หมอนรองกระดูกเสื่อม ไม่รักษา เสี่ยงกระดูกสันหลังเคลื่อน
ศูนย์ : ศูนย์กระดูกสันหลัง
บทความโดย : นพ. พัลลภ ถิระวานิช

โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม เป็นภาวะของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน มักมีอาการปวดหลังตรงระดับบั้นเอว ร่วมกับอาจมีอาการปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งร่วมด้วย พบผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังจากโรคนี้เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะวัยทำงานที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง หรือการใช้งานกระดูกสันหลังอย่างไม่เหมาะสม หากไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน รวมถึงโรคกระดูกสันหลังอื่น ๆ ตามมาได้ เมื่อมีอาการดังกล่าวควรเข้ามาพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เพื่อตรวจและรักษาอย่างตรงจุด
สารบัญ
โรคหมอนรองกระดูกเสื่อมเป็นอย่างไร


หมอนรองกระดูกสันหลังเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยคั่นกลางรอยต่อ ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละคู่โดยหมอนรองกระดูกนี้มีลักษณะยืดหยุ่นเพื่อช่วยให้สันหลังเคลื่อนไหวได้ แต่เมื่อมีภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลังตามอายุ หรือจากปัจจัยอื่น ๆ ส่งผลให้หมอนรองกระดูกเกิดภาวะที่แห้งลงสูญเสียความยืดหยุ่นและความสามารถในการรองรับแรงกระแทก ทำให้เกิดอาการปวดหลัง หรือปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาท
โดยส่วนมากจะเริ่มเสื่อมในช่วงหนุ่มสาววัยทำงาน อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ซึ่งบางคนเมื่อหมอนรองกระดูกเสื่อม จะมีเนื้อเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกฉีกแยกจนทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกมา และอาจกดทับเส้นประสาท ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหลังนำมาก่อนแล้วตามด้วยอาการปวดหลังร้าวลงขา และอาจมีอาการชา อ่อนแรง หรือขับถ่ายผิดปกติร่วมด้วย โดยอาการมักสัมพันธ์กับกิจกรรมและการใช้งานของหลัง นอกจากนี้ความเสื่อมยังสามารถเกิดได้ที่กระดูกสันหลังส่วนคอ จนเกิดกระดูกคอทับเส้นประสาทได้เช่นกัน
หมอนรองกระดูกเสื่อมเกิดจากอะไร
หมอนรองกระดูกเสื่อม ส่วนใหญ่จะเป็นภาวะความเสื่อมตามอายุ แต่ปัจจุบันพบในผู้ที่มีอายุน้อยมากขึ้น โดยสาเหตุมาจากการใช้งานและกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ เช่น ยกของหนักผิดท่าบ่อย ๆ การนั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน การขับรถนาน ๆ การมีน้ำหนักตัวมากเกินไป เกิดอุบัติเหตุจนกระดูกสันหลังบาดเจ็บ และการสูบบุหรี่ พบว่าคนที่สูบบุหรี่จะทำให้เลือดไปเลี้ยงที่หมอนรองกระดูกสันหลังน้อยลง ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น
อาการหมอนรองกระดูกเสื่อม


หมอนรองกระดูกเสื่อม อาการจะเริ่มปวดหลังตรงระดับบั้นเอวหรือกระเบนเหน็บ ร่วมกับอาการปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งร่วมด้วย หรืออาจจะเคยยกของแล้วปวดหลังทันที มักปวดมากเวลาก้มหรือนั่ง หรือเวลาไอ จาม หรือเบ่งถ่าย หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาตามมาได้
ระยะของโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม
- ระยะเริ่มต้น อาจมีอาการปวดหลังเป็น ๆ หาย ๆ หรือปวดเรื้อรังเล็กน้อยหลังจากทำกิจกรรมหนัก ยังไม่มีการกดทับเส้นประสาทอย่างชัดเจ
- ระยะปานกลาง เริ่มมีอาการปวดหลังหรือปวดร้าวลงขา/แขนในบางท่า อาจเกิดภาวะหมอนรองกระดูกปลิ้น ซึ่งยังไม่ถึงขั้นกดทับเส้นประสาทมาก
- ระยะรุนแรง เมื่อมีภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม จนทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทรุนแรง ทำให้มีอาการชาหรืออ่อนแรงในบริเวณที่เส้นประสาทควบคุม มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายอย่างเห็นได้ชัด ระยะนี้เสี่ยงต่อความพิการ จึงจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโดยเร็ว
หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท
ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทรุนแรง จากภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม จะทำให้มีอาการปวดหลังตรงระดับบั้นเอวหรือกระเบนเหน็บ ร่วมกับอาการปวดร้าวลงขา ข้างใดข้างหนึ่งร่วมด้วย รวมทั้งมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา หรืออาจจะเคยยกของแล้วปวดหลังทันที มักปวดมากเวลาก้มหรือนั่ง หรือเวลาไอ จาม หรือเบ่งถ่ายตลอดเวลา มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายอย่างเห็นได้ชัด ภาวะนี้จำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันที

หมอนรองกระดูกเสื่อม มีแนวทางการรักษาอย่างไร
โรคกระดูกเสื่อม รักษาหายไหม ? แล้วถ้าเป็น หมอนรองกระดูกเสื่อม รักษาหายไหม ? หลายคนคงสงสัย ซึ่งการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม จะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการของผู้ป่วยในแต่ละราย ซึ่งทางศูนย์กระดูกสันหลัง รพ.นครธน โดยทีมแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวางแผนแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย การรักษาแบ่งออกได้ดังนี้
การรักษาแบบประคับประคอง
จะเป็นการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมตามอาการโดยการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบ การฉีดยาเข้าช่องโพรงกระดูกสันหลัง เพื่อลดอาการปวดร้าวลงขา ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ลดน้ำหนัก เพื่อยืดและเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ใส่อุปกรณ์พยุงหลัง เหมาะสำหรับการเคลื่อนของกระดูกสันหลังในระดับที่ 1 และ 2 โดยส่วนใหญ่จะใช้ในผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มมีอาการและยังไม่มีความผิดปกติของระบบประสาท
การผ่าตัดรักษาหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
การผ่าตัดจะใช้รักษาในกรณีหมอนรองกระดูกเสื่อมจนทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการ ประสาทรุนแรงมีอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ควบคุมปัสสาวะหรือการขับถ่ายไม่ได้ มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดหลัง
โดยโรงพยาบาลนครธน ได้นำการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscope) ถือว่าเป็นหนึ่งในเทคนิคการผ่าตัดแผลเล็ก สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นรายละเอียดที่ชัดเจน และเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัดเนื้อเยื่อบริเวณไขสันหลัง เส้นประสาท และพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นที่กระดูกสันหลังที่ต้องการแก้ไข โดยแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กเพียง 8-10 มิลลิเมตร ซึ่งจะช่วยลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อ ทำให้อาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดน้อยลง
รวมทั้งยังมีความแม่นยำและปลอดภัย โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นำวิถี O-arm Navigation สร้างภาพสามมิติของกระดูกสันหลัง ช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นเป็นภาพสามมิติตลอดระยะเวลาทำการผ่าตัด พร้อมกับการลดปวดหลังผ่าตัดด้วยการฉีดยาชาบริเวณรอบเส้นประสาทส่วนปลาย ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวในระยะเร็ว
วิธีการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดหมอนรองกระดูกเสื่อม
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จากภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ฟื้นตัวเร็ว ลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ นี่คือแนวทางการดูแลตัวเองที่ควรปฏิบัติ ได้แก่
- รักษาความสะอาดของแผล หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำในช่วงแรก ห้ามแกะหรือเกาแผล
- หลีกเลี่ยงการก้ม เงย บิดตัว หรือยกของหนักในช่วง 1-3 เดือนแรก
- สังเกตอาการผิดปกติ เช่น แผลบวม แดง มีหนอง หรือมีไข้ หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การก้ม หรือการบิดตัว
- ทำกายภาพบำบัดตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเพิ่มความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลัง และค่อย ๆ เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้าๆ ภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัด
- การเดิน เริ่มจากการเดินในระยะใกล้ ๆ ก่อนแล้วค่อย ๆ เพิ่มระยะทางในการเดิน
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนนาน ๆ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
หมอนรองกระดูกเสื่อมไม่รีบรักษามีผลกระทบต่อกระดูกสันหลัง
ภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม หากไม่รีบรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจนำไปสู่โรคที่มีผลกระทบต่อกระดูกสันหลังมากยิ่งขึ้น เสี่ยงกระดูกสันหลังคด และเป็นเหตุให้ถึงกับอัมพาตได้ ปัจจุบันมีวิธีการรักษาหมอนรองกระดูกเสื่อมที่หลากหลาย ตั้งแต่การรักษาแบบไม่ผ่าตัด เช่น การฉีดยาและกายภาพบำบัด ไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้องที่ช่วยให้ฟื้นตัวในระยะเร็วขึ้น ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็ว หากมีอาการดังกล่าวจึงควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง ศูนย์กระดูกสันหลัง รพ. นครธน เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้องและเลือกการรักษาอย่างถูกวิธีที่เหมาะสมแต่ละบุคคล
ช่องทางติดต่อโรงพยาบาลนครธน:
- - Website : https://www.nakornthon.com
- - Facebook : Nakornthon Hospital
- - Line : @nakornthon
- - Tel: 02-450-9999 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
แพ็กเกจ/โปรโมชั่น
บทความทางการแพทย์ศูนย์กระดูกสันหลัง