ภูมิแพ้อาหารแฝง รู้เร็ว หลีกเลี่ยงทันด้วยการตรวจเลือด

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพนครธน

บทความโดย : พญ. ธนพร เอี่ยมประไพ

ภูมิแพ้อาหารแฝง

เป็นสิวเรื้อรัง ผื่นคัน ปวดท้องเป็นประจำ ปวดหัวบ่อย ท้องอืด อาหารไม่ย่อย คัดจมูกอยู่บ่อยๆ หรืออาการแปลกๆ หลังจากรับประทานอาหารบางชนิดเป็นประจำเดิม ๆ ซ้ำ ๆ จนร่างกายเกิดการต่อต้าน นั่นอาจเป็นอาการของ “ภูมิแพ้อาหารแฝง” ก็ได้ เนื่องด้วยอาการจะไม่แสดงออกภายในทันทีเหมือนภูมิแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน อาจใช้เวลาถึง 72 ชั่วโมงถึงแสดงอาการ จึงทำให้การคาดเดาว่าอาหารที่เป็นสาเหตุหรือจะหลีกเลี่ยงอาหารนั้นๆ ค่อนข้างยาก ดังนั้น การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 216 ชนิด เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่กำลังประสบกับปัญหานี้ เพื่อนำมาสู่การปรับเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับร่างกายมากที่สุด


รู้จัก..การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง

การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance Test) คือ การตรวจเลือดหาสารก่อภูมิต้านทาน เพื่อดูชนิดและประเภทอาหารที่แพ้แอบแฝง โดยเราไม่เคยทราบมาก่อนว่าอาหารชนิดไหนที่แพ้ เพราะอาการแพ้อาหารแบบแฝง จะไม่แสดงอาการทันทีหลังรับประทาน

> กลับสารบัญ


ประเภทอาหารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้อาหารแฝง

เนื่องด้วยอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้มีมากกว่า 200 ชนิด แต่ชนิดที่มักพบว่าเป็นสาเหตุของภูมิแพ้อาหารแฝง ได้แก่ นม และผลิตภัณฑ์จากนมทั้งหลาย เช่น ชีส โยเกิร์ต ธัญพืชที่มีกลูเตน ถั่ว กะหล่ำปลี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่นๆ ในอาหาร หรือสารที่พบในอาหาร เช่น ผงชูรส สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เชื้อรา สีผสมอาหาร สารกันเสีย และวัตถุปรุงแต่งกลิ่นรส เป็นต้น

> กลับสารบัญ


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

เมื่อมีอาการเหล่านี้ควรรับการตรวจ

ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการแสดงแตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่มีอาการในระยะแรก อาการส่วนใหญ่ที่พบ คือ

  • เป็นสิวเรื้อรัง
  • ผื่นลมพิษเรื้อรัง
  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ
  • สมองตื้อ (Brain Fog)
  • น้ำหนักขึ้นไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการแพ้มากผิดปกติติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
  • มีอาการปวด บวมตามข้อ
  • ผมร่วงมากขึ้น
  • บวมตามตัว ตามหน้า หรือ ตามเท้า

> กลับสารบัญ


การเตรียมตัวและวิธีตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง

การเตรียมตัวนั้นไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร แต่จำเป็นต้องงดยาแก้แพ้จำพวกแอนตี้ฮิสทามีน และก่อนตรวจควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ วันตรวจสวมเสื้อผ้าที่ถอดง่าย สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน

> กลับสารบัญ


วิธีการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง

ในวันที่รับการตรวจจะมีการซักประวัติ อธิบายและให้คำแนะนำเบื้องต้น จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการเจาะเลือด โดยการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงจะใช้เวลา 10-15 นาที โดยจะเจาะเลือดที่ข้อพับแขน ประมาณ 4-6 มิลลิลิตร เพื่อเก็บเลือดตัวอย่างส่งไปตรวจวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการ โดยรอผลประมาณ 1-2 วัน และจะรายงานผลการตรวจออกมาเป็นระดับการแพ้อาหารแต่ละรายการในแบบรูปเล่มพร้อมคำแนะนำ

วิธีนี้จะช่วยระบุภูมิแพ้อาหารแฝงได้หลายชนิด เพราะสามารถตรวจอาหารได้ 216 ชนิดในคราวเดียว อาทิ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากนม และไข่, ธัญพืชกลุ่มมีกลูเตนและไม่มีกลูเตน, ผักผลไม้, ข้าวสาลี, ปลาและอาหารทะเล, เนื้อสัตว์, สมุนไพรและเครื่องเทศ, ถั่วและพืชเมล็ด เป็นต้น

> กลับสารบัญ



การปฏิบัติตัวหลังตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง

หลังทราบผลการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงว่าเรามีการแพ้อาหารชนิดไหนนั้น ก็หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นต้นเหตุ และรอจนกว่าอาการจะหายไป เพื่อให้ร่างกายกำจัดอาหารชนิดนั้นๆ ออกไปให้หมดก่อน ควรเว้นระยะนานพอสมควรประมาณ 3-6 เดือน จึงค่อยกลับไปรับประทานได้อีกครั้ง แต่ควรจำกัดปริมาณแต่น้อยๆ ก่อนจะเพิ่มปริมาณขึ้นทีละน้อยเพื่อดูว่า สามารถรับประทานได้แค่ไหนโดยไม่ทำให้อาการภูมิแพ้แฝงกำเริบอีก อย่างไรก็ตามจะมีแพทย์คอยแนะนำวิธีการเลี่ยงอาหาร และการจะเริ่มรับประทานอาหารที่แพ้ นอกจากนี้ยังสามารถนำผลที่ได้มาปรับใช้เลือกกินอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายมากที่สุด

> กลับสารบัญ


ทุกคนจะมีภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงอยู่ภายในร่างกายอยู่แล้ว เพียงแต่บางคนจะแสดงอาการออกมาในทันที หรือไม่แสดงอาการ ซึ่งในรายที่ไม่แสดงอาการนั้นจะมีความเสี่ยงสูงกว่ารายที่แสดงอาการ เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด หากไม่รู้ ไม่สนใจและปล่อยไว้นานโดยไม่ไปตรวจวินิจฉัยเพื่อให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาจกลายเป็นโรคเรื้อรังมากมายหลายอย่างตามมาได้ ทั้งนี้สามารถปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์สุขภาพนครธน ชั้น 11 หรือส่งข้อมูลปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้เลย



พญ.ธนพร เอี่ยมประไพ พญ.ธนพร เอี่ยมประไพ

พญ.ธนพร เอี่ยมประไพ
เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
ศูนย์สุขภาพนครธน

นัดหมายแพทย์

ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย