การตรวจการนอนหลับที่บ้าน สะดวก ไม่ต้องเดินทาง

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพนครธน

บทความโดย : พญ. ณัฐกา กาญจนพนัง

การตรวจการนอนหลับที่บ้าน สะดวก ไม่ต้องเดินทาง


การตรวจการนอนหลับที่บ้านเป็นอย่างไร

การตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home sleep test) เป็นการตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ระดับ 3 หรือการตรวจการนอนหลับแบบคัดกรอง (Sleep Screening) โดยเป็นการตรวจวัดข้อมูลการนอนหลับ 4-7 สัญญาณ ใช้เพื่อการวินิจฉัยในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับความรุนแรงตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป โดยเน้นพิเศษเฉพาะระบบหัวใจ การหายใจ อาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เป็นหลัก นอกจากนี้ยังอาจใช้ในการตรวจติดตามผลการรักษาหลังการผ่าตัด การลดน้ำหนัก หรือเครื่องมือในช่องปากได้

> กลับสารบัญ


ตรวจสัญญาณอะไรบ้าง

การตรวจการนอนหลับที่บ้านจะมีการตรวจวัดสัญญาณต่างๆ คล้ายกับการตรวจการนอนหลับในโรงพยาบาล แต่จะไม่มีการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลูกตา (EOG) กล้ามเนื้อคาง (Chin EMG) และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) โดยใช้เครื่องตรวจแบบพกพา มีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถลุกเดินได้ตามอิสระ โดยที่ไม่ต้องถอดอุปกรณ์ออก

จะใช้เวลาในการตรวจวัดช่วงกลางคืน อย่างน้อยประมาณ 6-8 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาปกติของการหลับ ของคนทั่วไป จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้ ส่งให้ แพทย์ หรือ sleep lab เพื่อ ทำการวิเคราะห์และ นำไปสู่การรักษาต่อไป ซึ่งข้อมูลที่บันทึกมีดังต่อไปนี้

  1. ลักษณะลมหายใจที่ผ่านเข้าออก (Airflow) โดยตรวจวัดร่วมกับการเคลื่อนไหวของทรวงอก เพื่อหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  2. เสียงกรน (Snore) เป็นการตรวจว่ามีการกรนเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
  3. การเคลื่อนไหวของทรวงอก (Chest Respiratory effort)
  4. การเคลื่อนไหวของช่องท้อง (Abdominal Respiratory effort)
  5. ระดับออกซิเจนในเลือด (Oxygen saturation) เพื่อดูว่าขณะนอนหลับ สมองและหัวใจมีการขาดออกซิเจนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
  6. ชีพจร (Pulse) หรือ อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate)
  7. ท่าทางการนอน (Body position) เข่น นอนหงาย ตะแคงซ้าย ขวา

> กลับสารบัญ


ผู้ที่เหมาะกับการตรวจการนอนหลับที่บ้าน

  • ผู้ที่มีปัญหา นอนกรน หรือ โรคหยุดหายใจขณะหลับเป็นหลัก
  • ผู้มีอาการง่วงนอนกลางวันมากผิดปกติ ทั้งๆ ที่ได้นอนอย่างเพียงพอแล้ว
  • ผู้มีอาการหายใจลำบาก
  • ผู้ที่เคลื่อนไหว หรือมาโรงพยาบาลไม่สะดวก
  • ผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย

> กลับสารบัญ


ข้อจำกัดในการตรวจการนอนหลับที่บ้าน

การตรวจการนอนหลับที่บ้าน จะไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือกสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต จิตเวช รวมไปถึง

  • ผู้ที่มีอายุมากเกิน 70 ปี
  • ผู้ที่มี BMI เกิน 30 ขึ้นไป
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

> กลับสารบัญ


ข้อดีของการตรวจการนอนหลับที่บ้าน

  • สะดวกสบาย ประหยัดเวลาและการเดินทาง
  • การตรวจที่บ้านจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและหลับได้ดีกว่าการตรวจในโรงพยาบาล ทำให้ได้ข้อมูลการนอนที่เชื่อถือได้ เนื่องจากผู้ตรวจได้ตรวจในสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย
  • ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับการนอนตามปกติของคุณ
  • ไม่ต้องรอนาน ไม่ต้องรอคิว
  • อุปกรณ์เป็นเครื่องวัดแบบพกพา (Portable) ไม่จำเป็นต้องมีคนเฝ้า ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรต่างๆ ได้ตามปกติ สามารถเข้าห้องน้ำได้

> กลับสารบัญ


การตรวจการนอนหลับที่บ้าน เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในการตรวจสุขภาพการนอนหลับ เพื่อหาภาวะการหยุดหายใจขณะหลับที่มาร่วมกับอาการนอนกรน ที่สามารถนอนหลับได้สนิทมากกว่า เพราะได้นอนในสถานที่ที่คุ้นเคย ทำให้ผลการตรวจใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า อย่างไรก็ตามทุกวิธีการตรวจย่อมมีข้อดีและข้อจำกัด ดังนั้นเพื่อให้เกิดผลที่ดีที่สุด ผู้รับการตรวจควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านก่อนเพื่อตรวจประเมินและพิจารณาว่า ผู้ป่วยแต่ละรายจะเหมาะสมกับการตรวจการนอนหลับแบบใดต่อไป สามารถปรึกาแพทย์ออนไลน์ได้เลย




ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย