Sleep Medicine โรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ

ศูนย์ : ศูนย์โสต ศอ นาสิก

บทความโดย : นพ. นฤวัต เกสรสุคนธ์

นอนไม่หลับ

โรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับสามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งก็จะมีอาการแตกต่างกันไป เช่น นอนไม่หลับ หลับมาก ๆ หลับได้ทั้งวัน ตื่นมายืนยังหลับได้อีก นอนหลับแล้วมีการหายใจแปลกๆ หยุดหายใจขณะหลับ หรือหลับแล้วมีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น ละเมอ ฝันร้าย พูดคนเดียว เป็นต้น โดยแต่ละประเภทจะมีอาการและสาเหตุที่แตกต่างกันไป


โรคเกี่ยวกับการนอนหลับในผู้ใหญ่ สามารถแบ่งได้ 8 กลุ่ม ดังนี้

  1. ภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia)

    คือ พวกนอนไม่หลับ มีหลายแบบ บางรายหลับแล้วตื่น หลังจากนั้นก็นอนไม่หลับอีก บางรายกว่าจะหลับตาได้ลำบากมาก บางรายมีอาการผิดปกติ หายยาก คือ คิดว่าตัวเองไม่เคยหลับตลอดชีวิต แต่พอลองทำ sleep test ก็พบว่าหลับ แสดงว่าสมองของคนไข้รายนั้นหลอกตัวเอง ส่วนใหญ่ที่พบบ่อยคือ นอนไม่หลับเนื่องจากว่ามีความเครียดทางจิตใจ ปัจจุบันการรักษาเห็นพ้องต้องกันแล้วว่าไม่จำเป็นต้องรีบให้ยานอนหลับเป็นสิ่งแรก แต่ถ้าต้องให้ยานอนหลับ ไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์ เพราะสมองจะดื้อยา อาจทำให้ต้องใช้ยามากขึ้นหรือต้องเปลี่ยนยา

  2. โรคง่วงนอนมากผิดปกติ (Hyper Somnia)

    พวกที่หลับมากๆ ซึ่งมีหลายกรณี เช่น หลับได้ทั้งวัน ตื่นมายืนยังหลับ กลุ่มประเภทนี้ยิ่งน่ากลัว เรียกว่า NARCOLEPSY เป็นโรคทางพันธุกรรม สาเหตุมาจากโปรตีนบางตัวลดน้อยลง บางรายเป็นคนที่ต้องนอนนานๆ เกิน 9 หรือ 10 ชั่วโมง แต่ตื่นขึ้นมาทุกอย่างก็เรียบร้อยดี เป็นพวก Long sleeper

  3. การหายใจผิดปกติขณะหลับ (Sleep Breathing Disorder)

    กลุ่มนี้เจอได้ในคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจและคนไข้โรคปอด มีปัญหาเรื่องนอนหลับแล้วมีการหายใจแปลกๆ ซึ่งเป็นได้หลายอย่าง เช่น หายใจแผ่วเบา ช้าลงหรือหยุดหายใจที่เรียกว่า Obstructive Sleep Apnea

  4. ภาวะนอนละเมอ (Parasomnia)

    เป็นกลุ่มที่หลับง่าย ตื่นปกติ หายใจปกติ แต่มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น บางคนชอบละเมอ บางคนฝันร้าย บางคนโดนหรือถูกผีอำ บางคนพูดคนเดียว

  5. Motor Disorder

    กลุ่มคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องมอเตอร์หรือกล้ามเนื้อในตอนนอนหลับ เช่น บางคนนอนแล้วมีขากระตุกขึ้นมาเป็นช่วงๆ หรือบางรายนอนปกติแต่พอตื่นขึ้นมาแล้วมีความรู้สึกว่าขาตึงๆ ขาเจ็บๆ เหมือนกับว่ามีตัวมด ตัวหนอนมาไต่อยู่ที่ขาต้องขยับๆ ขาแล้วอาการประเภทนี้จะดีขึ้น ภาวะนี้เรียกว่า PLMD หรือ RSL

  6. กลุ่มกลางคืนมีอาการ (REM Behavior Disorder)

    กลุ่มนี้กลางคืนมีอาการ เช่น เวลาฝันจะรู้ตัวว่าฝัน แต่แขนขาของเราไม่ได้ขยับ บางคนกลุ่มนี้ฝันแล้วร่างกายแขนขาจะขยับด้วย ส่วนใหญ่เกิดในผู้ชายวัยกลางคน ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่มักจะพบกลุ่มคนไข้นี้ ทำให้ในอนาคตมีโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อม อาจจะเป็น Dementia, Alzheimer, Parkinson ฯลฯ

  7. ภาวะนอนไม่เป็นเวลา (Circadian Disorder)

    พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คือคนที่มีปัญหาเวลาตื่นและเวลานอน ตัวอย่างที่พบบ่อยคือผู้สูงอายุ เวลานอน 1 ทุ่มง่วง อยากจะหลับ พอหลับแล้วตื่นอีกทีกลางดึก ในขณะที่คนอื่นๆ หลับ ซึ่งเป็นเรื่องของช่วงเวลาในการนอน แต่ถ้าเป็นวัยรุ่นก็จะนอนดึก ประมาณเที่ยงคืน หากนอนก่อนหน้านั้นจะทำให้นอนไม่หลับ แต่พอหลับแล้วก็จะตื่นอีกทีตอนช่วงสายๆ ในขณะที่คนไข้อีกกลุ่มหนึ่งคือ คนไข้กลุ่มตาบอด ตาบอดไม่เห็นแสง ซึ่งเวลาของเขาไม่ใช่ 24 ชั่วโมง เวลาของเขาจะเป็น 24 ชั่วโมงกว่านิดๆ แล้วจะค่อยๆ เลื่อน ขยับไปเอง อีกกลุ่มหนึ่งคือคนไข้กลุ่มพาร์กินสัน กลุ่มนี้เรียกว่านอนเป็นเวลาไม่ได้ โดยมักจะหลับและตื่นไม่เป็นเวลา ไม่มีเวลาที่แน่นอน รวมถึงกลุ่มคนที่ทำงานผิดเวลาหรือทำงานเป็นกะ เช่น พยาบาล แอร์โฮสเตส พนักงานโรงงาน

  8. Sleep Sex Disorder

    เป็นภาวะใหม่ที่ถกเถียงกันอยู่ว่าปกติหรือไม่ คนไข้มีพฤติกรรมทางเพศเวลาหลับนอนและไม่รู้ตัว

> กลับสารบัญ


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

โรคเกี่ยวกับการนอนหลับในเด็ก สามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. ภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia)

    อาการนี้เป็นเหมือนกับของผู้ใหญ่ คือ การนอนไม่หลับ ซึ่งในเด็กอาจมีสาเหตุมาจากต้องการให้ผู้ปกครองมาอยู่ด้วย ไม่อย่างนั้นจะนอนไม่หลับ หรือบางครั้งจะต้องนอนในเตียงแล้วมีตุ๊กตาตัวนี้อยู่ด้วย กรณีนี้ส่วนใหญ่จะมีวิธีการแก้ไข้คือการปรับพฤติกรรม

  2. โรคง่วงนอนมากผิดปกติ (Hyper Somnia)

    กลุ่มคนไข้เด็กกลุ่มนี้มีอาการคือ นอนมาก หรือมีปัญหา Narcolepsy ส่วนมากจะรู้ตัวตั้งแต่เด็ก อาจมีประวัติพันธุกรรมเกี่ยวข้องกับการหายใจตอนนอนของเด็ก ซึ่งจะต่างจากผู้ใหญ่ คือในผู้ใหญ่ Sleep Apnea เกิดในคนไข้ผู้ชาย คอใหญ่ อ้วน แต่กรณีของเด็กจะต่างจากผู้ใหญ่เล็กน้อย คือ จะพบในเด็กธรรมดา อ้วนหรือไม่อ้วนก็ได้ แต่ต่อมทอนซิลโตทำให้ทางเดินหายใจถูกปิดได้ง่าย หากตัดต่อมทอนซิลออกก็มีโอกาสหายเพิ่มมากขึ้น

  3. Motor Disorder

    ในเด็กจะยิ่งแสดงอาการมากกว่าผู้ใหญ่ชัดเจน เช่น นอนละเมอ เด็กจะมีปัญหาอีกอย่างเรียกว่า Night Terror ต่างจากฝันร้ายก็คือ ฝันร้ายนี้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วจะจำได้ Night Terror ในเด็กนี้ยิ่งน่ากลัวสำหรับคุณพ่อคุณแม่มากๆ เพราะเมื่อลูกหลับแล้วจู่ๆ ก็ลุกขึ้นมาร้องกรี๊ดลั่น ตาเหม่อลอย พ่อแม่เรียกก็ไม่รู้เรื่อง แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นอะไร ความผิดปกตินี้จะเกิดขึ้นมาในช่วงตื่นตอนกลางคืนเท่านั้น แล้วก็จะดีขึ้นไม่ต้องกินยาอะไรเป็นพิเศษ เด็กบางคนก่อนนอนจะมีการขยับหัวแปลกๆ หรือมีการบิดตัว ซึ่งกรณีนี้บางครั้งพ่อแม่ก็ต้องเช็คให้มั่นใจว่าไม่ใช่อาการชัก เพราะในทางประสาทวิทยาจะมีคนไข้กลุ่มหนึ่งที่ชักในเวลากลางคืน ซึ่งจะไม่สามารถรู้ได้เลยหากไม่ทำ sleep test หรือถ่ายวิดีโอไว้

    ทั้งนี้ปกติแล้วคนทั่วไปหากหลับจะมีการกระตุกได้บ้างเล็กน้อย หรือที่เค้าเรียกว่า Hypnic Jerk เป็นการกระตุกเพียงเล็กน้อย ไม่ถือว่าผิดปกติ แต่หากเกิดการกระตุกแปลกๆ ซ้ำๆ อาจตั้งข้อสงสัยได้ว่าเหมือนอาการชัก ซึ่งวิธีการวินิจฉัยที่แน่ชัดคือการทำ sleep test ซึ่งก็จะมีกล้องวิดีโอบันทึกภาพขณะหลับไว้ ทำให้เห็นลักษณะการขยับร่างกาย สามารถรู้ได้ว่าเป็นอาการชักหรือไม่ชัก

  4. ภาวะนาฬิกาชีวิตแปรปรวน (Circadian Rhythm Disorders)

    เวลานอนและตื่นของเด็กไม่ตรงกับเวลาปกติ อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตารางเวลา หรือการใช้แสงสีฟ้าจากหน้าจอมากเกินไป

> กลับสารบัญ



ดังนั้นหากใครที่มีอาการเกี่ยวกับการนอนเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ ก็ควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิกเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างตรงจุด สามารถปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลจากแพทย์ออนไลน์ได้เลย



นพ.นฤวัต เกสรสุคนธ์ นพ.นฤวัต เกสรสุคนธ์

นพ.นฤวัต เกสรสุคนธ์
โสตศอนาสิกวิทยา/โสตศอนาสิกวิทยาการนอนหลับ
ศูนย์โสต ศอ นาสิก

นัดหมายแพทย์

ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย