การผ่าตัดแก้หมันหญิง

ศูนย์ : ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้

บทความโดย :

การผ่าตัดแก้หมันหญิง

การทำหมัน เป็นการคุมกำเนิดถาวรภายหลังการมีบุตรเพียงพอแล้ว ซึ่งวิธีการทำหมันที่นิยมในปัจจุบัน คือ การผูกท่อนำไข่ทั้งสองข้าง แล้วตัดบางส่วนของท่อน้ำไข่ออกไป อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปจะมีหญิงบางส่วนเปลี่ยนใจอยากมีบุตรเพิ่ม จึงมาพบแพทย์เพื่อทำการผ่าตัดแก้หมัน โดยการแก้หมันก็คือ การผ่าตัดเพื่อนำปลายสองข้างของท่อน้ำไข่ที่ถูกตัดขาดออกจากกัน กลับมาเชื่อมต่อกันนั่นเอง



ขั้นตอนการผ่าตัดแก้หมันโดยการส่องกล้อง

  1. ผู้ป่วยจะได้รับการส่องกล้องเข้าในช่องท้อง ภายใต้การดมยาสลบ
  2. ก่อนทำการแก้หมันแพทย์จะประเมินท่อนำไข่ทั้งสองข้าง ว่าท่อนำไข่ที่เหลือมีความยาวเท่าใดและตันหรือไม่ หากพบว่าท่อนำไข่ที่เหลือยาวเพียงพอและไม่ตัน จึงจะทำการแก้หมันต่อไป หรือหากพบว่าท่อนำไข่ที่เหลือสั้นหรือตัน ไม่สามารถแก้หมันได้ แพทย์อาจจะผ่าตัดแก้ไขท่อนำไข่ด้วยวิธีอื่นแทน ดังนั้นการผ่าตัดแพทย์อาจจะแก้หมันได้ทั้งสองข้างหรือข้างเดียวหรือแก้หมันไม่ได้เลย
  3. แพทย์แก้หมันโดยการเย็บต่อท่อนำไข่ทั้งสองข้างเข้าหากัน
  4. แพทย์ฉีดสีเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อดูว่าสีสามารถผ่านไปยังปลายท่อนำไข่ภายหลังการต่อหมันหรือไม่
  5. ภายหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะพักฟื้นในโรงพยาบาล 1-2 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยแพทย์จะนัดผู้ป่วยเปิดแผล 7 วัน ภายหลังการผ่าตัด และนัดผู้ป่วยมาตรวจเอกซเรย์ฉีดสีดูท่อนำไข่ 1-2 เดือน ภายหลังการผ่าตัด เพื่อดูซ้ำว่าสีสามารถผ่านไปยังปลายท่อนำไข่ได้หรือไม่

> กลับสารบัญ


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการผ่าตัดแก้หมัน

  • อายุของผู้หญิงที่แก้หมัน
  • วิธีและตำแหน่งของท่อนำไข่ที่ได้รับการทำหมัน
  • ความยาวและคุณภาพของท่อนำไข่ที่เหลือ
  • ระยะเวลาหลังจากการทำหมัน
  • ความชำนาญของแพทย์

อย่างไรก็ตาม การตั้งครรภ์ภายหลังการผ่าตัดแก้หมันสำเร็จ ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น ความสมบูรณ์ทั้งโครงสร้างและการทำงานของภาวะเจริญพันธุ์ของสตรี รวมไปถึงคุณภาพน้ำเชื้อของฝ่ายชายร่วมด้วย

> กลับสารบัญ


การแก้หมันด้วยวิธีอื่นนอกจากผ่าตัด

นอกจากการผ่าตัดแก้หมันยัง มีการรักษาด้วยวิธีอื่นเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ คือ การทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งแนะนำในหญิงอายุมากกว่า 37 ปี ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีพยาธิสภาพอื่นซึ่งอาจส่งผลทำให้มีบุตรยาก หรือมีความผิดปกติของคุณภาพน้ำเชื้อของฝ่ายชาย เป็นต้น

> กลับสารบัญ


ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดแก้หมันหญิง

  • ความเสี่ยงต่อการล้มเหลว เช่น แก้หมันได้ข้างเดียวหรือแก้หมันไม่ได้เลย
  • บาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียงในอุ้งเชิงกราน ในกรณีที่มีพังผืด เช่น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่
  • ความเสี่ยงจากการดมยาสลบ
  • โอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก ดังนั้นถ้าตรวจพบว่าตั้งครรภ์ควรรีบฝากครรภ์ทันที
  • ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์

> กลับสารบัญ


ข้อควรรู้ก่อนตั้งครรภ์

  1. โดยทั่วไปหญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงเสียชีวิตจากการคลอดบุตร 15-20 รายต่อหญิงที่คลอดบุตร 100,000 ราย
  2. ในกรณีหญิงตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงโครโมโซมผิดปกติ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม สูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี แนะนำให้ตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด โดยการเจาะเลือดหรือเจาะน้ำคร่ำ
  3. ในกรณีที่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปมีโอกาสเกิดภาวะรกเกาะต่ำ รกเกาะทะลุมดลูก มดลูกแตก ตกเลือด อาจต้องได้รับการตัดมดลูก หรือเสียชีวิตได้
  4. ในกรณีที่มีประวัติครรภ์ก่อนมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ครรภ์เป็นพิษ เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ คลอดก่อนกำหนด ตกเลือดหลังคลอด เหล่านี้ทำให้การตั้งครรภ์ในครั้งต่อไปจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
  5. หากมีโรคประจำตัวต้องปรึกษาแพทย์และควบคุมตัวโรคให้ดีก่อนตั้งครรภ์ เพราะตัวโณคอาจแย่ลงระหว่างตั้งครรภ์และส่งผลต่อทารกในครรภ์ เช่น โรคหัวใจ ไทรอยด์

> กลับสารบัญ




ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

บทความทางการแพทย์ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย