วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุตามช่วงอายุ ต้องฉีดตัวใดบ้าง

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพนครธน

บทความโดย : พญ. ณัฐกา กาญจนพนัง

วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุตามช่วงอายุ ต้องฉีดตัวใดบ้าง

ทำไมผู้ใหญ่อย่างเราถึงต้องฉีดวัคซีนอีก? เพราะเมื่อเรามีอายุมากขึ้นระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ ก็จะมีประสิทธิภาพที่ลดลงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย วัคซีนหลายชนิดที่เคยฉีดนั้นไม่สามารถป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต ฉะนั้นการฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่จะช่วยการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรค พร้อมทั้งยังลดโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคติดเชื้อรุนแรง ลดอัตราการเสียชีวิต ลดภาวะความเจ็บป่วยที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล


วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุตามช่วงอายุ มีดังนี้


อายุ วัคซีนแนะนำ วัคซีนที่อาจพิจารณาฉีด
18-26 ปี
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 1 เข็ม ทุกปี
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1 และ 6 (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ กระตุ้น 1 เข็มด้วย Td ทุก 10 ปี
  • วัคซีนอีสุกอีใส 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์ (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
  • วัคซีนเอชพีวี (แนะนำสำหรับผู้หญิง) 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1 และ 6 หรือ 0, 2 และ 6
  • วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ ให้วัคซีน Tdap แทน Td 1 ครั้ง (เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคไอกรนเพียงพอ เพื่อลดอุบัติการณ์ของโรคไอกรนในผู้ใหญ่ และส่งผลในการลดการแพร่เชื้อจากผู้ใหญ่สู่เด็กเล็ก ซึ่งเด็กเล็กมีอัตราป่วยตายสูงเมื่อป่วยเป็นโรค)
  • วัคซีนเอชพีวี (พิจารณาฉีดสำหรับผู้ชาย) 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1 และ 6 หรือ 0, 2 และ 6
  • วัคซีนไข้เลือดออก 3 เข็ม เดือนที่ 0, 6 และ 12 (กรณีที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน) หรือวัคซีนไข้เลือดออก 2 เข็ม
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
27-64 ปี
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 1 เข็ม ทุกปี
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1 และ 6 (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ กระตุ้น 1 เข็มด้วย Td ทุก 10 ปี
  • วัคซีนอีสุกอีใส 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์ (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
  • วัคซีนบาดทะยัก-คอตีป-ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ ให้วัคซีน Tdap แทน Td 1 ครั้ง
  • วัคซีนเอชพีวี (อาจพิจารณาฉีดแก่ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 26 ปี เพราะพบว่ายังได้ประโยชน์อยู่) 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1 และ 6 หรือ 0, 2 และ 6
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนไข้เลือดออกชนิด 2 เข็ม (อายุ ≤ 60 ปี) หรือ วัคซีนไข้เลือดออกชนิด 3 เข็ม (อายุ ≤ 45 ปีและเคยติดเชื้อมาก่อน)
  • วัคซีนงูสวัด 1 เข็ม (อายุ ≥ 60 ปี) หรือ วัคซีนงูสวัด 2 เข็ม (อายุ ≥ 50 ปี)
65 ปีขึ้นไป
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 1 เข็ม ทุกปี
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1 และ 6 (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ กระตุ้น 1 เข็มด้วย Td ทุก 10 ปี
  • วัคซีนอีสุกอีใส 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์ (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบนิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต (PCV-13 vaccine) 1 เข็ม หรือ PCV-15 vaccine
  • วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบนิวโมคอคคัส ชนิดโพลีแซคคาไรด์ (PPSV-23 vaccine) 1 เข็ม
  • วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ ให้วัคซีน Tdap แทน Td 1 ครั้ง
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนงูสวัดชนิด 1 เข็ม หรือ 2 เข็ม

วัคซีนสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคหัวใจ เบาหวาน ปอด (COPD) ไต มีดังนี้

วัคซีนแนะนำ วัคซีนที่อาจพิจารณาฉีด
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 1 เข็ม ทุกปี
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1 และ 6 (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ กระตุ้น 1 เข็มด้วย Td ทุก 10 ปี
  • วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบนิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต (PCV-13 vaccine) 1 เข็ม
  • วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบนิวโมคอคคัส ชนิดโพลีแซคคาไรด์ (PPSV-23 vaccine) 1 เข็ม (กรณีผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีที่เคยได้รับ PPSV-23 เข็มแรกก่อนอายุ 65 ปี ให้กระตุ้นอีก 1 เข็มหลังจากฉีดเข็มแรก 5 ปี)
  • วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ ให้วัคซีน Tdap แทน Td 1 ครั้ง (เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคเพียงพอ เพื่อลดอุบัติการณ์ของโรคไอกรนในผู้ใหญ่ และส่งผลในการลดการแพร่เชื้อจากผู้ใหญ่สู่เด็กเล็ก ซึ่งเด็กเล็กมีอัตราป่วยตายสูงเมื่อป่วยเป็นโรค)

อาการข้างเคียง

  • หลังการฉีดวัคซีน ควรให้ผู้ที่รับวัคซีนนั่งพักดูอาการอย่างน้อย 15-30 นาที
  • สามารถพบอาการไม่พึงประสงค์ของวัคซีนได้ เช่น ปวด บวม แดง หรือคันบริเวณที่ฉีด และอาการทั่วไป เช่น ไข้ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย และปวดเมื่อยตามตัว โดยทั่วไปอาการมักไม่รุนแรงและหายได้เองภายใน 2-3 วัน สามารถบรรเทาอาการได้โดยการประคบด้วยน้ำอุ่นบริเวณที่บวม ซึ่งจะช่วยให้ทุเลาลง หรืออาจให้ยาแก้ปวดลดไข้ร่วมด้วย ในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรงในเวลาดังกล่าวแนะนำให้ปรึกษาแพทย์
  • ประวัติการแพ้รุนแรง (anaphylaxis) ต่อวัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีน เป็นข้อห้ามของการให้วัคซีนเดิมหรือวัคซีนที่มีส่วนประกอบเดิมในโดสถัดไป
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนถือว่าเป็นวิธีป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถป้องกันการติดเชื้อจากโรคที่สามารถป้องกันได้ ทั้งนี้สามารถปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดวัคซีนเพื่อความเหมาะสมในแต่ละบุคคล




ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย