เมื่อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารไม่สมดุล คุณจะเป็นอย่างไร

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพนครธน

บทความโดย : พญ. ชุติมา ศิริดำรงค์

เมื่อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารไม่สมดุล คุณจะเป็นอย่างไร

รู้หรือไม่ว่าจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะในลำไส้และระบบอื่นๆ มีมากกว่า 1000 ชนิด เเบ่งเป็น กลุ่มที่เป็นอันตรายหรือก่อโรค และกลุ่มส่งเสริมสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา โดยเรียกว่า ไมโครไบโอม (Microbiome) หากจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารไม่สมดุล หรือจุลินทรีย์ตัวดีมีน้อยเกินไปไม่สามารถควบคุมจุลินทรีย์ตัวร้ายได้ อาจก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกาย เช่น ลำไส้อักเสบ เป็นต้น รวมทั้งส่งผลให้เกิดความผิดปกติของร่างกายตามมาได้


รู้จักจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร

จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ประกอบไปด้วย แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ปรสิต แต่ละชนิดจะทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจุลินทรีย์เหล่านี้มีความสำคัญและดีต่อสุขภาพ แต่ก็ยังมีจุลินทรีย์บางชนิดในลำไส้ที่อาจก่อให้เกิดโรคได้เช่นกัน ซึ่งความผิดปกติของร่างกายบางครั้งอาจเกิดจากการที่จุลินทรีย์ไม่สมดุล โดยมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น การรับประทานยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ความเครียดหรือความวิตกกังวล รวมทั้งการรับประทานอาหารและชนิดของอาหารมีผลต่อจุลินทรีย์ ได้แก่ อาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลและโปรตีนสูง เป็นต้น ทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถรับสารอาหารที่จำเป็นได้ครบถ้วน โดยเฉพาะพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (Probiotics) ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย

> กลับสารบัญ


ประโยชน์ของจุลินทรีย์

  • ช่วยในกระบวนการสร้างพลังงานจากอาหาร
  • ช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น
  • ปกป้องลำไส้จากเชื้อก่อโรค
  • กระตุ้นกระบวนการเผาผลาญ
  • ช่วยการย่อยอาหาร ย่อยไฟเบอร์
  • ช่วยระบบการขับถ่าย
  • สร้างสารที่จำเป็นต่อร่างกาย
  • เสริมระบบภูมิคุ้มกัน
  • มีส่วนช่วยการทำงานของสมอง/ตับ/ไต/ผิวหนัง และช่องคลอด
  • ช่วยควบคุมระบบไขมันในเลือด

> กลับสารบัญ


เมื่อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารไม่สมดุลจะเกิดอะไร

เมื่อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารไม่สมดุล เชื้อก่อโรคและเชื้อฉวยโอกาส จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น การทำหน้าที่ของจุลินทรีย์ที่ดีจะเสียไป ก่อให้เกิดความผิดปกติหรือโรคต่างๆ ตามมาได้ เช่น อาการท้องเสีย ท้องร่วง โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคลำไส้แปรปรวน โรคเบาหวาน(ดื้ออินซูลิน) โรคภูมิแพ้ อารมณ์แปรปรวน ภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล ภาวะอ้วน โรคมะเร็ง การย่อยและการดูดซึมสารอาหาร ความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้และโรคตับ เป็นต้น โดยปัจจุบันสามารถทราบได้ด้วยการตรวจความสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร Gut Microbiome ที่ใช้การเก็บตัวอย่างอุจจาระไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำมาหาปริมาณและประเภทของจุลินทรีย์ในลำไส้ว่ามีความสมดุลดีหรือไม่

> กลับสารบัญ


การตรวจความสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร Gut Microbiome Test

การตรวจสุขภาพเชิงลึกที่จะช่วยให้คุณทราบสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพและการเกิดโรคต่าง ๆ โดยใช้ Gut Microbiome Test ตรวจผ่านอุจจาระที่นำไปตรวจในห้องปฏิบัติการเป็นตัวชี้วัด เพื่อหาปริมาณและชนิดของแบคทีเรียในลำไส้ ถึงความสมดุลระหว่างจุลินทรีย์ชนิดดีและไม่ดี รวมทั้งยังสามารถแยกชนิดของจุลินทรีย์ว่ามีจุลินทรีย์ดีมากน้อยแค่ไหนได้อีกด้วย รวมทั้งจุลินทรีย์ที่พบมีผลต่อร่างกายอย่างไร ปริมาณเพียงพอต่อร่างกายหรือไม่

ซึ่งผลการตรวจความสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร จะช่วยให้แพทย์ประเมิน และค้นหาความเสี่ยงหรือวินิจฉัยสาเหตุของโรคที่อาจเกิดจากจุลินทรีย์ไม่สมดุลได้ โดยก่อนตรวจไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร แต่ต้องงดยาปฏิชีวนะ ประมาณ 3 วันก่อนตรวจ

> กลับสารบัญ


ใครบ้างที่ควรตรวจจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร

  • ผู้ที่มีอาการทางระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่บวกับสุขภาพการนอน เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท นอนหลับยาก
  • ผู้ที่เป็นสิวอักเสบ
  • ผู้ที่เป็นผื่นภูมิแพ้เรื้อรัง เป็นๆ หายๆ หรือเป็นหอบหืด
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญ
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอัลไซเมอร์
  • ผู้ที่ใช้ยาลดกรด เป็นประจำ

> กลับสารบัญ


จะทำให้จุลินทรีย์สมดุลและแข็งแรงได้อย่างไร

  • การใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อจำเป็นจริงๆเท่านั้น
  • รับประทานอาหารให้หลากหลาย โดยเฉพาะเส้นใยอาหารและอาหารหมักดองที่มีจุลินทรีย์ตัวเป็น ๆ เช่น กิมจิ
  • เสริมด้วยแบคทีเรียโพรไบโอติกส์ (Probiotics) และอาหารพรีไบโอติกส์ (Prebiotics)
  • ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ลด/หรือจัดการภาวะความเครียด

> กลับสารบัญ


ทั้งนี้การตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารไม่ใช่การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคโดยตรง หากต้องการเจาะจงการตรวจโรคต่าง ๆ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยหากพบความผิดปกติ เช่น ภาวะจุลินทรีย์ไม่สมดุล แพทย์จะให้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมแต่ละบุคคลต่อไป

พญ.ชุติมา ศิริดำรง พญ.ชุติมา ศิริดำรง

พญ.ชุติมา ศิริดำรง
เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
ศูนย์สุขภาพนครธน






ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย