คลายข้อสงสัย วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
ศูนย์ : ศูนย์อายุรกรรม
เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ถือเป็นภาวะฉุกเฉินของโลก การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สามารถลดความรุนแรงของอาการป่วยและลดการเสียชีวิตได้ ซึ่งหลายคนยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนตัวนี้ เราไปคลายข้อสงสัยเหล่านี้กัน
Q: เพราะเหตุใดต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สามารถลดการแพร่ระบาด ลดความรุนแรงของอาการป่วย และลดการเสียชีวิตได้ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ถือเป็นภาวะฉุกเฉินของโลก จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั่วโลกกว่าร้อยล้านคน มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2 ล้านคน
Q: วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ต้องฉีดกี่ครั้ง
- วัคซีนโควิดซิโนแวค ใช้ในผู้อายุ18-59 ปี ฉีดจำนวน 2 ครั้ง (2 โดส) ฉีดสองครั้งห่างกัน 21 วัน (2-4 สัปดาห์)
- วัคซีนโควิดแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ฉีด 2 เข็มห่างกัน 16 สัปดาห์
- วัคซีนโควิดโมเดอร์นา (Moderna) ฉีด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 28 วัน
ฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 คนละชนิดได้หรือไม่
แนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิดเดียวกัน เพราะปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการได้รับวัคซีนป้องกัน โรคโควิด-19 ต่างชนิดกันระหว่างเข็มที่ 1 และ เข็มที่ 2 เพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด
ในกรณีที่มีอาการแพ้ชนิดรุนแรงของเข็มที่ 1 ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาวัคซีนชนิดอื่นต่อไป
Q: ฉีดพร้อมวัคซีนอื่นได้หรือไม่
แนะนำให้ฉีดห่างจากตัวอื่น 4 สัปดาห์ เนื่องจากยังเป็นวัคซีนใหม่ ถ้าฉีดพร้อมกับวัคซีนตัวอื่นหากมีอาการข้างเคียงจะไม่ทราบว่าเกิดจากวัคซีนใด
Q: อายุต่ำกว่า 18 ปี ฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่
ปัจจุบันวัคซีนที่มี ได้รับการรับรองใช้ในผู้อายุ 18 ปีขึ้นไป
Q: หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร สามารถฉีดได้ไหม
เนื่องจากเป็นวัคซีนใหม่ จึงยังมีข้อมูลในหญิงตั้งครรภ์ไม่มาก หลักการทั่วไปทางการให้วัคซีน เช่น วัคซีนเชื้อตาย สามารถให้ในหญิงตั้งครรภ์ได้ โดยเฉพาะในไตรมาส 2 และ 3 เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก การให้วัคซีนส่วนใหญ่จะแนะนาให้วัคซีนที่เป็นเชื้อตาย เช่น Sinovac (ตามทฤษฎีน่าจะให้ได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลในหญิงตั้งครรภ์) ที่มีข้อมูลในสตรีตั้งครรภ์บ้าง คือ วัคซีนในกลุ่ม mRNA (Pfizer, Moderna)
สำหรับหญิงให้นมบุตร สามารถฉีดได้ เพราะ ไม่ได้ถือเป็นข้อห้ามที่จะให้วัคซีน และเมื่อได้รับวัคซีนแล้วก็ไม่ต้องงดนมมารดาแต่อย่างใด
Q: ผู้หญิงวางแผนที่จะตั้งครรภ์ สามารถฉีดได้ไหม
วัคซีนนี้ไม่มีข้อห้าม และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจว่ากาลังตั้งครรภ์หรือเริ่มจะตั้งครรภ์ แต่เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์หลังฉีดวัคซีนเข็ม 1 ไปแล้ว ก็ให้เลื่อนการฉีดเข็ม 2 ออกไป ไปฉีดหลังการตั้งครรภ์ หรือฉีดวัคซีนนั้นต่อในไตรมาส 2 หรือ 3 หรือ ฉีดวัคซีนให้ครบก่อนแล้วคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 เดือนหลังฉีดเข็มสุดท้าย
Q: หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรสามารถฉีดได้ไหม
วัคซีนนี้ไม่มีข้อห้าม และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจว่ากาลังตั้งครรภ์หรือเริ่มจะตั้งครรภ์ แต่เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์หลังฉีดวัคซีนเข็ม 1 ไปแล้ว ก็ให้เลื่อนการฉีดเข็ม 2 ออกไป ไปฉีดหลังการตั้งครรภ์ หรือฉีดวัคซีนนั้นต่อในไตรมาส 2 หรือ 3 หรือ ฉีดวัคซีนให้ครบก่อนแล้วคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 เดือนหลังฉีดเข็มสุดท้าย
Q: เตรียมตัวอย่างไรก่อนมาฉีดวัคซีนหากมีโรคประจำตัวที่อาการยังไม่คงที่ ไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก หอบ เหนื่อย ใจสั่น
แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน และออกใบรับรองแพทย์ว่าสามารถรับวัคซีนได้
กรณีที่เป็นความดันโลหิตสูง ควรกินยาลดความดันโลหิตที่ใช้ประจำก่อนมาฉีดวัคซีน หากความดันโลหิตสูงกว่า 160/100 มิลลิเมตรปรอท และไม่มีอาการผิดปกติ ให้นั่งพักประมาณ 15-30 นาที (หรือกินยา หากไม่ได้กินยาเดิมมา) แล้ววัดซ้ำ ถ้าลดลงให้ฉีดได้ หากไม่ลดลงแนะนาให้รักษาควบคุมความดันโลหิตให้ดีขึ้นก่อนรับวัคซีน
หากตรวจพบชีพจรสูงมากกว่า 120 ครั้งต่อนาที ให้นั่งพักประมาณ 15-30 นาทีและวัดซ้ำ ถ้าลดลงให้ฉีดวัคซีนได้
Q: หากได้รับการถ่ายเลือด พลาสมา ผลิตภัณฑ์จากเลือด ส่วนประกอบของเลือด อิมมูโนโกลบูลิน ยาต้านไวรัส หรือ แอนติบอดีสำหรับการรักษาโควิด-19 ภายใน 90 วันที่ผ่านมา ฉีดได้ไหม
แนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิดหลังได้รับอย่างน้อย 3 เดือน
Q: ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ได้รับยากดภูมิคุ้มกันอยู่ฉีดได้ไหม
เนื่องจากระยะเวลาที่เหมาะสมในการรับวัคซีน ขึ้นกับชนิดและขนาดยากดภูมิที่กินอยู่ รวมถึงผู้ป่วยมะเร็งที่ได้ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูกหรือปลูกถ่ายอวัยวะ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวเพื่อพิจารณาและขอใบรับรองแพทย์รับรองว่าสามารถรับวัคซีนได้
Q: หากมีอาการเกี่ยวกับสมอง หรือ โรคระบบประสาทอื่นๆ สามารถฉีดได้ไหม
หากอาการของโรคประจำตัวไม่คงที่ แนะนำปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนรับวัคซีน โดยก่อนรับวัคซีนควรมีอาการทางระบบประสาทคงที่หรือไม่อยู่ในภาวะอันตรายต่อชีวิตอย่างน้อย 4 สัปดาห์
Q: เป็นผู้มีภาวะเลือดออกง่ายหรือหยุดยาก เกล็ดเลือดต่ำ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติหรือ ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดสามารถฉีดได้ไหม
ผู้ที่กินยาต้านเกล็ดเลือด เช่น aspirin clopidogrel prasugrel กลุ่ม DOAC หรือกินยาต้านการแข็งตัวของเลือด warfarin ถ้าค่าระดับเวลาที่เลือดเริ่มแข็งตัว (INR) น้อยกว่า 3 ให้ฉีดวัคซีนได้ ใช้เข็มขนาดเล็ก แนะนำกดนานหลังฉีด ไม่คลึงกล้ามเนื้อ
ส่วนผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ หรือกินยาต้านการแข็งตัวของเลือด warfarin แต่ไม่ทราบค่า INR แนะนำปรึกษาแพทย์ประจำตัวและออกใบรับรองแพทย์รับรองว่าสามารถรับวัคซีนได้ หรือ พิจารณาให้ฉีดได้
Q: มีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือ นอนรักษาตัวและออกจากโรงพยาบาลไม่เกิน 14 วัน ฉีดได้ไหม
ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน จนอาการหายดี
Q: กำลังมีอาการป่วยเช่น มีไข้ หนาวสั่น หายใจลำบาก อ่อนเพลียกล้ามเนื้อ เป็นต้น ฉีดได้ไหม
หากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 แนะนำให้รับการตรวจวินิจฉัย ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน จนทราบผลวินิจฉัย หรือ อาการหายดี ยกเว้นเป็นหวัดเล็กน้อยไม่มีไข้ สามารถรับวัคซีนได้
Q: หากเคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว ฉีดได้หรือไม่
ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว ถึงแม้จะมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ แต่พบว่าระดับภูมิคุ้มกันมีการลดระดับลงอย่างรวดเร็วจึงสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก แนะนำให้ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว ฉีดวัคซีนหลังหายจากอาการป่วย ตรวจไม่พบเชื้อแล้วและพ้นระยะกักตัว 14 วัน ประมาณ 1-3 เดือน ทั้งนี้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน
Q: มีข้อจำกัดการฉีดวัคซีนในผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็ง หรือไม่
- ผู้ป่วยมะเร็งทุกคน ไม่ว่าจะเพิ่งเป็น กำลังรักษา หรือหายแล้ว ควรได้รับวัคซีน
- มะเร็งที่ไม่ใช่ระบบเลือด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ เป็นต้น มีข้อปฏิบัติแตกต่างกันใน 4 กรณีดังนี้
- ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างการติดตาม ไม่ได้รับยาต้านมะเร็งใดๆ : แนะนำรับวัคซีนได้เลย แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน
- ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาในปัจจุบันด้วยยามุ่งเป้า ยาฮอร์โมนหรือภูมิคุ้มกันบำบัด : แนะนำรับวัคซีนได้เลย แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน
- ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด : ควรพิจารณารับวัคซีน แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเพื่อ พิจารณาระยะเวลาที่เหมาะสม
- กรณีผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กำลังจะได้รับการผ่าตัด : ควรพิจารณารับวัคซีน แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเพื่อพิจารณาระยะเวลาที่เหมาะสม
- ผู้ป่วยมะเร็งระบบเลือดที่ได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก : ควรฉีดหลังจากรักษาครบ 3 เดือนไปแล้ว ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาทุกครั้ง
- ถ้ากำลังได้รับยาเคมีบำบัดหรือยามุ่งเป้าหรือยาภูมิคุ้มกันบำบัด ควรฉีดช่วงไหน มีข้อปฏิบัติแตกต่างกันใน 2 กรณี ดังนี้
- กรณีผู้ป่วยที่ได้รับยามุ่งเป้าหรือภูมิคุ้มกันบำบัด จะฉีดวันเดียวกับที่ให้ยามุ่งเป้าหรือยาภูมิคุ้มกันบำบัดหรือวันไหนก็ได้ ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
- กรณีผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด ควรพิจารณาวัคซีน แต่มีโอกาสที่ประสิทธิภาพวัคซีนอาจลดลง ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเพื่อพิจารณาเวลารับวัคซีนตามความเหมาะสม ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
Q: ผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดมีข้อจำกัดการฉีดวัคซีนอย่างไร
ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถรับวัคซีนได้ แต่มีข้อควรระวัง ดังนี้
- กรณีผู้ป่วยมีอาการหัวใจกำเริบเฉียบพลันที่อาการยังไม่คงที่และอาจเป็นอันตรายถึงแก้ชีวิต ให้รอจนกว่าอาการดีขึ้นและคงที่ ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว และขอใบรับรองแพทย์ว่าสามารถฉีดวัคซีนได้
- กรณีผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงสูงกว่า 160/100 มิลลิเมตรปรอท ควรควบคุมความดันโลหิตให้ดีก่อนรับวัคซีน
- หากรับประทานยาละลายลิ่มเลือดควรแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อพิจารณาเพิ่มข้อควรระวัง
Q: เป็นโรคปอดอุดกั้น โรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี สามารถฉีดวัคซีนได้ไหม
สามารถฉีดได้หากไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการ ควรฉีดหลังอาการกำเริบ 2-4 สัปดาห์
Q: เป็นโรคไตวายเรื้อรังฉีดได้ไหม
เป็นโรคไตวายเรื้อรัง รวมทั้งผู้ที่ได้รับการฟอกเลือด ล้างไตทางช่องท้อง หรือปลูกถ่ายไต รับวัคซีนได้ แต่ในกรณีที่กินยากดภูมิกันขนาดสูง ให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลก่อน
Q: โรคเบาหวาน และโรคอ้วน มีข้อจำกัดในการฉีดไหม
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และโรคอ้วน สามารถฉีดได้ แต่ในรายที่เป็นเบาหวานที่ขาดยา หรือควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี และเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ต้องฉีดอินซูลิน ให้ปรึกษาแพทย์ก่อรับวัคซีน
Q: มีความจำเป็นต้องตรวจภูมิต้านทานก่อนและหลังวัคซีนหรือไม่
ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ จะตรวจเฉพาะเมื่อนำข้อมูลไปใช้สำหรับการศึกษาวิจัยเท่านั้น
Q: ฉีดแล้วทำให้เป็นโรคโควิด? หรือโรคอะไร เบาลงไหม หรือทำให้เป็นโรคแรงขึ้นไหม
จากการศึกษาพบว่า จะช่วยป้องกันให้เป็นโรคแบบไม่รุนแรงได้ และป้องกันโรคแบบรุนแรงทั้งหมด ไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าถ้าเป็นโรคจะทำให้เป็นโรครุนแรงมากขึ้น
Q: เมื่อฉีดแล้วจะเป็นโรคโควิด-19 ได้หรือไม่
ยังมีโอกาสป่วยได้ เนื่องจากวัคซีนป้องกันไม่ได้ 100% แต่หลังฉีดวัคซีน ถ้าเป็นโรคส่วนใหญ่อาการจะน้อยลง ลดอัตราการเสียชีวิต ลดความรุนแรงที่จะเข้าโรงพยาบาล นอน ICU
Q: มีผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือไม่
เป็นเรื่องปกติที่จะมีผลข้างเคียง โดยผลข้างเคียงที่พบบ่อย เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดแขนบริเวณที่ได้รับการฉีด คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก และมีไข้ หนาวสั่น มีผื่นลมพิษ ท้องเสีย ส่วนผลข้างเคียงรุนแรงนั้นพบน้อยมาก เช่น การแพ้ชนิดรุนแรง เป็นต้น หากอาการไม่หายให้ติดต่อ HOT LINE 1669 กระทรวงสาธารณสุขทันที ห้ามฉีดในผู้แพ้รุนแรงจากการฉีดครั้งก่อนหรือแพ้ส่วนประกอบวัคซีน ผู้ที่เจ็บป่วยเฉียบพลัน ควรเลื่อนการฉีดออกไปก่อน
Q: เมื่อฉีดแล้วมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด
วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่นำมาใช้ในประเทศไทย ผ่านการขึ้นทะเบียนและได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แห่งประเทศไทยตามมาตรฐาน รวมถึงมีข้อมูลประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนจากการใช้ในหลายประเทศ อีกทั้งมีการติดตามอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดและรายงานตามระบบที่กำหนดไว้
อย่างไรก็ตาม แม้จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว แต่ก็ยังต้องยึดหลักการป้องกันตัวเองโดยต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือสม่ำเสมอ ลดการสัมผัส เลี่ยงการไปในพื้นที่เสี่ยงและทำกิจกรรมรวมกลุ่มคนเป็นจำนวนมาก เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่อาจจะมีกลายพันธ์และยังอยู่ในชั้นเฝ้าระวังของนักวิจัยอย่างใกล้ชิด
บทความทางการแพทย์ศูนย์อายุรกรรม