เคยสงสัยไหม? ตรวจหัวใจ “EST” กับ “Echo” ต่างกันอย่างไร

ศูนย์ : ศูนย์หัวใจ

บทความโดย : นพ. ศิรพัชร์ พูนวุฒิกุล

เคยสงสัยไหม? ตรวจหัวใจ “EST” กับ “Echo” ต่างกันอย่างไร

เพราะหัวใจเป็นสิ่งสำคัญ หากหัวใจผิดปกติแล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ อีกมากมาย การตรวจสุขภาพหัวใจจึงเป็นสิ่งแรกๆ ที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้นการตรวจความผิดปกติของสุขภาพหัวใจ อย่างการตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะเดินสายพาน EST และการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง Echo จึงมีบทบาทในการช่วยค้นหาความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจได้ แต่เคยสงสัยไหมว่า? การตรวจทั้งสองแบบนี้เป็นอย่างไร มีความแตกต่างกันแค่ไหน แล้วแบบไหนถึงเหมาะสมกับเรากันแน่นะ ไปไขข้อสงสัยที่ว่านี้กันดีกว่า


หลักการทำงาน

EST : ใช้หลักการกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เหมือนการออกกำลังกาย เมื่อมีการกระตุ้นหัวใจให้มากขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจ ก็ต้องการเลือดมาเลี้ยงหัวใจมากขึ้น หากผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตันอยู่ ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ มีผลทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ บ่งชี้ว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

Echo : ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงที่เรียกว่า อัลตราซาวด์ เมื่อคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านอวัยวะต่างๆ จะเกิดสัญญาณ สะท้อนกลับ ที่แตกต่างกันระหว่างน้ำและเนื้อเยื่อ คอมพิวเตอร์จะนำเอาสัญญาณเหล่านี้มาสร้างเป็นภาพแสดง การทำงานของหัวใจ การบีบตัว และลักษณะทางกายภาพของหัวใจ


เหมาะกับใคร

EST : ผู้ใหญ่กลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไปที่มีอาการแน่นหน้าอกเวลาออกแรง ทั้งที่มีและไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอด เลือดหัวใจตีบ หรือผู้ที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกบ่อยๆ จากการออกกำลังกาย และกลุ่มนักกีฬา

Echo : ผู้ที่มีอาการบวมและหอบเหนื่อย ซึ่งสงสัยว่าอาจเกิดจากโรคหัวใจ และผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ


การตรวจวินิจฉัย

EST : ตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะหลอดเลือดตีบตัน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาด เลือด

Echo : วินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับการทำงาน หรือการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ การไหลเวียนของเลือดในหัวใจ การเกิดลิ่มเลือดในหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ และตำแหน่งหลอดเลือดต่างๆ ที่เข้าและออกจากหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ และโรคของเยื่อหุ้มหัวใจ


ขั้นตอนการตรวจ

EST : ก่อนการตรวจเจ้าหน้าที่จะติดอุปกรณ์เพื่อดูการทำงานของหัวใจ และความดันโลหิตขณะวิ่ง ผู้รับการตรวจจะเริ่ม จากการเดินช้าๆ บนสายพานที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ จากนั้นก็จะวิ่งโดยที่สายพานจะเพิ่มความเร็วขึ้น ซึ่งจะใช้เวลา ประมาณ 15-20 นาที จนเมื่อได้ข้อมูลที่เพียงพอในการวินิจฉัยแล้ว จึงหยุดการวิ่งนั้นได้


การตรวจหัวใจขณะวิ่งสายพาน, การตรวจ est

Echo : ขณะตรวจผู้รับการตรวจจะนอนบนเตียงราบ เจ้าหน้าที่จะทำการติดอุปกรณ์เพื่อเฝ้าสังเกตคลื่นไฟฟ้าหัวใจไว้บริเวณทรวงอก เพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจ จากนั้นแพทย์จะใช้หัวตรวจใส่เจล และถูตรวจบริเวณหน้าอกและใต้ราวนม ใช้เวลาในการตรวจ 20-45 นาที


การตรวจหัวใจขณะวิ่งสายพาน, การตรวจ est

ข้อจำกัดในการตรวจ

EST : ไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก ข้อต่างๆ และไม่สามารถเห็นโครงสร้างของหัวใจได้

Echo : ดูได้เฉพาะโครงสร้างหัวใจ แต่จะไม่เห็นเส้นเลือดหัวใจ


ตารางสรุปเทียบความแตกต่าง

ความแตกต่าง

EST

Echo

หลักการทำงาน กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เหมือนการออกกำลังกาย ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงที่เรียกว่า อัลตราซาวด์
ขั้นตอนการตรวจ เดิน/วิ่งบนสายพานที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ นอนบนเตียงราบ ตรวจบริเวณทรวงอกด้านนอก
การตรวจวินิจฉัย โรคหลอดเลือดตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจโต ลิ้นหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ และโรคของเยื่อหุ้มหัวใจ
เหมาะกับ - อายุ 40+ แน่นอกเวลาออกแรง
- ผู้ที่เจ็บหน้าอกจากการออกกำลังกาย
- ผู้ที่มีอาการบวมและหอบเหนื่อย เสี่ยงต่อโรคหัวใจ
- ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
ข้อจำกัด ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ และไม่สามารถเห็นโครงสร้างของหัวใจ ดูได้เฉพาะโครงสร้างหัวใจ แต่จะไม่เห็นเส้นเลือดหัวใจ

การตรวจทั้งสองแบบมีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเกี่ยวกับหัวใจ หากพบความผิดปกติจึงควรรีบมาพบแพทย์ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสมให้ เพราะหากปล่อยไว้อาจเกิดอันตรายได้ทุกเมื่อ


Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย