ล้างจมูกในเด็กอย่างไรให้ปลอดภัย เหมาะสมกับช่วงวัย
ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพเด็ก
ด้วยปัจจุบันโรคหวัด โรคภูมิแพ้ และไซนัสอักเสบ เป็นปัญหาสำหรับเด็กทำให้มีน้ำมูก เกิดการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งการสั่งน้ำมูกอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็นต้องล้างทำความสะอาดจมูก และดูดเอาน้ำมูกออกร่วมด้วย เพื่อไม่ให้มีการคั่งค้างของน้ำมูกในโพรงจมูก
การล้างจมูกมีประโยชน์อย่างไร
- ช่วยล้างน้ำมูกที่เหนียวข้นที่ไม่สามารถระบายออกเองได้ทำให้โพรงจมูกสะอาด
- อาการหวัดเรื้อรังดีขึ้น
- การระบายหนองจากไซนัสดีขึ้น
- ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคจากจมูกและไซนัสไปสู่ปอด
- ช่วยลดจำนวนเชื้อโรคของเสียสารก่อภูมิแพ้ และสารที่เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อสารก่อภูมิแพ้
- ให้ความชุ่มชื้นแก่เยื่อบุจมูก
- บรรเทาอาการคัดแน่นจมูก ระคายเคืองในจมูก
- การล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่นจมูกทำให้ยาพ่นจมูกมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อุปกรณ์ที่ใช้ในการล้างจมูก
- น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% แนะนำให้ใช้ขวดละ 100 ซีซี (น้ำเกลือที่เหลือให้เททิ้ง ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่ หรือเทกลับเข้าขวดน้ำเกลือเดิม)
- ถ้วยสะอาดสำหรับใส่น้ำเกลือ ภาชนะรองน้ำมูกและเสมหะ กระดาษทิชชู
อุปกรณ์สำหรับเด็กเล็ก (1-5 ปี) | อุปกรณ์สำหรับเด็กโต (6 ปีขึ้นไป) |
---|---|
กระบอกฉีดยาพลาสติก
|
กระบอกฉีดยาพลาสติกขนาด 10-20 ซีซี (ไม่ใส่หัวเข็ม) |
ลูกยางแดง สำหรับดูดน้ำมูกและเสมหะ
|
วิธีล้างจมูก
วิธีล้างจมูกในเด็กเล็ก (1-5 ปี) | วิธีล้างจมูกในเด็กโต (6 ปีขึ้นไป) |
---|---|
|
วิธีที่ 1
|
วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูก
ให้ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกให้สะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเติบโตและเพิ่มปริมาณโดย
- กระบอกฉีดยาและภาชนะที่ใส่น้ำเกลือใ ห้ล้างน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน ล้างด้วยน้ำประปาจนหมดน้ำสบู่ ผึ่งให้แห้ง
- ล้างลูกยางแดงด้วยน้ำสบู่ทั้งภายนอกและภายใน ล้างตามด้วยน้ำประปาจนสะอาด บีบน้ำที่ค้างในลูกยางออกจนหมด วางคว่ำในภาชนะที่สะอาด โดยคว่ำปลายลูกยางแดงลง ควรนำไปต้มในน้ำเดือดวันละครั้ง โดยดูดน้ำเดือดเข้ามาในลูกยางแดง ต้มประมาณ 5 นาที เสร็จแล้วบีบน้ำที่ค้างอยู่ในลูกยางแดงออกจนหมด วางคว่ำในภาชนะที่สะอาด โดยคว่ำปลายลูกยางแดงลง
วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูก
ให้ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกให้สะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเติบโตและเพิ่มปริมาณโดย
- กระบอกฉีดยาและภาชนะที่ใส่น้ำเกลือให้ล้างน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจานล้างด้วยน้ำประปาจนหมดน้ำสบู่ ผึ่งให้แห้ง
- ล้างลูกยางแดงด้วยน้ำสบู่ทั้งภายนอกและภายใน ล้างตามด้วยน้ำประปาจนสะอาด บีบน้ำที่ค้างในลูกยางออกจนหมด วางคว่ำในภาชนะที่สะอาด โดยคว่ำปลายลูกยางแดงลง ควรนำไปต้มในน้ำเดือดวันละครั้ง โดยดูดน้ำเดือดเข้ามาในลูกยางแดง ต้มประมาณ 5 นาที เสร็จแล้วบีบน้ำที่ค้างอยู่ในลูกยางแดงออกจนหมด วางคว่ำในภาชนะที่สะอาด โดยคว่ำปลายลูกยางแดงลง
ควรล้างจมูกบ่อยแค่ไหน
อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ช่วงตื่นนอนตอนเช้าและก่อนเข้านอน หรือเมื่อรู้สึกว่ามีน้ำมูกมากหรือแน่นจมูก หรือก่อนใช้ยาพ่นจมูกแนะนำให้ทำในช่วงท้องว่างเพราะจะได้ไม่เกิดการอาเจียน
การล้างจมูกมีอันตรายหรือไม่
ถ้าทำได้ถูกต้องและในเวลาที่เหมาะสมไม่น่าจะมีอันตรายอาจมีอันตรายเกิดขึ้นได้ เช่น การสำลัก การนำเชื้อเข้าไปในโพรงไซนัส ปัญหาการสำลักจะไม่เกิดขึ้น ถ้าได้เรียนรู้การล้างจมูกได้ถูกต้องและควรล้างจมูกก่อนเวลารับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารแล้วอย่างน้อย 2 ชม. ขึ้นไป เพื่อป้องกันการอาเจียนหรือสำลัก
ข้อควรระวัง
น้ำเกลือและอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกต้องสะอาด โดยเฉพาะน้ำเกลือไม่ควรใช้ขวดใหญ่ เพราะการเปิดทิ้งไว้และใช้ต่อเนื่องนานกว่าจะหมด จะทำให้มีเชื้อโรคสะสมอยู่ได้ โดยทั่วไปควรใช้ขวดละ 100 ซีซี เพื่อให้หมดเร็วจะได้ไม่เกิดการติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้ควรล้างจมูกเมื่อมีน้ำมูกเหนียวข้นจำนวนมาก (ถ้าน้ำมูกใสและมีจำนวนเล็กน้อยให้สั่งออกมา) หลังฉีดน้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูก ให้สั่งน้ำมูกออกมาทันที ไม่ควรกลั้นหายใจเพื่อกักน้ำเกลือให้ค้างอยู่ในจมูกนาน เพราะน้ำเกลืออาจจะไหลย้อนไปในไซนัส และการส่งน้ำมูกให้สั่งเบาๆ ไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง เพราะอาจทำให้แก้วหูทะลุได้
บทความทางการแพทย์ศูนย์สุขภาพเด็ก