มะเร็งปากมดลูก รู้ทัน ป้องกันได้

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพสตรี

บทความโดย :

มะเร็งปากมดลูก รู้ทัน ป้องกันได้

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในผู้หญิง รองมาจากมะเร็งเต้านม ในแต่ละปีพบว่าผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งสูงถึง 10,000 คน สาเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ( HPV : Human Papillomavirus) เชื้อไวรัสที่แพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง หรือการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้เชื้อเอชพีวีมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่สำหรับผู้หญิง สายพันธุ์ 16 และ 18 สองสายพันธุ์นี้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 70% โดยสามารถแบ่งคร่าวๆ ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ


กลุ่มความเสี่ยงสูง กลุ่มความเสี่ยงต่ำ
เช่น สายพันธุ์ 16,18 ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งชนิดอื่นๆ เช่น สายพันธ์ 6,11 ก่อให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ หรือก็คือหูดที่อวัยวะเพศที่ทำให้รู้สึกเจ็บไม่สวยงาม


ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี

  • มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  • การมีบุตรหลายคน หรือมากกว่า 3 คนขึ้นไป
  • มีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน
  • มีประวัติในครอบครัว เช่น มีญาติผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูก
  • มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เริม
  • รับประทานยาคุมติดต่อกันเป็นเวลานาน (มากกว่า 5 ปี ความเสี่ยงยิ่งเพิ่มขึ้น)
  • พฤติกรรมอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานผักผลไม้น้อยเกินไป

> กลับสารบัญ


รู้ได้อย่างไรว่าติดเชื้อเอชพีวี

การติดเชื้อเอชพีวีส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ แต่อาการมักจะปรากฏขึ้นหลังจากที่มะเร็งเข้าสู่ระยะลุกลาม เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมานอกช่วงรอบเดือน หรือมีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ (ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน) ตกขาวมีเลือดหรือมีหนอง ช่องคลอดมีกลิ่น โดยหากพบอาการผิดปกติที่น่าสงสัย ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทันที

การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างช่องคลอด จากนั้นจะทำการป้ายเซลล์จากมดลูก ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติ หรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้

> กลับสารบัญ


วิธีการป้องกันมะเร็งปากมดลูก

การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เป็นการป้องกันแบบปฐมภูมิต่อการติดเชื้อ และรอยโรคที่เกิดจากเอชพีวีบางสายพันธุ์ที่ก่อมะเร็ง แต่ไม่สามารถทดแทนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ จึงแนะนำให้ทำควบคู่กับการตรวจคัดกรองด้วยการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี


วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก


> กลับสารบัญ


ฉีดวัคซีน HPV แบบไหนดีที่สุด

  • ประสิทธิภาพวัคซีนสูง หากฉีดในวัยที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
  • ฉีดในวัยที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี จากงานวิจัยพบว่า ร่างกายของเด็กผู้หญิงสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสนี้ได้ดีในช่วง 9-15 ปี ซึ่งสามารถฉีดวัคซีนเพียง 2 ครั้ง แต่ได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าการฉีด 3 ครั้ง
  • ผู้หญิงอายุ 9-26 ปี ควรฉีดวัคซีน HPV โดยเน้นให้ฉีดช่วงอายุ 11-12ปี
  • เด็กผู้ชายอายุ 9-26 ปี สามารถฉีดวัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์เพื่อป้องกันโรคหูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนัก เน้นให้ฉีดช่วงอายุ 11-12 ปี

> กลับสารบัญ


การฉีดวัคซีน HPV ต้องฉีดให้ครบถ้วนทั้งหมด 3 ครั้ง

  • ครั้งที่ 1 : ฉีดในวันที่กำหนดเลือก
  • ครั้งที่ 2 : ฉีดหลังจากเข็มแรก 1-2 เดือน
  • ครั้งที่ 3 : ฉีดหลังจากเข็มที่แรก 6 เดือน

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกมีด้วยการ 2 ชนิด ดังนี้


ครอบคลุมสายพันธุ์ ชนิด 2 สายพันธุ์ (16, 18) ชนิด 4 สายพันธุ์ (6, 11, 16, 18)
สามารถป้องกัน ผู้หญิง ผู้ชาย ผู้หญิง
  • มะเร็งปากมดลูก
  • มะเร็งช่องคลอด
  • มะเร็งปากช่องคลอด
  • มะเร็งทวารหนัก
  • หูดหงอนไก่
  • มะเร็งปากมดลูก
  • มะเร็งช่องคลอด
  • มะเร็งปากช่องคลอด
  • มะเร็งทวารหนัก
  • หูดหงอนไก่

> กลับสารบัญ


ข้อควรระวัง

  • ไม่ควรฉีดวัคซีนเอชพีวีในผู้หญิงตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์ ทั้งนี้หากได้รับวัคซีนเข็มแรกก่อนการตั้งครรภ์ สามารถมารับวัคซีนเข็มที่สองได้ตามปกติหลังจากคลอดบุตรเรียบร้อยแล้ว
  • ผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนเอชพีวีได้คือผู้ที่มีภาวะแพ้ ต่อสารประกอบในวัคซีน เช่น ยีสต์ และสารเสริมฤทธิ์ชนิดต่างๆ


ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย