหวานเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมานาน และมีการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีพอ ทำให้เกิดความเสื่อมของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย โดยการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยเบาหวานจะมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 7 เท่า
ความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน
หลังจากรับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเรียบร้อยแล้ว ไตปลูกถ่ายจะอยู่ได้นานเท่าไรขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุ มีหลายกรณีที่ผู้ป่วยต้องผ่าตัดเปลี่ยนไตซ้ำหลายครั้ง โดยการเปลี่ยนไตซ้ำนั้น มักพบสาเหตุบ่อยครั้งจากไตปลูกถ่ายไม่ทำงานหรือหยุดทำงาน จนต้องทำให้ปลูกถ่ายไตซ้ำ ได้แก่
- ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขณะที่มีอายุน้อยกว่าคนทั่วไป และมีความรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป
- มีอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าคนทั่วไป เมื่อเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน มีโอกาสเสียชีวิต จากโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนทั่วไป 2-4 เท่า
- มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ทำให้มีความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจสูงขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีความผิดปกติของหลอดเลือดเร็วกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งอาจทำให้มีการปริและเหนี่ยวนำทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดอย่างเฉียบพลัน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายตามมา สำหรับการรักษาในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะให้ผลดีน้อยกว่าคนทั่วไป และเกิดอัตราการเสียชีวิตสูง ฉะนั้นการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนย่อมดีกว่า การปล่อยให้เกิดโรคแล้วค่อยทำการรักษา
สาเหตุที่ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
สาเหตุที่ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ มากกว่าหรือรุนแรงกว่าคนที่เป็นโรคอื่นเนื่องจาก
- มีระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความเสื่อมของผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย
- ภาวะเบาหวานทำให้มีสารบางชนิดเพิ่มสูงขึ้นในเลือด สารต่างๆ ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงเสื่อมได้เพิ่มขึ้น
- ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อาจจะมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน
- มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และมีโรคอ้วน เป็นต้น
- การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ระดับอินซูลินในเลือดสูง ส่งผลทำให้หลอดเลือดมีโครงสร้างและหน้าที่ผิดปกติไป หลอดเลือดต่างๆ ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดอักเสบ มีโอกาสปริแตกทำให้มีลิ่มเลือดอุดตันอย่างฉับพลันได้
อาการโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานมักมีอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ชัดเจน หรือไม่มีอาการเลย เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัญหาปลายประสาทรับความรู้สึกเสื่อมสภาพร่วมด้วย ทำให้วินิจฉัยโรคได้ยากกว่าปกติ ทั้งนี้สามารถวินิจฉัยจากอาการอื่นๆ ที่อาจสงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้แก่
- อาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
- อาการแน่นอึดอัดบริเวณกลางหน้าอกข้างซ้ายหรือลิ้นปี่ คล้ายอาการจุกเสียด อาหารไม่ย่อย
- อาการปวดร้าวที่ท้องแขนด้านใน
- อาการหน้ามืด วิงเวียน เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น จะเป็นลม หรือหมดสติ
ทั้งนี้อาการอาจเกิดขึ้นหนึ่งอย่าง หรือหลายอย่างพร้อมกันในเวลาใดก็ได้ และอาจมีอาการภายหลังจากที่รับประทานอาหารใน ปริมาณมาก ตื่นนอนตอนเช้า สภาพอากาศเย็น หลังออกกำลังกาย ขณะเบ่งหรือถ่ายอุจจาระในรายที่ท้องผูก เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องพบแพทย์ทันที
การป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจจากโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานต้องพยายามควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติมากที่สุด ได้แก่ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ และการแก้ไขภาวะผิดปกติที่พบร่วมกับโรคเบาหวาน เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน ฯลฯ
ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองหัวใจและหลอดเลือดเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง จะช่วยในการตรวจหาความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรกแม้ไม่มีอาการผิดปกติก็ตาม รวมทั้งการดูแลตนเอง การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ และการพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ มีความสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เพราะการไม่เกิดโรคย่อมดีกว่าการปล่อยให้เกิดโรคแล้วค่อยทำการรักษา ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องพยายามดูแลตนเองด้วยการควบคุมเบาหวานให้ดี เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวานด้วย
ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
บทความทางการแพทย์ศูนย์หัวใจ