โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เส้นเลือดในสมองตีบ แตก ตัน อันตราย

ศูนย์ : ศูนย์สมองและระบบประสาท

บทความโดย : นพ. ชาญวิทย์ อนุเคราะห์วิทยา

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ ภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ เพราะมีการตีบ แตก หรืออุดตันของเส้นเลือด ส่งผลให้สมองขาดเลือดและออกซิเจน ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เซลล์สมองค่อย ๆ ตายลง หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการ แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด (FAST) ให้สงสัยว่าเป็นอาการโรคหลอดเลือดสมอง อย่าวางใจ รีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพราะสมองรอไม่ได้!!! ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.นครธน ยกระดับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครบวงจร เพื่อชีวิตของผู้ป่วย


การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน

  1. หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน (ischemic stroke)
  2. หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) หรือเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage)

> กลับสารบัญ


โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตก หรืออุดตัน มีอาการอย่างไร?

สามารถสังเกตได้ตามหลัก F.A.S.T ดังนี้

  1. F = Face ใบหน้ามีอาการหน้าชา ปากเบี้ยว มุมปากตก กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก
  2. A = Arm แขน ขา อ่อนแรง เดินเซ ทรงตัวลำบาก อย่างเฉียบพลัน มักจะเป็นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
  3. S = Speech การพูด มีลักษณะพูดไม่ออก ลิ้นแข็ง หรือ พูดไม่ชัดอย่างทันทีทันใด
  4. T = Time เวลาที่เริ่มมีอาการ คือ รู้ว่าเริ่มมีอาการผิดปกติ หรือนับจากเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการปกติเป็นครั้งสุดท้าย และรีบไปโรงพยาบาลทันที เพื่อการตรวจวินิจฉัย และรักษา ให้ทันภายใน 4.5 ชม.

> กลับสารบัญ


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.นครธน ยกระดับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครบวงจร

ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.นครธน ยกระดับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครบวงจร เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย ตั้งแต่การตรวจคัดกรองค้นหาความสาเหตุโรคหลอดเลือดสมอง การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน หลังจากได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลที่หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit) โดยมีแพทย์เฉพาะทางโรคหลอดเลือดสมอง และทีมสหสาขาวิชาชีพดูแลตลอด 24 ชม. ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตั้งแต่การฝึกกลืน การทำกายภาพบำบัด ร่วมกับการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) และการฝึกกล้ามเนื้อมือด้วยหุ่นยนต์ฝึกมือ Hand Robotic ควบคู่กับการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน TDCS เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

ความชำนาญของทีมแพทย์

เรามีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านสมองและระบบประสาท แพทย์เฉพาะทางรังสีร่วมรักษา และศัลยแพทย์ ที่มีความชำนาญการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง พร้อมดูแลและรักษาผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง



> กลับสารบัญ


การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน

  • การซักประวัติอาการของผู้ป่วย การตรวจร่างกายเบื้องต้น
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI brain)

> กลับสารบัญ


การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน

  1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) สามารถรักษาได้ 2 วิธี ได้แก่
    • การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA)จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงนับจากมีอาการ และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายผู้ป่วยแล้ว โดยแพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือดอยู่ออกเพื่อช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง


    • การใส่สายสวนลากลิ่มเลือด (Clot Retrieval) กรณีเส้นเลือดที่ตีบหรืออุดตันเป็นเส้นเลือดใหญ่ โดยการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดแดงใหญ่พร้อมขดลวดที่ขาหนีบไปจนถึงจุดที่เกิดการอุดตัน แล้วดึงเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากหลอดเลือดสมองเพื่อเปิดรูของหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ด้วยเครื่องไบเพลน ดีเอสเอ Biplane DSA ซึ่งเป็นนวัตกรรมการที่ช่วยให้แพทย์สามารถทำหัตถการได้อย่างแม่นยำ และปลอดภัยต่อผู้ป่วย โดยไม่ต้องผ่าตัด ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้ทันท่วงที และฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว


  2. หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) จะต้องการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต โดยใหยาลดความดันโลหิตเพื่อป้องกันการแตกซ้ำ พร้อมทั้งหาสาเหตุของเส้นเลือดในสมองแตก ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง โดยการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเลือดที่ออกภายในสมองและขนาดของก้อนเลือด

> กลับสารบัญ



การดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Post Stroke Care)

หลังจากผ่านพ้นระยะวิกฤต ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke Unit โดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์เฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อเฝ้าติดตามอาการทางระบบประสาท ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือการกลับเป็นซ้ำ

  • เครื่องมือที่ช่วยในการดูแลผู้ป่วย

    เราใช้เครื่องเฝ้าสัญญาณชีพ, เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและชีพจร, EKG Monitor เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงจังหวะการเต้นของหัวใจ, และ Pneumatic Pump เพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน ลดความเสี่ยงของลิ่มเลือดที่อาจไปอุดตันที่สมอง นอกจากนี้ยังมีที่นอนลมเพื่อลดแรงกดและป้องกันการเกิดแผลกดทับ

  • การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย

    เมื่อผู้ป่วยมีอาการคงที่ จะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และการตรวจสอบภาวะกลืนลำบาก ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เรามีการฝึกกลืนด้วยเครื่อง Vital Stim เป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืนด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ช่วยลดความเสี่ยงในการสำลักและช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

  • การทำกายภาพบำบัด

    การทำกายภาพบำบัด ร่วมกับการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) และการฝึกกล้ามเนื้อมือด้วยหุ่นยนต์ฝึกมือ (Hand Robotic) ควบคู่กับการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน (TDCS) ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดในช่วงเวลา 6 เดือน หลังผู้ป่วยพ้นระยะวิกฤต หรือที่เรียกว่า "Golden Period" ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองของการฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพที่สุด

  • ทีมดูแลเฉพาะทาง

    เราให้การดูแลจากทีมแพทย์และพยาบาลเฉพาะทางตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงแพทย์ระบบประสาท, แพทย์ผ่าตัดสมอง, นักกายภาพบำบัด, นักกิจกรรมบำบัด, เภสัชกร และนักกำหนดอาหาร โดยมีเป้าหมายในการป้องกันและแก้ไขโรคแทรกซ้อนอย่างทันท่วงที การดูแลผู้ป่วยอย่างเอาใจใส่และการรักษาตามมาตรฐานสากลจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากอัมพฤกษ์อัมพาต ลดความพิการ และลดการเสียชีวิต

> กลับสารบัญ


การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำแล้ว การดูแลสุขอนามัยของตนเองก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตันได้ เช่น

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีเส้นใยมาก
  • ลดอาหารรสเค็ม อาหารคอเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง
  • ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
  • กรณีมีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะและรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
  • หยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำเสมอ

> กลับสารบัญ


ที่โรงพยาบาลนครธน เรามุ่งมั่นที่จะอยู่เคียงข้างผู้ป่วยในทุกช่วงเวลาของการรักษาและฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพอีกครั้ง



นพ. ชาญวิทย์ อนุเคราะห์วิทยา นพ. ชาญวิทย์ อนุเคราะห์วิทยา

นพ. ชาญวิทย์ อนุเคราะห์วิทยา
โรคหลอดเลือดสมองและการตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นความถี่สูง
ศูนย์สมองและระบบประสาท

นัดหมายแพทย์

ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย