เช็คสัญญาณอาการป่วยแบบไหน ที่ต้องพาลูกแอดมิทโรงพยาบาล

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพเด็ก

บทความโดย : พญ. ธิดารัตน์ แก้วเงิน

เช็คสัญญาณอาการป่วยแบบไหน ที่ต้องพาลูกแอดมิทโรงพยาบาล

คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในการดูแลลูกน้อยในภาวะเจ็บป่วย แต่ในบางครั้ง อาการที่เป็นอาจรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการดูแลใกล้ชิดในโรงพยาบาล ในเด็กโตจะสามารถบอกอาการป่วยที่เป็นอยู่ได้บ้าง แต่ในเด็กเล็ก หรือทารก จะไม่สามารถบอกอาการหรือความเจ็บป่วยของตัวเองได้ และอาการบางอย่างก็ไม่ควรดูแลให้การรักษาที่บ้านเอง เนื่องจากอาจมีอาการรุนแรงของโรคจำเป็นต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน ใกล้ชิดและต่อเนื่องด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น


อาการป่วยที่ต้องแอดมิทโรงพยาบาล

อาการไข้สูง ตัวร้อนไม่ลด - ภาวะไข้สูงเฉียบพลันในเด็ก ซึ่งอาจยังไม่แสดงอาการจำเพาะในช่วงวันแรกๆ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แต่บางครั้งอาจมีสาเหตุจากโรคอื่นที่อาจดำเนินโรครุนแรงต่อไปได้ เช่น ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ โรคคาวาซากิ หรือการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ดังนั้นถ้าเด็กมีอาการร่วม เช่น ซึมลง รับประทานน้อย ชักหรือมีประวัติไข้สูงชัก หรือไข้สูงลอบเกิน 48-72 ชั่วโมง ก็ควรพิจารณานอนโรงพยาบาล เพื่อสังเกตอาการ และตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อาการหอบเหนื่อย - มักเกิดจากโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็กหรือโรคหอบหืดกำเริบ จะมีความเสี่ยงต่อภาวะหายใจล้มเหลว หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการไข้สูงไม่ลด ไอมากจนอาเจียน หรือไอจนนอนไม่ได้ หอบ หายใจเร็ว มีเสียงวี้ด จำเป็นต้องได้รับการพ่นยาอย่างเร่งด่วนและสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งแพทย์จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

อาการท้องร่วง ภาวะขาดน้ำในเด็ก - ท้องร่วง คือ การถ่ายอุจจาระเหลวที่มากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ในเด็กมักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหาร เช่น ไวรัสโรต้า ไวรัสโนโร เป็นต้น อย่างไรก็ตามภาวะนี้อาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือ ปรสิต ตลอดจนสาเหตุอื่นๆ เช่น การใช้ยาบางชนิด หรือจากท๊อกซินของเชื้อบางชนิดที่ปนเปื้อนมากับอาหารและน้ำดื่ม เป็นต้น อาการท้องร่วงในเด็กอาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังก็ได้ ถ้ามีอาการอาเจียนร่วมด้วย ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะขาดน้ำเนื่องจากการสูญเสียน้ำเป็นจำนวนมาก

ภาวะขาดน้ำในเด็กสามารถสังเกตได้ เช่น มีอาการกระสับกระส่าย ปากแห้ง ตาลึกโหลเล็กน้อย กระหายน้ำ ผิวหนังคืนตัวช้าหลังจากถูกกด ง่วงนอนผิดปกติ ปลุกให้ตื่นยาก ปัสสาวะออกน้อยและสีเข้ม


คลอดปกติดีอย่างไร ?

การคลอดปกติถือว่าเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยต่อคุณแม่และบุตรค่อนข้างมาก และมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หลังคลอดได้น้อยกว่า คุณแม่สามารถฟื้นตัวหลังคลอดเร็ว เสียเลือดน้อย เจ็บแผลน้อย พร้อมที่จะดูแลบุตรได้โดยเร็วหลังคลอด ส่วนบุตรนั้นจะผ่านกระบวนการต่างๆ ตามธรรมชาติระหว่างการคลอด ทั้งด้านกายภาพ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และได้รับจุลินทรีย์สุขภาพที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานตั้งต้นผ่านช่องคลอด ทำให้ภูมิต้านทานดี ไม่เจ็บป่วยง่าย รวมทั้งบุตรสามารถเริ่มดูดนมแม่ได้อย่างรวดเร็วหลังคลอด

การรักษาโรคท้องร่วงในเด็ก แพทย์จะประเมินอาการจากภาวะขาดน้ำในเด็ก เพื่อให้สารน้ำทดแทนและการให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้อาเจียน ยาแก้ปวดท้อง เป็นต้น ถ้าเด็กมีภาวะขาดน้ำรุนแรง จำเป็นต้องแอดมิทโรงพยาบาล เพราะแพทย์จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อรักษาภาวะขาดน้ำและปรับสมดุลเกลือแร่ในเลือด ไม่ให้เกิดภาวะช็อคจนเสียชีวิต


อาการภูมิแพ้รุนแรงในเด็ก

โรคภูมิแพ้ เกิดจากการที่ร่างกายมีปฏิกิริยาไวเกินต่อสารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งระคายเคือง ทำให้แสดงอาการต่างๆ ตามชนิดของภูมิแพ้ ชนิดของภูมิแพ้แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ภูมิแพ้จมูก โรคหืด แพ้อาหาร ภูมิแพ้ผิวหนัง อาการที่เกิดก็จะแตกต่างกันไป

แต่ถ้าอาการภูมิแพ้เกิดขึ้นที่หลอดลม อาการจะค่อนข้างหนัก บางรายเป็นหนักอาจถึงขั้น “หอบหืดรุนแรง” จำเป็นต้องแอดมิท รวมไปถึงกลุ่มเด็กที่ได้รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น อาหาร ยา หรือแมลงกัดต่อย เป็นต้น เกิดอาการแพ้อย่างเฉียบพลัน รุนแรง (Anaphylaxis) มีผลทำให้เกิดผื่นเฉียบพลัน ตาบวม ปากบวม หอบเหนื่อย คลื่นไส้อาเจียนปวดท้องรุนแรง ความดันดลหิตตก เป็นต้น จำเป็นต้องได้รับการแอดมิทและการรักษาอย่างทันท่วงที


Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย