ภูมิคุ้มกันบำบัด ทางเลือกและความหวังของการรักษามะเร็ง

ศูนย์ : ศูนย์มะเร็ง

บทความโดย : นพ. กิตติพงษ์ อุดมดำรงกุล

ภูมิคุ้มกันบำบัด

หากคุณทราบว่าร่างกายของเราสามารถต่อสู้กับมะเร็งได้เอง คุณจะเชื่อหรือไม่? ภูมิคุ้มกันบำบัด คือ วิธีการรักษาที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็งได้ อีกหนึ่งแนวทางการรักษาที่ทางศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลนครธน นำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งเป็นการผสมผสานการรักษาที่หลากหลายเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า โดยทีมแพทย์จะมีการประชุม Tumor Board ร่วมกันพิจารณาข้อมูลต่าง ๆ เช่น ชนิดของมะเร็ง ระยะของโรค สภาพร่างกาย และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมและปลอดภัยเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย


ภูมิคุ้มกันบำบัด คืออะไร


ภูมิคุ้มกันบำบัดคืออะไร ภูมิคุ้มกันบำบัดคืออะไร

ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) คือ ยาหรือสารชีวโมเลกุลที่เข้าไปยับยั้งกระบวนการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของเซลล์มะเร็ง และกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรียกว่าเป็นการใช้ “ภูมิคุ้มกันของร่างกายของเราเอง” เข้าไปต่อสู้กับเซลล์มะเร็งโดยตรงเพื่อรักษามะเร็ง

> กลับสารบัญ


จุดเด่นของภูมิคุ้มกันบำบัด คืออะไร

ประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือดีกว่ายาเคมีบำบัดสำหรับบางชนิดมะเร็ง สามารถพิจารณาใช้ในผู้ป่วยที่ไม่แข็งแรงพอจะให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (คีโม) ได้และใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัดเพื่อผลข้างเคียงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับยาเคมีบำบัดอย่างเดียว เพิ่มการตอบสนองต่อการรักษาโรคมะเร็งมากขึ้น และสามารถเพิ่มระยะเวลาการตอบสนองต่อการรักษาโรคมะเร็งให้ยาวนานขึ้น

> กลับสารบัญ


รูปแบบของการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด

ภูมิคุ้มกันบําบัด คือ แนวทางการรักษามะเร็งที่ใช้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการกำจัดเซลล์มะเร็ง โดยสามารถกระตุ้นหรือเสริมสร้างประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันให้สามารถจดจำและโจมตีเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภูมิคุ้มกันบำบัดที่นำมาใช้ในการรักษามะเร็ง แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามกลไกการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ได้แก่

  • โมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies – mAbs) เป็นโปรตีนภูมิคุ้มกันที่ถูกออกแบบให้จำเพาะต่อแอนติเจนบนเซลล์มะเร็ง โดยสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ผ่านกลไกต่างๆ เช่น การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันหรือการขัดขวางการทำงานของโปรตีนที่ช่วยให้มะเร็งเติบโต โดยมาจับกับโปรตีนจำเพาะบนเซลล์มะเร็งจากนั้นเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกายจะเข้าทำลายเซลล์มะเร็งโดยโปรตีนกลุ่มนี้จะยับยั้งไม่ให้เม็ดเลือดขาวทำงานมากเกินไป มักใช้รักษาโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • ยับยั้งการทำงานที่อิมมูนเช็คพอยต์ (Immune Checkpoint Inhibitors – ICIs) โดยเซลล์มะเร็งมีโปรตีน ควบดุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น PD-1, PD-L1 และ CTLA-4 เรียกรวมๆ ว่า อิมมูนเช็คพอยต์ ทำให้เซลล์มะเร็งสามารถหลบเลี่ยงการโจมตีจากเม็ดเลือดขาวได้ ยาที่ยับยั้งอิมมูนเช็คพอยต์ จึงเหมือนยากระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกายให้สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้รักษามะเร็ง เช่น โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งผิวหนัง
  • วัคซีนโรคมะเร็ง (Cancer Vaccines) เป็นยากระตุ้นภูมิคุ้มกันให้จดจำและทำลายเซลล์มะเร็ง มีกลไกการทำงานในการกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T ที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ และ ป้องกันการเกิดมะเร็งจากการติดเชื้อไวรัส โดยใช้รักษามะเร็ง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก

ส่วนใหญ่เป็นยาฉีดให้ทางเส้นเลือด ซึ่งการรักษาด้วยยากลุ่มนี้ อาจจะเป็นการรักษาด้วยยากลุ่มนี้เพียงตัวเดียว หรือร่วมกับยา หรือวิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น ภูมิคุ้มกันบำบัดชนิดอื่น ยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้า การฉายรังสี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งนี้ขึ้นกับชนิด ระยะ และตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของมะเร็ง รวมถึงความแข็งแรงของผู้ป่วย

> กลับสารบัญ


ภูมิคุ้มกันบำบัดสามารถใช้ในมะเร็งชนิดใดบ้าง


มะเร็งเต้านม มะเร็งเต้านม

ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยและการรับรองการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดสำหรับมะเร็งหลายชนิด โดยองค์การอาหารและยา (FDA) รวมถึงหน่วยงานทางการแพทย์ระดับโลกได้อนุมัติให้ใช้ในการรักษามะเร็งที่หลากหลาย ดังนี้

  • มะเร็งปอด
  • มะเร็งเต้านม
  • มะเร็งตับและทางท่อน้ำดี
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • มะเร็งโพรงมดลูก
  • มะเร็งปากมดลูก
  • มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • มะเร็งไต
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่

อย่างไรก็ตาม การใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดอาจจำกัดการใช้ในบางระยะเท่านั้น บางครั้งจำเป็นต้องตรวจมะเร็ง ตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของมะเร็ง และอาจพิจารณาใช้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่นอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่น ยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้า การฉายรังสี การผ่าตัด ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์เฉพาะทาง

> กลับสารบัญ



ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

ภูมิคุ้มกันบำบัดมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

แม้ว่าภูมิคุ้มกันบำบัดจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเคมีบำบัด แต่ก็มีผลข้างเคียงที่จำเพาะ เช่น ไข้ ถ่ายเหลว พบการอักเสบและ ความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในอุบัติการณ์และความรุนแรงที่ต่างกันขึ้นกับชนิดของภูมิคุ้มกันบำบัด ดังนั้นก่อนเริ่มการรักษาจึงควรได้รับคำแนะนำจาก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และควรมีการติดตามผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยมะเร็ง

> กลับสารบัญ


ภูมิคุ้มกันบำบัด รักษาผู้ป่วยมะเร็งกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ภูมิคุ้มกันบำบัดรักษามะเร็ง เป็นการยกระดับการรักษาให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยน้อย ซึ่งนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยในการต่อสู้กับมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพกว่าเดิม ที่ทางศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลนครธน โดยทีมแพทย์เฉพาะทาง และทีมสหสาขาวิชา ร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญการด้านมะเร็ง ร่วมกันวางแผนและตัดสินใจเลือกแผนการรักษาที่เฉพาะเจาะจงและให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

> กลับสารบัญ


ช่องทางติดต่อโรงพยาบาลนครธน:

  1. - Website : https://www.nakornthon.com
  2. - Facebook : Nakornthon Hospital
  3. - Line : @nakornthon
  4. - Tel: 02-450-9999 (ตลอด 24 ชั่วโมง)


ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย




Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย