ปวดท้องประจำเดือน สัญญาณเตือน ช็อกโกแลตซีส

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพสตรี

บทความโดย : พญ. จุฑาภรณ์ อุทัยแสน

ช็อคโกแลตซีส

เป็นซีสที่มดลูก อันตรายไหม ในที่นี้อาจพูดถึงโรค "ช็อกโกแลตซีส" (Chocolate Cyst) หรือ ซีสต์ในรังไข่ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ คือ อยู่ในช่วงอายุ 30-50 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้น ช็อกโกแลตซีส อันตรายไหม หากคุณมีอาการปวดท้องประจำเดือนที่ผิดปกติไปจากเดิม ประจำเดือนมามากกว่าปกติ หรือมาแบบกะปริดกะปรอย นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนที่เริ่มบ่งบอกว่าคุณอาจมีช็อกโกแลตซีสได้ การเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยจะช่วยรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลนครธน พร้อมดูแลรักษาสุขภาพสตรีอย่างครบวงจร ตั้งแต่การตรวจสุขภาพ ไปจนถึงการตรวจวินิจฉัยเพื่อป้องกันและรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่มีประสิทธิภาพในการรักษา


ช็อกโกแลตซีสเกิดจากอะไร?


อาการช็อกโกแลตซีส อาการช็อกโกแลตซีส

ช็อกโกแลตซีสเกิดจากอะไร โดยปกติภายในโพรงมดลูกจะมีเยื่อบุโพรงมดลูกที่เกิดการหนาตัว มีเลือดคั่ง จากนั้นก็จะสลายตัวออกมาเป็นประจำเดือนเป็นวงจรแบบนี้ทุกเดือน แต่ในบางราย เยื่อบุโพรงมดลูกอาจไปเจริญเติบโตนอกโพรงมดลูก เช่น ที่บริเวณรังไข่ ท่อนำไข่ กระเพาะปัสสาวะและลำไส้ จึงทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อโดยรอบจนเกิดเป็นพังผืดอยู่ภายในช่องท้อง ทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือน หรือปวดท้องเรื้อรัง หากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อยู่บริเวณรังไข่ก็จะกลายเป็นถุงน้ำ หรือซีส มีขนาดเท่าไข่ไก่ หรือผลส้ม มีเลือดคั่งอยู่ข้างใน ลักษณะเป็นของเหลวสีคล้ายกับช็อกโกแลต จึงเรียกว่า ‘ถุงน้ำช็อกโกแลต’ หรือ ‘ช็อกโกแลตซีส’ นั่นเอง

> กลับสารบัญ


ช็อกโกแลตซีสมีอาการเริ่มต้นอย่างไร?

ในบางราย อาจโชคดีตรวจพบโรคช็อกโกแลตซีสจากการตรวจสุขภาพประจำปี โดยยังไม่มีอาการเจ็บป่วยแสดงออกมา แต่ผู้ป่วยช็อกโกแลตซีส อาการเริ่มต้นส่วนมากมักมีดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดประจำเดือน ซึ่งจะปวดรุนแรงในช่วงวันท้าย ๆ ของการมีประจำเดือน
  • อาจมีอาการปวดประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 25 ปี
  • ประจำเดือนมามากกว่าปกติ หรือมาแบบกะปริดกะปรอย
  • ปวดท้องน้อยหลังมีเพศสัมพันธ์
  • คลำพบก้อนบริเวณท้องน้อย ซึ่งเกิดจากขนาดของถุงน้ำที่รังไข่โตขึ้น
  • อาการช็อกโกแลตซีส มักปวดขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ
  • ในกรณีที่ถุงน้ำช็อกโกแลตแตก จะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงเฉียบพลัน
  • ร้อยละ 60-70 ของผู้ที่มีประวัติว่ายังไม่เคยมีบุตรมาก่อน ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีบุตรยาก

> กลับสารบัญ


การตรวจวินิจฉัยช็อกโกแลตซีส

หากมีอาการข้างต้นหรือสงสัยว่าตนเองเป็นโรคช็อกโกแลกซีส ควรเข้ารับการซักประวัติและตรวจวินิจฉัยโดยสูติ-นรีแพทย์ ด้วยวิธีการตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจภายใน หรือการอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกราน เพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในมดลูก แยกโรค เช่น เนื้องอกมดลูก เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

> กลับสารบัญ


การรักษาช็อกโกแลตซีส


รักษาช็อกโกแลตซีส รักษาช็อกโกแลตซีส

ช็อกโกแลตซีส วิธีรักษาในรายที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรงมากนัก แพทย์อาจให้สังเกตอาการร่วมกับการใช้ยากลุ่มฮอร์โมนในการรักษาและตรวจติดตามอาการเป็นระยะ แต่ในกรณีที่ให้ยาแล้วยังไม่ได้ผล เป็นช็อกโกแลตซีสขนาดใหญ่ มีผลทำให้มีบุตรยาก หรือเป็นซีสต์ที่เป็นเนื้องอกรังไข่ เป็นต้น แพทย์อาจพิจารณาใช้วิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง

การผ่าตัดช็อกโกแลตซีส หรือ ซีสต์ในรังไข่ผ่านกล้อง

การผ่าตัดช็อกโกแลตซีส หรือ ซีสต์ในรังไข่ผ่านกล้อง เป็นการเจาะช่องที่ผนังหน้าท้องให้เป็นช่องกว้างเพียง 0.5-1 เซนติเมตร ประมาณ 2 - 3 ช่อง เพื่อสอดกล้องขยายและเครื่องมือผ่าตัดเข้าไปในช่องท้องเพื่อทำการผ่าตัดเลาะเอาช็อกโกแลตซีสออก โดยกล้องจะทำหน้าที่นำภาพอวัยวะภายในช่องท้องถ่ายทอดออกมาให้เห็นทางจอโทรทัศน์ ทำให้ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดของตำแหน่งภายในร่างกายที่ต้องการผ่าตัดได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หลังผ่าตัด และยังให้ผลการรักษาได้ดีเทียบเท่ากับการรักษาแบบมาตรฐานอีกด้วย

> กลับสารบัญ



ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

หลังผ่าตัดช็อกโกแลตซีสควรดูแลตัวเองอย่างไร?

  • ใน 7 วันหลังผ่าตัด ห้ามแผลถูกน้ำหรือเปียกน้ำ จนกว่าจะหายสนิท
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจติดตามทุกครั้งที่มีนัดจากแพทย์
  • ประมาณ 6 สัปดาห์แรกระหว่างพักฟื้น ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องใช้แรง ใช้หน้าท้อง และหักโหม
  • งดมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 4-6 สัปดาห์ หรือ จนกว่าแพทย์จะตรวจว่าปลอดภัยแล้ว
  • หากมีความผิดปกติ เช่น มีไข้ แผลบวม แดง แฉะ ปวดท้องมากขึ้น ควรรีบมาพบแพทย์ทันที

> กลับสารบัญ


ช็อกโกแลตซีสภัยเงียบของผู้หญิงหมั่นตรวจสุขภาพ

อย่างไรก็ตามการเกิดช็อกโกแลตซีส หรือ ซีสต์ในรังไข่ระยะแรก ๆ ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัว จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อมีถุงน้ำก้อนใหญ่และเกิดภาวะแทรกซ้อนไปแล้ว การตรวจภายใน ร่วมกับการอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกราน เพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในมดลูกและรังไข่ จะช่วยตรวจพบและทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที สามารถเข้ามารับการตรวจและวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลนครธน ที่มีพร้อมด้วยเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการช่วยวินิจฉัยโรค การรักษา เช่น ผ่าตัดมดลูก เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา

> กลับสารบัญ


ช่องทางติดต่อโรงพยาบาลนครธน:

  1. - Website : https://www.nakornthon.com
  2. - Facebook : Nakornthon Hospital
  3. - Line : @nakornthon
  4. - Tel: 02-450-9999 (ตลอด 24 ชั่วโมง)


พญ. จุฑาภรณ์ อุทัยแสน พญ. จุฑาภรณ์ อุทัยแสน

พญ.จุฑาภรณ์ อุทัยแสน
สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา/มะเร็งวิทยานรีเวช
ศูนย์สุขภาพสตรี

นัดหมายแพทย์

ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย




Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย