การผ่าตัดรักษามะเร็งเฉพาะที่ เพื่อคืนคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วย

ศูนย์ : ศูนย์มะเร็ง

บทความโดย :

การผ่าตัดรักษามะเร็งเฉพาะที่ เพื่อคืนคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วย

ปัจจุบันความก้าวหน้าของวิทยาการทางการแพทย์ก้าวไกลขึ้นมาก ทำให้โรคมะเร็งมีหลากหลายวิธีรักษา โดยการรักษาแต่ละวิธีนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะของโรค อาทิ การให้เคมีบำบัด รังสีรักษา ยาแบบมุ่งเป้า ภูมิคุ้มกันบำบัด และการผ่าตัด เป็นต้น ซึ่งการผ่าตัดนั้น ถือว่าเป็นเทคนิคการรักษาโรคมะเร็งแบบดั้งเดิม ที่ในปัจจุบันยังคงเป็นมาตรฐานการรักษาโรคมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งในระยะเริ่มต้น เนื่องจากก้อนมะเร็งและการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งยังอยู่ในบริเวณเดียวกัน จึงสามารถรักษาให้หายขาดได้จากการผ่าตัดที่เหมาะสม



การผ่าตัดรักษามะเร็ง

การผ่าตัด (Surgery) เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งในระยะแรก หมายถึงมะเร็งอยู่เฉพาะที่ ยังไม่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงอื่นหรือแพร่กระจายสามารถให้การรักษาควบคุมโรคได้ นอกจากนี้การผ่าตัดมีความก้าวหน้ามาก หลายอวัยวะสามารถผ่าตัดโดยไม่ทำให้เสียรูปทรง และหลีกเลี่ยงการสูญเสียอวัยวะนั้นไปได้ เช่น การผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบสงวนเต้า นอกจากนี้ยังมีการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ส่งผลกระทบน้อย เช่น การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) เป็นต้น

> กลับสารบัญ


เป้าหมายของการผ่าตัด

การผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งมี 4 เป้าหมาย ได้แก่

  • การวินิจฉัย ในกรณีที่พบก้อนที่สงสัย หรือเนื้องอกไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามแต่ในร่างกาย ก่อนที่จะเริ่มให้การรักษาแพทย์ต้องรู้ว่าก้อนที่พบนั้นเป็นเนื้องอกธรรมดา หรือเนื้อร้าย การผ่าเอาชิ้นเนื้อส่งตรวจ การตัดเนื้อตรวจบางส่วน หรือ สะกิดเนื้อเพื่อไปตรวจดู ฯลฯ จะทำให้แพทย์ทราบการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งจริงหรือไม่ และเป็นมะเร็งชนิดไหนนั่นเอง
  • การรักษา การผ่าตัดรักษามะเร็งอยู่เฉพาะที่ หรือมะเร็งในระยะแรก เพื่อผลทางการรักษา ในส่วนของแพทย์จะผ่าเพื่อนำเนื้อร้าย หรือสงสัยว่าเป็นเนื้อร้ายออกจากร่างกายให้มากที่สุด รวมทั้งต่อมน้ำเหลือง หรือเนื้อเยื่อที่ใกล้เคียงกัน
  • การผ่าตัดเพื่อบอกระยะของโรค โดยมะเร็งบางชนิดต้องรู้ระยะของโรคเพื่อวางแผนการรักษา การผ่าตัดนี้ส่วนใหญ่จะกระทำพร้อมกับการผ่าตัดเพื่อรักษา
  • การผ่าตัดเพื่อซ่อม หลังจากที่ทำการผ่าตัดมะเร็งออกไปแล้วอาจจะทำให้อวัยวะบางอย่างถูกตัดไปด้วย หรืออาจจะผ่าตัดตกแต่ง เช่น มะเร็งเต้านม เป็นต้น

> กลับสารบัญ


การผ่าตัดอย่างเดียวรักษามะเร็งหายขาดจริงไหม

การผ่าตัดรักษามะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งในระยะแรก หรือ มะเร็งอยู่เฉพาะที่ ยังไม่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงอื่นหรือแพร่กระจายสามารถให้การรักษาควบคุมโรคได้ แต่ในบางกรณีที่มะเร็งมีขนาดใหญ่ หรือมะเร็งลุกลามมาก และไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ในตอนแรก อาจต้องรับการรักษาด้วยวิธีอื่นก่อนให้ก้อนมะเร็งยุบลง ยับยั้ง หรือควบคุมไม่ให้ลุกลาม แล้วค่อยไปผ่าตัดรักษา

โดยวิธีการผ่าตัดนั้นแพทย์จะผ่าตัดเอาเนื้องอกหรือก้อนมะเร็งออกให้หมด บางครั้งจำเป็นต้องผ่าเอาเนื้อดีรอบเนื้องอกออกไปด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าได้ตัดเนื้องอกออกหมด จึงต้องส่งชิ้นเนื้อรอบๆ เนื้องอกเพื่อส่องกล้องว่ามีเซลล์มะเร็งหลงเหลือหรือไม่

ทั้งนี้ หากมะเร็งเกิดแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นแล้วจะพิจารณาการผ่าตัดในบางกรณีเท่านั้น ส่วนใหญ่เป้าหมายของการรักษามะเร็งระยะแพร่กระจายจะเป็นการรักษาเพื่อควบคุม ยับยั้ง หรือลดจำนวนมะเร็งไม่ให้ลุกลามมากขึ้น

> กลับสารบัญ


มะเร็งชนิดใดบ้างที่รักษาด้วยการผ่าตัด

  • การผ่าตัดมะเร็งตับ
  • การผ่าตัดมะเร็งศีรษะและคอ
  • การผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบตัดเต้านมทั้งหมด และการผ่าตัดแบบสงวนเต้านม
  • การผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก
  • การผ่าตัดก้อนมะเร็งที่สมอง
  • การผ่าตัดมะเร็งกระดูก
  • การผ่าตัดปอดบางส่วน
  • การผ่าตัดมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • การผ่าตัดมะเร็งรังไข่ หรือมดลูก
  • การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่

> กลับสารบัญ


อย่างไรก็ตามการรักษาโรคมะเร็งที่เหมาะสมที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโดยการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด หรือยารักษามะเร็งก็ตาม โดยเป้าหมายคือให้การรักษาที่หวังผลได้มากที่สุด ควบคู่ไปกับความพยายามให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด เพื่อคืนคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วย



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย