เครื่องช่วยฟัง ตัวช่วยที่ทำให้คุณฟังชัดมากกว่าเดิม

ศูนย์ : ศูนย์โสต ศอ นาสิก

บทความโดย : นพ. นฤวัต เกสรสุคนธ์

เครื่องช่วยฟัง

เครื่องช่วยฟัง เป็นอีกตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน หรือผู้พิการทางการได้ยินสามารถรับฟังเสียงได้ดียิ่งขึ้น โดยกลุ่มผู้ที่มีความผิดปกติทางการได้ยินเหล่านี้ หากเป็นเด็กจะส่งผลต่อพัฒนาการทางภาษาช้า พูดไม่ชัด การเรียนแย่ลงได้ แต่หากเป็นผู้ใหญ่ อาจมีปัญหาในการสื่อสาร การทำงาน ที่อาจส่งผลกระทบในการดำรงชีวิตได้


ทำความรู้จัก เครื่องช่วยฟัง

เครื่องช่วยฟัง เป็นเครื่องขยายเสียงขนาดเล็ก ที่ย่อขนาดลงเพื่อใส่ติดไว้ที่หูของผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยิน ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ ไมโครโฟน ลำโพง และเครื่องขยายเสียง ลักษณะการทำงานของเครื่องช่วยฟัง คือ จะรับเสียงจากไมโครโฟน เข้าไปที่เครื่อง และทำการขยายเสียงทำให้ผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยิน ได้รับฟังเสียงได้ดียิ่งขึ้น

> กลับสารบัญ


เครื่องช่วยฟังมีกี่ระบบ

ระบบเครื่องช่วยฟังแบ่งได้ 2 ระบบ ได้แก่

  1. เครื่องช่วยฟังระบบอะนาลอค (Analog) เป็นระบบขยายเสียงที่เป็นมาตรฐานทั่วไป คือ เสียงเข้ามาเท่าไหร่ เครื่องจะขยายทุกเสียงที่ผ่านเข้ามาเท่านั้น
  2. เครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอล (Digital) เป็นระบบขยายเสียงพูดได้ชัดเจน และลดเสียงรบกวนได้มาก ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ในการปรับแต่งเสียงเพิ่มเข้ามา

> กลับสารบัญ


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

เครื่องช่วยฟังเหมาะกับใคร

  • ผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยิน ที่ไม่สามารถรักษาให้หายด้วยยาหรือการผ่าตัดรักษา
  • การสูญเสียการได้ยินที่มีผลกระทบต่อการสื่อความหมายด้วยการฟังและพูด
  • การสูญเสียการได้ยินที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านภาษาและการพูดในเด็ก
  • ผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินจากโรคหูที่อาจได้รับประโยชน์จากการผ่าตัดแต่มีข้อห้ามในการผ่าตัด เช่น เป็นโรคหัวใจ หูหนวก 1 ข้าง เป็นต้น

> กลับสารบัญ


ขั้นตอนการใส่เครื่องช่วยฟัง

  1. ผู้ป่วยจะต้องเข้ามาประเมินการได้ยินกับนักโสตสัมผัสวิทยา (นักแก้ไขการได้ยิน) ก่อนว่ามีระดับปกติหรือผิดปกติแบบไหน
  2. พบแพทย์โสต ศอ นาสิก ว่าโรคหูที่ทำให้ไม่ได้ยินสามารถรักษาได้ไหม
  3. หากทำการรักษาไม่ได้แล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการใส่เครื่องช่วยฟัง
  4. เลือกเครื่องช่วยฟัง และทำการประเมินการได้ยิน เพื่อปรับเครื่องให้เหมาะสมกับการได้ยินของแต่ละบุคคล

> กลับสารบัญ


วิธีการดูแลรักษาเครื่องช่วยฟัง

  1. ปิดเครื่องหลังเลิกใช้งานและควรเอาถ่านออกจากตัวเครื่องทุกครั้ง
  2. ระวังอย่าให้เครื่องตก และไม่ควรถือเครื่องสูงจากพื้น
  3. ระวังอย่าให้เครื่องโดนน้ำ หรือน้ำมันใส่ผม เจล หรือสเปรย์ฉีดผม
  4. เช็ดทำความสะอาดเครื่องโดยใช้ผ้าแห้ง
  5. ควรใช้ถ่านสำหรับเครื่องช่วยฟังโดยเฉพาะ
  6. เก็บเครื่องช่วยฟังให้พ้นมือเด็กหรือสัตว์เลี้ยงและอย่าวางเครื่องไว้ในที่ร้อนหรือเย็นเกินไป
  7. ควรมีการเก็บใส่กล่องดูดความชื้นสัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง
  8. ไม่ควรซ่อมเครื่องช่วยฟังเอง

> กลับสารบัญ



หากพบความผิดปกติของหู เริ่มพูดเสียงดังขึ้น หรือตะโกนคุยกัน ไม่สามารถได้ยินเสียงรอบข้างได้ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด และทำการรักษาได้อย่างทันที ทั้งนี้การเลือกเครื่องช่วยฟังที่ดี และเหมาะสมกับไม่ได้นึกถึงเฉพาะเรื่องการสูญเสียการได้ยินเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นจะต้องคำนึงถึงอยู่ด้วย ทั้งนี้สามารถขอข้อมูลของเครื่องช่วยฟังได้จากแพทย์โสต ศอ นาสิก หรือปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้เลย



นพ.นฤวัต เกสรสุคนธ์ นพ.นฤวัต เกสรสุคนธ์

นพ.นฤวัต เกสรสุคนธ์
โสตศอนาสิกวิทยา/โสตศอนาสิกวิทยาการนอนหลับ
ศูนย์โสต ศอ นาสิก

นัดหมายแพทย์

ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย