ปัญหาหนักใจของคนมีบุตรยาก จะรักษาอย่างไรดี?

ศูนย์ : ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้

บทความโดย :

ปัญหาหนักใจของคนมีบุตรยาก จะรักษาอย่างไรดี?

คู่แต่งงานหลายคู่อยากมีลูกเหลือเกิน คนรอบข้างทั้งครอบครัวและเพื่อนก็ช่วยเชียร์และลุ้นไปด้วยกัน แต่ทำอย่างไรก็ไม่สมหวังสักที จนกลายเป็นปัญหาหนักอกหนักใจ ถึงอย่างนั้นก็ยังมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยรักษาภาวะมีบุตรยากได้ ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปหาคำตอบกันได้เล

คู่ที่เสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก คือ คู่สมรสที่มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมออย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 1 ปี โดยไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิดใดๆ แล้วยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หากคู่ไหนเข้าข่ายก็ควรมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม (หรือหากอายุเยอะแล้ว ไม่ต้องรอถึง 1 ปี ก็สามารถมาพบแพทย์ก่อนได้) ซึ่งสาเหตุของภาวะมีบุตรยากมีหลายสาเหตุ แต่จะแบ่งเป็นสาเหตุจาก 3 ฝั่งใหญ่ๆ คือ สาเหตุจากฝ่ายหญิงประมาณ 40% ฝ่ายชายประมาณ 40% และสาเหตุที่ไม่ทราบสาเหตุหรือมาจากทั้งหญิงและชายอีกประมาณ 10-20%


สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

สาเหตุจากฝ่ายหญิง

สาเหตุจากฝ่ายหญิง อาจเกิดได้จากมีเนื้องอกที่มดลูก ซึ่งอาจส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อนมีถุงน้ำรังไข่ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “ถุงน้ำช็อกโกแลต” ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนไข่ในรังไข่ลดลงเมื่อเทียบกับปกติ นอกจากนี้ยังอาจมีท่อนำไข่ตันหรือมีการตกไข่ผิดปกติ ซึ่งภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังหรือไม่ค่อยเหลือปริมาณไข่ในรังไข่แล้วจากที่อายุมาก โดยเป็นสาเหตุที่พบได้มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะแต่งงานกันช้าลง


สาเหตุของฝ่ายชาย

สาเหตุของฝ่ายชาย อาจเกิดจากมีความผิดปกติของการสร้างอสุจิหรือมีความผิดปกติในการมีเพศสัมพันธ์ เช่นอวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือมีการไหลกลับของอสุจิเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ

ส่วนสาเหตุสุดท้ายคือ ไม่มีสาเหตุชัดๆ ทั้งจากฝ่ายหญิงและชาย เมื่อมาพบแพทย์ แพทย์จะถามประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน เพื่อหาสาเหตุ นอกจากนั้นจะมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติม คือการตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอด เพื่อหาความผิดปกติของมดลูก รังไข่ และฝ่ายชายก็ส่งตรวจอสุจิ ในบางกรณีอาจตรวจเลือดดูค่าฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยากด้วย หรือหากสงสัยภาวะท่อนำไข่ตัน ก็จะส่งเอ็กซเรย์ฉีดสีดูท่อนำไข่เพิ่มเติมต่อไป

> กลับสารบัญ


การรักษาภาวะมีบุตรยาก

โดยส่วนมากจะขึ้นกับปัญหาของแต่ละคู่ แต่หากไม่พบสาเหตุที่ผิดปกติชัดเจนมักจะเริ่มจากวิธีง่ายๆ ที่ใกล้เคียงธรรมชาติก่อน เช่น การทานยากระตุ้นไข่ให้โต และให้มีเพศสัมพันธ์ในวันที่คาดว่าไข่จะตก ซึ่งสามารถใช้วิธีนี้ได้ประมาณ 2-3 รอบเดือน หากทุกรอบที่ทานยามีไข่โตได้ขนาดเหมาะสม ไข่ตกตรงเวลาแล้วยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ก็ปรับไปเป็นการผสมเทียม ซึ่งเป็นชื่อทางการของการฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก หรือ IUI (Intrauterine insemination) ซึ่งขั้นตอนนี้ก็เริ่มจากการทานยากระตุ้นไข่หรืออาจจะใช้ยาฉีดกระตุ้นไข่ร่วมด้วย (กรณีที่ไข่โตไม่ดี) เมื่อไข่โตได้ขนาดก็ใช้วิธีฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูกแทนการมีเพศสัมพันธ์กันเอง โดยน้ำอสุจิจะได้รับการเตรียมก่อนฉีด เพื่อล้างเอาเซลล์เม็ดเลือดขาวอสุจิที่ตาย และสารคัดหลั่งจากต่อมลูกหมากออก ทำให้ความเข้มข้นของอสุจิเพิ่มมากขึ้นก่อนใช้สายพลาสติกคล้ายหลอดนมยาวๆนุ่มๆ สอดผ่านปากมดลูกและปล่อยเชื้ออสุจิเข้าไป

> กลับสารบัญ


วิธี IUI นี้มีโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จได้ประมาณ 10-15% ต่อรอบการรักษา หากไม่สำเร็จ สามารถทำซ้ำได้ประมาณ 4-6 รอบเดือน แต่หากคู่สมรสมีบุตรยากจากสาเหตุที่ฝ่ายหญิงอายุมาก มีปริมาณไข่ในรังไข่เหลือน้อย ท่อนำไข่ตันทั้งสองข้างหรือฝ่ายชายมีปริมาณเชื้ออสุจิน้อยมาก การเคลื่อนไหวของอสุจิไม่ดี ก็ไม่เหมาะสมที่จะรักษาด้วยวิธีใช้ยาทานกระตุ้นไข่ หรือแม้แต่ IUI ได้ ทั้งนี้แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI; In Vitro Fertilization/Intracytoplasmic Sperm Insemination) ซึ่งจะเป็นวิธีที่จำเพาะกับสาเหตุเหล่านี้ IVF/ICSI เป็นวิธีที่มีรายละเอียดที่ซับซ้อนมากกว่าวิธี IUI มาก



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

บทความทางการแพทย์ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย