อ้วนแล้วเสี่ยง หลายโรคถามหา

ศูนย์ : ศูนย์หัวใจ

บทความโดย : นพ. ศิรพัชร์ พูนวุฒิกุล

อ้วนแล้วเสี่ยง หลายโรคถามหา

รู้หรือไม่? การมีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือ อ้วน นั้นส่งผลต่อสมรรถนะในการทำงาน การใช้ชีวิต บางคนอ้วนมากจนช่วยเหลือตัวเองได้น้อย เคลื่อนตัวไปไหนมาไหนลำบาก หรือขยับตัวไม่ได้เลย รวมทั้งทำให้เสี่ยงต่อโรคอันตรายอื่นๆ ที่รักษาได้ยากและส่งผลร้ายต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ใขมันในเลือดสูง ข้อเข่าเสื่อม โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น และยิ่งอ้วนมากยิ่งจะมีโอกาสเสียชีวิตได้เร็วกว่าคนทั่วไป


จะรู้ได้ไงว่าคุณอ้วนแล้ว

อ้วน เป็นภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากเกินปกติบางคนอาจสังเกตได้จากลักษณะการอ้วนลงพุงซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ปัจจุบัน ภาวะ "อ้วน" ถือว่าเป็นโรคที่ต้องการการรักษาเช่นเดียวกับโรคเรื้อรังอื่นๆ ซึ่งโรคอ้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพทางร่างกาย จิตใจ ระบบเผาผลาญ ของร่างกายและคุณภาพชีวิต ยิ่งปล่อยไว้นาน โรคอ้วนนำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนมากมายกว่า 200 โรค และต้องการการรักษาในระยะยาว

วิธีการตรวจสอบว่ามีภาวะอ้วนหรือไม่ ให้คำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI (Body Mass Index) ซึ่งมีวิธีคำนวณ ดังนี้ นำน้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง หรือ BMI (ดัชนีมวลกาย) = น้ำหนัก (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง2 (เมตร)

> กลับสารบัญ


การแปรผลค่าดัชนีมวลกาย ดังนี้

เมื่อเกิดอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก รู้สึกเจ็บร้าวไปที่ลำคอ ขากรรไกร ไหล่และแขนซ้าย เจ็บเมื่อออกแรง สำหรับโรคกรดไหลย้อน เจ็บหน้าอกเวลาหายใจลึกๆ หรือไอ แต่ไม่ร้าวไปบริเวณขากรรไกร ไหล่ หรือแขน มีอาการมากขึ้นหลังมื้ออาหาร

ทั้งนี้ทั้งนั้นการหาสาเหตุที่แท้จริงขณะที่มีอาการเจ็บหน้าอกนั้นเป็นเรื่องยาก แต่หากสามารถระบุอาการอื่นๆ ร่วมด้วยได้ ก็จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ง่ายขึ้น

BMI (ดัชนีมวลกาย) ค่าแปรผล
หากผลออกมาน้อยกว่า<18.5 น้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน หรือผอม
หากผลออกมา 18.5 – 22.9 น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
หากผลออกมา 23 – 24.9 น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
หากผลออกมา 25 – 29.9 อ้วนระดับ 1
หากผลออกมา มากกว่าหรือเท่ากับ ≥ 30 อ้วนระดับ 2

ทั้งนี้ น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของผู้ชายที่รูปร่างสมส่วน ค่า BMI จะอยู่ที่ 22 - 23 ในขณะที่หญิงที่รูปร่างสมส่วน ค่า BMI จะอยู่ที่ 19-20

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าค่า BMI จะอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่หากมีเส้นรอบเอวที่มากเกิน มีความเป็นไปได้ว่ามีไขมันสะสมที่ช่องท้องหรืออวัยวะภายในช่องท้องมากเกินไป หรืออาจเรียกอีกอย่างว่า ภาวะอ้วนลงพุงได้

> กลับสารบัญ


สาเหตุของโรคอ้วน

สาเหตุจริงๆ ยังไม่ทราบแน่ชัด โรคอ้วนมักจะมีสาเหตุที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล อาทิ

  • ลักษณะทางพันธุกรรมกำหนดรูปร่างและความอยากอาหารของแต่ละคน
  • สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายส่งผลต่อความหิวความอิ่ม ประเภทอาหาร และการใช้พลังงาน เช่น ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
  • ในคนส่วนใหญ่ความเครียดมีผลต่อความหิวที่มากขึ้น
  • ยาบางชนิดสามารถเพิ่มความอยากอาหารและส่งผลต่อระบบเผาผลาญของคุณได้
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่ให้พลังงานสูงเกินความจำเป็นของร่างกาย เช่น ไขมันจากอาหารประเภททอด คาร์โบไฮเดรตจากอาหารประเภทแป้ง ของหวาน น้ำตาล เป็นต้น

> กลับสารบัญ


อ้วนแล้วเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง

  • โรคอ้วน ทำให้มีโอกาสเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดได้ง่าย เช่น หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ เลือดแข็งตัวง่าย ทำให้เกิดการอุดตันหลอดเลือดที่เลี้ยงสมองหรือหัวใจ ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจวาย อัมพาต หรือเสียชีวิตได้
  • ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เป็นเบาหวานง่าย ไตวาย ไขมันในเลือดสูง
  • เสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ง่วงซึมในตอนตื่น
  • โรคนิ่วในถุงน้ำดี
  • โรคความเสื่อมของข้อต่อต่าง ๆ เช่น ข้อเข่า ปวดหลัง ปวดเอว ข้ออักเสบ
  • เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะ เร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

> กลับสารบัญ


การวินิจฉัยภาวะอ้วน

การตรวจหาภาวะอ้วนทำได้ด้วยการหาค่า BMI และการตรวจวัดรอบเอว ส่วนการตรวจเพิ่มเติมเมื่อทราบว่าผู้ป่วยกำลังเผชิญกับภาวะอ้วน ได้แก่ การตรวจวัดความดันโลหิต การตรวจหาระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด เพื่อให้ทราบผลความผิดปกติแล้วนำไปสู่การวางแผนรักษาต่อไป

> กลับสารบัญ


การรักษาภาวะอ้วน

1. การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง

โดยส่วนใหญ่ภาวะอ้วน สามารถรักษาได้ด้วยการดูแลสุขภาพด้วยตนเองในเบื้องต้น ในกรณียังไม่มีปัญหาสุขภาพที่รุนแรงจนเป็นโรคแทรกซ้อนอันตราย เพียงแต่มีปริมาณไขมันสะสมมากกว่าเกณฑ์ ได้แก่

  • การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ โดยเน้นนานไม่เน้นหนัก ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ต้องมีแรงกระแทกสูง กระโดด หรือทำอะไรที่เคลื่อนไหวเร็วเกินไป เช่น การเดินเร็ว ปั่นจักรยาน กิจกรรมว่ายน้ำ หรือกิจกรรมที่ไม่เหนื่อยมาก แต่ต้องทำมากกว่า 20 นาทีขึ้นไป
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยควบคุมอาหารที่มีแคลอรี่สูง ลดแป้ง ลดอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำหวาน ทานโปรตีนให้เพียงพอประมาณ 1.0 กรัมต่อกิโลกรัม เช่น น้ำหนัก 60 กิโลกรัมก็ควรได้รับโปรตีน 60 กรัมต่อวัน เช่น อกไก่ 100 กรัมมีโปรตีน 23 กรัม, ไข่ 1 ฟองมีโปรตีน 7 กรัม, เนื้อกุ้ง 100 กรัมมีโปรตีน 21 กรัม เป็นต้น

2. การรักษาทางการแพทย์

หากว่าภาวะอ้วนนั้นอยู่ในเกณฑ์อันตราย มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน มีโรคประจำตัว หรือมีโรคร่วมในกลุ่ม NCDS และไม่สามารถลดปริมาณไขมันได้ด้วยวิธีปกติได้ แพทย์จะพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละบุคคลได้แก่

  • การใช้ยาลดน้ำหนัก หรือ ยาลดความอยากของอาหาร เช่น ปากกาลดน้ำหนัก ซึ่งช่วยให้ผู้ที่ได้รับยารู้สึกอิ่มและรับประทานได้น้อยลง
  • การผ่าตัดกระเพาะอาหาร (Bariatric surgery) เป็นทางเลือกสำหรับผู้มีปัญหาน้ำหนักเกินอย่างมาก ช่วยให้พื้นที่รับอาหารน้อยลง หิวน้อยลง อิ่มไวขึ้น ลดน้ำหนักได้ที่ต้นเหตุ โดยการรักษาด้วยวิธีนี้จะอยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์ และข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น ผู้ป่วยดัชนีมวลกาย 37.5 ขึ้นไป หรือ ผู้ป่วยดัชนีมวลกาย 32.5 ขึ้นไป ร่วมกับมีโรคประจำตัวที่ เกี่ยวพันกับโรคอ้วน

> กลับสารบัญ


อย่างไรก็ตามผู้ที่มีภาวะอ้วน ไม่ควรซื้อยาลดน้ำหนักกินเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะยามีผลข้างเคียงหลายอย่างที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ ใครที่ประสบปัญหาจากความอ้วนสามารถเข้ามารับการรักษาและขอคำปรึกษาได้โดยส่งข้อมูลปรึกษาแพทย์ออนไลน์ข้างล่างนี้ได้เลย




ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย